ชื่อเรื่อง/Title พันธกรณีจากการเปิดเสรีสินค้าเกษตรตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน : ผลต่อภาวะการส่งออกยางพาราของประเทศไทย / Commitments under the liberalization of Trade in Agricultural Commodities under ASEAN Free Trade Area (AFTA): Effects on Thai Rubber Exports
     บทคัดย่อ/Abstract การรวมกล่มทางเศษรฐกิจเป็นความพยายามของภาครัฐที่จะขยายความร่วมมือระหว่างกันและช่วยเหลือกันในทางเศรษฐกิจซึ่งโอกาสของความเป็นไปได้เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าการรวมกลุ่มทางการเมืองประเทศไทยในฐานะผู้นำสำคัญของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเชียงใต้ที่ผลักดันให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนขึ้น เพื่อขยายความร่วมือทางเศรษฐกิจ โดยมุ่งส่งเสริมให้เกิดการซื้อขายและลดอุปสรรค์ทางการค้าระหว่างกัน ซึ่งเปิดเสรีสินค้าเกษตรได้ก่อให้เกิดผลต่อภาวะการส่งออกสินค้าเกาตรในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ตามรายละเอียดและเงื่อนไขของการลดภาษี ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าจับตามองว่าประเทศไทยได้รับประโยชน์หรือผลกระทบจากพันธกรณีดังกล่าวนี้อย่างไร ดดยเฉพาะอย่างพาราวึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ผลการศึกษาพบว่า ในส่วนของยางพาราแปรรูปขั้นต้นก่อนการเข้าร่วมเขตการค้าเสรี อินโดนีเซียเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 5 ส่วนฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว และเมียนมาร์เรียกเก็บในอัตราร้อยละ 10 ในขณะที่ประเทศไทยและประเทศสมาชิกอื่นๆไม่มีการเรียกเก็บภาษีนำเข้า ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ยางเป็นสินค้าทีทุกประเทศเรียกเก็บภาษีนำเข้าระหว่างร้อยละ20-50 ทั้งนี้ประเทสต่างๆ งไว้ซึ่งสิทธิในการจัดสินค้าเข้าโปรแกรมการลดภาษีตามแต่ศักยภาพและความเหมาะสมของอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งประเทศไทยเป็นเพียงประเทสเดียวที่กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ยางทุกประเภทเป็นสินค้าในโปรแกรมการลดภาษีแบบเร่งรัดในขณะที่ประเทศอื่นๆกระจายไว้ในประเทศลดภาษีแบบธรรมดาโดยแยกไว้ในรายการลดภาษีชั่วคราวและรายการยกเว้นการลดภาษี จากการเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียนพบว่า ผลกระทบหลักที่เกิดจาการที่ประเทสไทยลดภาษีให้แก่ประเทสสมาชิกอาเซียนมีน้อยมากเนื่องจากยางพาราที่ยังคงมีการเรียกดก็บภาษีนั้นเป็นสินค้าที่ไทยส่งออกมากกว่านำเข้า ในขณะที่ผลกระทบรองที่เกิดจากการที่ประเทสสมาชิกต้องลดภาษีให้แก่ประเทศไทยพบว่า ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการลดภาษีนำเข้าถุงมือยางตั้งแต่ปี2538 ในขณะที่ยางรถยนต์ ยางรถจักรยานยนต์และถุงยางอนามัยได้รับประโยชน์ในปี 2544 สำหรับผลกระทบรวมพบว่ายางพาราแปรรูปขั้นต้นเป็นสินค้าที่ประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ในอาเซียนสามารถผลิตกันได้เองแทบทุกประเทศ ทำให้ปริมารการซื้อขายระหว่างกัยอยู่ในระดับต่ำมาก การส่งออกจึงหนักไปที่การส่งออกเพื่อไปจำหน่ายต่อ โดยมีสิงคโปร์เป็นตัวกลางในการรับซื้อ จากประเทสผู้ผลิตต่างๆ เพื่อส่องออกให้กับประเทศผู้ซื้อปลายทางอีกทอดหนึ่ง ส่วนผลิตภัณฑ์ยางเป็นสินค้าทีมีการซื้อขายระหว่างกันอยู่บ้างแต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของศักยภาพและระดับเทคโนโลยีการผลิตสินค้าและกาสร้าปริมารการค้าระหว่างกันในประเทสสมาชิก ที่เริ่มหันมาซื้อสินค้าระหว่างกันเองมากขึ้น แทนการวื้อจากประเทสนอกกลุ่ม ส่วนสถานการณ์การส่งออกยางพาราไปยังประเทศคู่ค้าหลัก 3 ประเทศพบว่า ไทยยังคงครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดในช่วงปี 2541-2544 ในการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นและจีน ในขระที่อินโดนีเซียครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสูดในการส่งออกไปประเทศสหรัซอเมริการเนื่องจากสหรับอเมริการนำเข้ายางแท่งเป็นหลัก ซึ่งไทยเป็นรองอินโดนีเซีย ในอุตสาหกรรมประเภทนี้ อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยไม่สามารถกำหนดราคาส่งยางพาราออกได้เองต้องกำหนดราคาซื้อขายตามตลาดสิงคโปร์ ทั้งที่ไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางะรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลกถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเร่งแก้ไข โดยประเทสไทยต้องควบคุมหรือลดปริมาณการผลิตลงเพื่อลดอุปทานในตลาดลง วึ่งช่วยรักษาเสถียรภาพราคายางได้ระดับหนึ่ง สำหรับนโยบายในระยะยาวไทยควรพัฒนาตนเองให้เป็นศูนย์กลางการค้ายางแทนสิงคโปร์ให้ได้ รวมทั้งเร่งพัฒนาความความเป็นผู้นำตลาดในส่วนของยางแท่งเพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันไทยเป็นผู้นำตลาดเฉพาะในยางแผ่นร่มควันเท่านั้น รวมทั้งยังต้องปรับสัดส่วนการผลิตมาให้ความสำคัญกับผลิตภัญฑ์ยางให้มากขึ้น ลดการผลิตยางพาราแปรรูปขั้นต้นลงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเติมให้กับสินค้า

     ผู้ทำ/Author
Nameกรัณย์ รัตนพันธ์.
Organization มหาวิทยาลัยรามคำแหง
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
     Contributor:
Name: ธนียา หรยางกูร
Roles: คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Address:
     Year: 2546
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1571
     Counter Mobile: 39