|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
การหาขนาดเพื่อกำหนดราคารับซื้อที่เหมาะสมของไม้ยางพาราในอุตสาหกรรมผลิตไม้อัดกรณีศึกษา โรงงานผลิตไม้อัดตัวอย่าง / Determination of size for the optimum offered price of rubber wood in plywood industry a case study of Sample Plywood Factory |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือการหาขนาดไม้ยางพาราเพื่อกำหนดราคารับซื้อที่เหมาะสมในโรงงานผลิตไม้อัด ซึ่งเป็นการจูงใจให้ผู้ขายนำไม้ในกลุ่มเป้าหมายมาขายเพิ่มมากขึ้น โดยการเปรียยบเทียบสัดส่วนไม้แต่ละขนาด ปริมาณการผลิต เวลา และมูลค่าของวีเนียร์ที่ผลิตได้ จากการศึกษาพบว่า ขนาดของไม้ยางพารามีผลกระทบต่อเวลาที่ใช้ในการปอกวีเนียร์และคุณภาพของวีเนียร์ซึ่งมีผลต่อปริมาณและมูลค่าของวีเนียร์ที่ผลิตได้ และขนาดของไม้ที่โรงงานผลิตได้ใน1ปี โดยแยกเป็นไม้ขนาดเล็ก(ขนาด 5-6นิ้ว) ขนาดกลาง(ขนาด7-9นิ้ว)และขนาดใหญ่(ขนาด10-12นิ้ว) คือ 18460 ตันต่อปี มีมูลค่าของวีเนียร์ 30983058 บาทขนาดกลาง19778 ตันต่อปี มีมูลค่า 44143852 บาทและขนาดใหญ่5713ตันต่อปีมีมูลค่า 14293189 บาทตามลำดับหรือมีสัดส่วน42% 45% และ13%ตามลำดับ และไม้ขนาดที่เหมาะสมคือไม้จนาดกลางมาทดแทนไม้ขนาดเล็กในสัดส่วนที่มากขึ้น โดยการจูงใจด้วยการรับซื้อไม้แยกตามขนาดแทนการซื้อโดยวิธีเหมารวมที่ใช้อยู่ปัจจุบัน จึงได้สร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณหาราคาไม้จูงใจที่เหมาะสมตามราคาตลาดปัจจุบัน ซึ่งจะมีราคารับซื้อไม้ขนาดเล็กต่ำกว่าราคารับซื้อไม้คละแบบเดิม ในขณะที่ทำการศึกษาราคาไม้ราคาไม้คละแบบเดิม1.2บาทต่อกิโลกรัม จะมีราคาจูงใจที่ได้จากโปรแกรมที่สร้างขึ้น คือไม้ขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดใหญ่เป็น0.9,1.35และ1.35บาทต่อกิโลกรัม ถ้าสัดส่วนไม้ขนาดเล็กลดลง50% โดยถูกทดแทนด้วยไม้ขนาดกลางและไม้ขนาดใหญ่คงที่ จะผลิตวีเนียร์ได้เพิ่มขึ้นถึง8.37% เพิ่มกำไรได้9.7ล้านบาทหรือ52.21%และผู้ขายจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 7 ล้านบาท หรือ13.36%
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | สุกัญญา ปราบทุกข์ | Organization | สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ยางพารา
|
|
Contributor: |
Name: |
สมศักดิ์ ตรีสัตย์ และชัยพร วงศ์พิศาล |
Roles: |
ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ |
|
|
Publisher: |
Name | : | สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ | Address | : | |
|
|
Year: |
2548 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
1111 |
|
Counter Mobile: |
42 |
|