|
บทคัดย่อ/Abstract |
การศึกษาเรื่อง ทรรศนะของลูกค้าที่มีต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมัน : กรณีของลูกค้า สายชลปาล์ม อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทรรศนะของลูกค้าที่มีต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมัน : กรณีของลูกค้า สายชลปาล์ม อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ จำแนกตาม ด้านการให้บริการรับซื้อปาล์มน้ำมัน ด้านราคาการรับซื้อปาล์มน้ำมัน ด้านสถานที่และการขนส่ง ด้านการส่งเสริมการตลาด โดยใช้วิธีการศึกษา เชิงสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้บริการลานเทปาล์มน้ำมัน : กรณีของลูกค้า สายชลปาล์ม จำนวน 372 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือการใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าเฉลี่ย (#) และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน (S.D.) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ ของลูกค้าที่มีต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมัน : กรณีของลูกค้า สายชลปาล์ม อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ และการวิเคราะห์ความแตกต่างสำหรับตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อทรรศนะของลูกค้าที่มีต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมัน : กรณีของลูกค้าสายชลปาล์ม อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ โดยใช้ t - test ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาพรวมทรรศนะทุกด้าน ของลูกค้าที่มีต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมัน พบว่า อยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 3.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .50 เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ด้านราคาได้รับการประเมินระดับมาก เป็นอันดับแรก รองลงมาคือด้านการให้บริการ ด้านทรรศนะโดยรวม ด้านสถานที่และการขนส่ง และด้านการส่งเสริมการตลาด สามารถเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 4.06 , 3.88 , 3.84 , 3.64 และ 1.87 ตามลำดับ 2) ทรรศนะลูกค้าที่มีต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมัน จำแนกตามเพศ ในภาพรวม พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = .207, p = .836) เมื่อพิจารณารายประเด็นพบว่า ทุกประเด็นไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ที่กล่าวว่า ลูกค้าที่มาใช้บริการลานเทปาล์มน้ำมัน ที่มีเพศต่างกัน มีทรรศนะต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมันันต่างกัน 3) ทรรศนะลูกค้าที่มีต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมัน จำแนกตามอายุ ใน ภาพรวม พบว่า ลูกค้าที่มาใช้บริการลานเทปาล์มน้ำมัน ที่มีอายุ ต่างกัน มีทรรศนะต่อการบริการรลานเททปาล์มน้ำมัน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 2.474, p = .044) โดยกลุ่มที่มีอายุ 18 - 25 ปี มีทรรศนะต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมัน น้อยกว่ากลุ่มอายุ 26 - 35 ปี , กลุ่มอายุ 36 - 45 ปี และกลุ่มอายุ 56 ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 ที่กล่าวว่า ลูกค้าที่มาใช้บริการลานเทปาล์มน้ำมัน ที่มีอายุต่างกัน มีทรรศนะต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมันต่างกัน 4) ลูกค้าที่มาใช้บริการลานเทปาล์มน้ำมัน ที่มีการศึกษา ต่างกัน มีทรรศนะต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมันไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = .258, p = .856) เมื่อพิจารณารายประเด็นพบว่า ด้านการส่งเสริมการตลาด ลูกค้าที่มาใช้บริการลานเทปาล์ม น้ำมัน ที่มีการศึกษาต่างกันมีทรรศนะด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญญทางสถิติ (F = 26.566, p = < .001) โดยกลุ่มที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ยทรรศนะต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมันสูงกว่า กลุ่มที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช. มัธยมต้น และประถมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เมื่อพิจารณาประเด็นอื่น ๆ พบว่า ทรรศนะต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมันไม่มีความแตกต่างกัน เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3 ที่กล่าวว่า ลูกค้าที่มาใช้บริการลานเทปาล์มน้ำมัน ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีทรรศนะต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมันต่างกัน 5) ลูกค้าที่มาใช้บริการลานเทปาล์มน้ำมัน ที่มีรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีทรรศนะ ต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมัน ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 1.919, p = .107) เมื่อพิจารณารายประเด็น พบว่า ทุกประเด็นไม่มีความแตกต่างกันตามรายได้ที่แตกต่าง ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 4 ที่กล่าวว่า ลูกค้าที่มาใช้บริการลานเทปาล์มน้ำมัน ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีทรรศนะต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมันต่างกัน 6) ลูกค้าที่มาใช้บริการลานเทปาล์มน้ำมัน ที่มีพื้นที่ปลูกปาล์มต่อไร่ต่างกัน ในภาพรวมพบว่า มีทรรศนะต่อการบริการปาล์มน้ำมันไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = .117, p = 950 ) เมื่อพิจารณารายประเมินพบว่าด้านการให้บริการลูกค้าที่มาใช้บริการลานเทปาล์มน้ำมันที่มีพื้นที่ปลูกปาล์มต่อไร่ต่างกัน มีทรรศนะต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมัน ด้านนการให้บริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 3.397, p = .018) โดยกลุ่มลูกค้าที่มีพื้นที่ปลูกป่า 41 ไร่ขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ยทรรศนะต่อการให้บริการลานเทปาล์มน้ำมัน ด้านการรให้บริการน้อยกว่า กลุ่มที่มีพื้นที่ใช้บริการไม่เกิน 10 ไร่ , 11 - 25 ไร่ และ 26 - 40 ไร่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ด้านการส่งเสริมการตลาด ลูกค้าที่มาใช้บริการลานเทปาล์มน้ำมันที่มีพื้นที่ปลูกปาล์ม ต่อไร่ต่างกันมีทรรศนะต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมัน ด้านการส่งเสริมมการตลาดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 5.399 , p = .001) โดยกลุ่มที่มีพื้นที่ปลูกปาล์ม 41 ไร่ ขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ยทรรศนะต่อการให้บริการลานเทปาล์มน้ำมัน ด้านการส่งเสริมการขาย สูงกว่ากลุ่มที่มีพื้นที่ปลูกปาล์ม ไม่เกิน 10 ไร่ , 11 - 28 ไร่ และ 26 - 40 ไร่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 5 ที่กล่าวว่า ลูกค้าที่มาใช้บริการลานเทปาล์มน้ำมัน ที่มีพื้นที่ปลูกปาล์มต่อไร่ ต่างกัน มีทรรศนะต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมันต่างกัน 7) ลูกค้าที่มาใช้บริการลานเทปาล์มน้ำมันที่มีระยะทางในการใช้บริการลานเททปาล์มต่างกัน ในภาพรวมพบว่า มีทรรศนะต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมัน ไม่แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (F = 1.631 , p = .182) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านสถานที่และการขนส่งลูกค้าที่มาใช้บริการลานเทปาล์มน้ำมันที่มีระยะทางในการใช้บริการลานเทปาล์มต่างกัน มีทรรศนะต่อการบริการลานเทปาล์มน้ำมันแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 6.561 , p = <.001) โดยกลุ่มลูกค้าที่มีระยะทางในการใช้บริการลานเทปาล์ม ไม่เกิน 5 กิโลเมตร มีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่ากลุ่มลูกค้าที่มีระยะทาง การใช้บริการ 5 - 7 กิโลเมตร , 8 - 10 กิโลเมตร และ 11 กิโลเมตร ขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 6 ที่กล่าวว่า ลูกค้าที่มาใช้บริการลานเทปาล์มน้ำมัน ที่มีระยะทางในการให้บริการลานเทปาล์มต่างกัน มีทรรศนะต่อการบริการลานเททปาล์มน้ำมันต่างกัน
|