|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาแบบบ้านเรียนมุสลิมในประเทศไทย / State and Problems of Muslim Homeschools in Thailand |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการศึกษาแบบบ้านเรียนของครอบครัวมุสลิมในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารและผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 5 ครอบครัว โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกต ผลการวิจัย พบว่า นอกเหนือจากปัจจัยเสริมจากปัญหาและความไม่ปลอดภัยในโรงเรียน ครอบครัวมุสลิมที่เลือกจัดการศึกษาแบบบ้านเรียน มีความเคร่งครัดและยึดมั่นในหลักศรัทธา มีความต้องการให้บุตรหลานได้อยู่ในบรรยากาศที่สามารถขัดเกลาปลูกฝังบุตรหลานในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมอิสลาม มีแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยการบูรณาการกับปรัชญาอิสลาม และมีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมอิสลามในทุกกระบวนการเรียนรู้ มีรูปแบบการจัดการศึกษาแบบครอบครัวเดี่ยวและแบบรวมศูนย์ และมีทั้งการดำเนินการขออนุญาตจดทะเบียนจัดการศึกษากับเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรงและสมัครเรียนกับการศึกษานอกโรงเรียน ปัญหาหลักที่พบ คือความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างครอบครัวมุสลิมกับหน่วยงานของรัฐในเรื่องการด าเนินการจัดการศึกษาทั้งกระบวนการ ทำให้เกิดความล่าช้า แนวทางในการจัดการศึกษาที่เหมาะสม การพัฒนาบุคลากรและจัดตั้งหน่วยงานดูแลบ้านเรียนของภาครัฐ การจัดตั้งศูนย์ประสานงานบ้านเรียนมุสลิมส่วนกลางและการรวมกลุ่มบ้านเรียนมุสลิมในพื้นที่ต่างๆ การจัดทำคู่มือบ้านเรียนมุสลิมและการประเมินผลการจัดการศึกษาแบบบ้านเรียนมุสลิมในภาพรวมร่วมกันของภาครัฐและครอบครัวบ้านเรียนมุสลิม ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินการจัดการศึกษาแบบบ้านเรียนมุสลิมเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
This study aims to examine the state, problems and guidelines for Muslim homeschool management in Thailand using qualitative approach through which relevant documents are content analyzed and 5 key informants are observed and interviewed. The findings shows that in addition to factors relative to existing unrest and school security Muslim family providing homeschool education has very strong faith and wants their children to be educated within an Islamic atmosphere where Islamic ethics can be instilled. The learning approach is based on integration with Islamic philosophy and inculcation of Islamic ethics across every subject taught. There are both single family typed and centralized family typed homeschools. The establishment of homeschool is either getting it registered directly with the Office of Educational Service Area or getting children enrolled in non formal school system. The main problem is that there is misunderstanding between Muslim family and government official in regard to homeschool management procedure thereby resulting in the act of delaying. The feasible guidelines for effective homeschool management are personnel development, government office that is responsible for homeschool , set up coordinating center for Muslim homeschool and cooperation among Muslim homeschool from various places, providing handbook about Muslim homeschool and assessment for Muslim homeschooling from government sector and Muslim homeschool alike would render Muslim homeschooling functioning effectively and efficiency. |
|
ผู้ทำ/Author |
Name | นุรณี สือรี | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--ปัญหาทางการศึกษา
|
|
Contributor: |
Name: |
ฐิติมดี อาพัทธนานนท |
Roles: |
ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ |
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2557 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
1220 |
|
Counter Mobile: |
25 |
|