|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีที่มีอิทธิพลต่อการใช้มันไบโอดีเซลของสมาชิกชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด / Integrated marketing factor effect on consuming bio-diesel : Case Study the Palm Oil Members, Co-operative Community Krabi, Limited. |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
การศึกษา เรื่อง ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการใช้น้ำมันไบโอดีเซลของสมาชิกชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการใช้ใบโอดีเซลของสมาชิกชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิผลต่อการตัดสินใจใช้น้ำมันไบโอดีเซล และศึกษาแนวทางการ พัฒนาการผลิตไบโอดีเซลของชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกของสหกรณ์ สมาชิกชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด จำนวน 400 คนใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งสถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage)ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และสถิติไคส์สแควร์ (chi-square test) เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 41 ปีขึ้นไป ระดับการศึกษาไม่เกินมัธยมศึกษาและระดับอนุปริญญา ประกอบอาชีพเกษตรกรและอาชีพอื่น ๆ และ รายได้เฉลี่ยต่อปีมากกว่า 200,000 บาท พฤติกรรมการใช้ไบโอดีเซลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไบโอดีเซลที่ได้รับส่วนใหญ่จะมากจากแหล่งอื่น ๆ มีการทดลองใช้ไบโอดีเซลมาแล้ว 6 - 12 เดือน และระยะทางที่เดินทางไปเติมน้ำมันไบโอดีเซล 10 - 20 กม. ในการเติมน้ำมันจะเติมอาทิตย์ละครั้งและไบโอดีเซลที่กลุ่มตัวอย่างต้องการจะเป็น 50% และไบโอดีเซลจะนำไปใช้กับรถยนต์มากที่สุดจำนวนเงินที่ใช้ในการเติมน้ำมันแต่ละครั้งไม่เกิน 300 บาท ไบโอดีเซลที่ใช้เป็นไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันปาล์มดิบ และเมื่อมีการผลิตไบโอดีเซลเพิ่มจะมีการใช้เพิ่มขึ้น ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้น้ำมันไบโอดีเซลของผู้ตอบแบบสอบถามนั้น พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ จะต้องการน้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันปาล์มดิบ ด้านราคา ราคาขายจะต้องไม่มีการปรับบ่อย ด้านสถานที่ ชุมนุมสหกรณ์ ฯ มีความต้องการให้มีการเพิ่มสถานที่จำหน่ายไบโอดีเซลให้กับสมาชิก ด้านการส่งเสริมการตลาด ต้องการให้มีการจัดทำคูปองในการเติมน้ำมัน ด้านบุคลากร ต้องการให้มีการจัดเจ้าหน้าที่ในการให้ความรู้เรื่องไบโอดีเซล และในด้านสภาพแวดล้อม เส้นทางการคมนาคมที่สะดวกต่อการใช้บริการจะมีผลมากที่สุดต่อการตัดสินใจใช้บริการ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้น้ำมันไบโอดีเซล ใน ภาพรวม พบว่าด้านสถานที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้น้ำมันไบโอดีเซล รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์ส่วนด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพมีผลต่อการตัดสินใจใช้น้ำมันไบโอดีเซลน้อยที่สุด และอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อปีมีผลต่อการตัดสินใจใช้น้ำมันไบโอดีเซล
The purpose of the research in integrated marking factor which has an effect on consuming bio-diesel of the Palm Oil Members Co-operative Community Krabi Limited is to study the behavior and the demand of consuming bio-diesel of the Palm Oil Members Cooperative Community Krabi Limited; to study the ways to develop manufacturing of the Palm Oil Co-operative Community Krabi Limited. By so doing, the cross section (representative sample) which was used for study is the 400 consumers who are the members of the Palm Oil Cooperative Community Krabi Limited. The questionnaires were also used as a tool to retrieve data analyzed by the computer programs statistically in frequency, percentage, mean, standard deviation and chi-square testing to search for the data relations at .05 levels. As the result, most of the customers were male, aged 41and over with a high school educational level and a 2-year diploma whose jobs were farmers and other occupations with the monthly income of more than 200,000 baht.. The behavior of consuming the bio-diesel of those who answered the questionnaires involved the additional information of bio-diesel from other sources in which the bio-diesel has been experimentally used for 6-12 years with the distance of 10-20 km. to refill the bio-diesel; refilling once a week. 50 percent of the sampling group for the bio-diesel was used for cars with the cost of less than 300 baht every time refilled. Such bio-diesel was made of raw palm oil with the possibility of increasing as far as the bio-diesel consuming habit is concerned. In accordance with the study of the integrated marketing factor that has influence over the consumers? decision in terms of productivity, it has been found that there was a demand of using the bio-diesel made of palm oil whilst in pricing the cost of it must not be adjusted as often; in terms of location the Co-operative Community was keen on having more places to sell the biodiesel for members; in marketing promotion there was a need in coupons usage for oil refilling; in persons more staff should be implemented to give out the knowledge regarding the bio-diesel as well as the environmental issue along with the convenient means of transportation for the service stations or places which has an effect on the consumers? decision to use the service. The overall picture of the integrated marketing factor has effected the location of the bio-diesel available for service, the productivity factor and the environmental issue respectively. The relation between the general information is the age and the levels of education against the integrated marketing factor that has influence over the consumers? decision regarding consuming bio-diesel: it has been found that such relation was effectively involved the productivity factor in terms of the concerned organization certified diesel 100 percent and the color of the bio-diesel. By location: the sale representatives are required only for the benefit of the Co-operative; By marketing promotion strategy: coupons are required for refilling the oil and more staff are also needed here for providing services and retrieving information concerning the proper knowledge of using and checking the motors; providing the skilled mechanic to the basic repair work and maintenance; no more than 5 minutes requires for oil refilling; no spilling allowed and environment preserved with hygienic toilets available. As for the relation between the levels of education and the integrated marketing factor, it has been found that the bio-diesel made from the palm oil and used oil have been related to the certified organization in terms of the productivity and or manufacturing; in location and service places is related to the sale representatives are required only for the benefit of the Co-operative. |
|
ผู้ทำ/Author |
Name | สนอง ปานแดง | Organization | มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ปาล์มน้ำมัน
|
|
Contributor: |
Name: |
นิศา ชัชกุล |
Roles: |
ประธานกรรมการที่ปรึกษา |
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต | Address | : | |
|
|
Year: |
2551 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
852 |
|
Counter Mobile: |
52 |
|