|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
วิเคราะห์การใช้มาตรการประกันราคายางพารา : กรณีศึกษาจังหวัดตรัง / Analysis of Rubber Price Guarantee Measure Case Study : Trang Province |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ นับได้ว่าเป็นปัญหาเรื้อรังนับ 10 ปี ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาเมื่อเกิดปัญหา รัฐบาลจะแก้ปัญหาโดยวิธีกระตุ้นการส่งออก เช่น ลดภาษีส่งออก ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่ายให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกและลดภาษีนำเข้ากรดฟอร์มิค แต่ในปัจจุบันเมื่อเกิดปัญหาราคายางพาราตกต่ำ รัฐบาลจะใช้นโยบายและมาตรการเฉพาะหน้า คือ มาตรการแทรกแซงตลาดยางพารา โดยการประกันราคายางพาราและให้หน่วยงานของรัฐเข้ามาซื้อยางจากเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้มาตรการประกันราคายางของรัฐบาล ศึกษาถึงต้นทุนผลตอบแทนและส่วนเกินของผู้ผลิต ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาจะได้จาการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ทำสวนยางพารา โดยเลือกเกษตรกรที่มีพื้นที่ให้ผลผลิตแล้วจากอำเภอต่างๆในจังหวัดตรัง จำนวน 225 ราย ซึ่งการศึกษาได้วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินโดยการหาค่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน(BCR)และอัตราส่วนผลตอบแทนภายใน(IRR)และการวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงส่วนเกินของผู้ผลิต โดยการคำนวณส่วนต่างระหว่างกำไรที่ผู้ผลิตได้รับก่อนและหลังการใช้มาตรการประกันราคายาง ผลการศึกษาพบว่า ในกรณีที่รัฐบาลไม่ประกันราคายางพารา มูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV)ของผลตอบแทนเท่ากับ 22768.19 บาท อัตราส่วนของผลตอบแทนต่อการลงทุน (BCR)เท่ากับ 1.993 อัตราผลตอบแทนภายในการลงทุน(IRR)เท่ากับ 24.694 ส่วนเกินของผู้ผลิตเท่ากับ 11.07 บาท/กิโลกรัม และในกรณีที่รัฐบาลประกันราคายางพารามูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV) ของผลตอบแทนเท่ากับ 31051.13 อัตราส่วนของผลตอบแทนต่อการลงทุน(BCR)เท่ากับ 2.355 อัตราส่วนของผลตอบแทนภายในของการลงทุนเท่ากับ(IRR)เท่ากับ28.536 ส่วนเกินของผู้ผลิตเท่ากับ12.67 บาท/กิโลกรัม เพราฉะนั้นส่วนเกินที่ผู้ผลิตได้รับหลังจากที่รัฐบาลประกันราคายางพาราจะมากกว่าส่วนเกินที่ผู้ผลิตได้รับก่อนรัฐบาลประกันราคาเท่ากับ 1.6 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าการประกันราคายางพาราของรับบาล ทำให้ผู้ผลิตได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น แม้ว่าผู้ผลิตจะไม่ได้ขายยางในราคาประกัน และการลงทุนทำสวนยางให้ผลตอบแทนคุ้มค่าในการลงทุน แต่ในกรณีที่เกษตรกรลงทุนทำสวนยางใหม่ ต้นทุนการผลิตจะเพิ่มขึ้นในขณะที่ระดับราคายางพารายังคงเท่าเดิม คือ กิโลกรัมละ22.40 บาท พบว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV)เท่ากับ -11286.92 บาท อัตราการตอบแทนต่อการลงทุน(BCR) เท่ากับ 0.812 อัตราผลการตอบแทนภายในการลงทุน (IRR)เท่ากับ 2.998 ซึ่งจะเห็นได้ว่า NPV มีค่าติดลบ น้อยกว่า1 และIRR มีค่าน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยที่เกษตรกรจ่ายคืนให้แก่สถาบันการเงิน ดังนั้นราคายางพาราที่มีแนวโน้มลดลง จะทำให้การลงทุนทำสวนยางพาราในอนาคต ให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เกษตรกรควรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | เดือนรุ่ง ช่วยเรือง | Organization | เศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ยางพารา
|
|
Contributor: |
Name: |
อติ ไทยานันท์ |
Roles: |
คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ |
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยรามคำแหง | Address | : | |
|
|
Year: |
2543 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
2030 |
|
Counter Mobile: |
42 |
|