ชื่อเรื่อง/Title ผลของการฝึกการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย / Effects of Traditional Games Training on Early Childhood Development
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการฝึกการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลโรงเรียนบ้านบูเกะกุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 โดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 30 คน ซึ่งเด็กปฐมมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง โดยเลือกจากแบบบันทึกสุขภาพและครูประจำชั้นยอมรับเงือนไขการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านจำนวน 12 กิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น (2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการละเล่นพื้นบ้านที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น (3) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกลไกสำหรับเด็กปฐมวัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart Motor Fitness Test) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานแบบ t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า สมรรถภาพทางกลไกของเด็กปฐมวัยชาย ก่อนการฝึกการละเล่นพื้นบ้านทั้ง 6 รายการ อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง ยกเว้นเรื่องของการวิ่งเร็ว 20 เมตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับดี ภายหลังเด็กปฐมวัยชายได้รับการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าเด็กปฐมวัยชายมีสมรรถภาพทางกลไกทั้ง 6 รายการดีขึ้น คืออยู่ในเกณฑ์ระดับดี ยกเว้นการขว้างลูกบอลไกลซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กปฐมวัยหญิง ก่อนการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านทั้ง 6 รายการ อยู่ในเกณฑ์ระดับค่อนข้างต่ำ ยกเว้นเรื่องของการลุก-นั่ง 30 วินาที การวิ่งเก็บของ 3 จุด อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง และการวิ่งเร็ว 20 เมตร การขว้างลูกบอลไกลอยู่ในเกณฑ์ระดับดี ภายหลังเด็กปฐมวัยหญิงได้รับการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าเด็กปฐมวัยหญิงมีสมรรถภาพทางกลไกทั้ง 6 รายการ ดีขึ้น คืออยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง ยกเว้นการขว้างลูกบอลไกลซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับดี และการวิ่งเร็ว 20 เมตร อยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก และเมื่อทำการเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกลไกของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน จะพบว่าเด็กมีสมรรถภาพทางกลไกพัฒนาดีขึ้น เช่นเดียวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการละเล่นพื้นบ้าน ที่พบว่าภายหลังการใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เด็กปฐมวัยชายและหญิง มีค่าคะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับดี ดังนั้นการฝึกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านจึงมีผลดีต่อเด็กปฐมวัย

The purposes of this research were to study Effects of Traditional Games Training on Early childhood development. The sampling in this research is the student in early childhood class at Bukatkung School. Pattani Primary Educational Service Area Office 2 Purposive sampling is 30 Persons. All included stronger students in class. The teacher in the class used heart report for this research. In the research used three ways. (1) The Plans using experienced local activities. (2) The local playing test (3) Kasetsart Motor Fitness Test for Preschool children. To analyses the research in average, standard deviation and t-test dependent. The result of the research founded before the practice local playing, boy is in medium in 6 activities except in 20 meters dash is good. After practice the local playing in 8 weeks, founded in good in 6 activities accept shooting ball in medium. The girls before practice the local playing in 6 activities is in relatively low level except sit-ups 30 second, three objects shuttle run is in medium and 20 meters dash, throw a ball is in good. After the girls practice the local playing in 8 weeks founded that in 6 activities is better than before, except throw a ball is in good. And 20 meters dash is in Excellent. And when the motor fitness of the children was compared both before and after using traditional games training, it found that the children got the better motor fitness. As well as the success of traditional games learning which found that the scores of boy and girl. Children, after using traditional games training, were good. Therefore, the traditional games training was effected the early childhood.
     ผู้ทำ/Author
Nameฟาลาตี หมาดเต
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
เอกสารฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: --โรงเรียนกับชุมชน
ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
     Contributor:
Name: ประชา ฤาชุตกุล
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2557
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1141
     Counter Mobile: 33