ชื่อเรื่อง/Title การปรึกษากลุ่มบูรณาการเพื่อลดผลกระทบทางจิตใจและกระบวนการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักหลังเกิดเหตุการณ์วิกฤตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา :กรณีศึกษาโรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จังหวัดปัตตานี / Integrated Group Counseling to Decrease Psychological Impact and Mourning Process in Crisis Event of Secondary School : A Case of Dechapattanayanukul Schoolin Pattani Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยกึ่งทดลองคร้ังนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบทางจิตใจและกระบวนการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักของกลุ่มการปรึกษากลุ่มบูรณาการและกลุ่มการศึกษาทางจิตวิทยาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จังหวัดปัตตานี (2) เพื่อศึกษาผลกระทบทางจิตใจและกระบวนการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ก่อนและหลังการปรึกษากลุ่มบูรณาการหลังเกิดเหตุการณ์วิกฤตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จังหวัดปัตตานี จำนวน 12 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงซึ่งเป็ นนักเรียนที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจและได้สูญเสียบุคคลอันเป็ นที่รัก จากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีความสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 6 คน กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มบูรณาการ จา นวน 14 คร้ัง ๆ ละ 1 ชั่วโมง 30 นาที และกลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มการศึกษาทางจิตวิทยาได้รับความรู้ จา นวน 14 คร้ัง ๆ ละ 1 ชั่วโมง 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนกลุ่มการปรึกษากลุ่มบูรณาการ (2) แผนกลุ่มการศึกษาทางจิตวิทยา (3) แบบสอบถามสุขภาพทั่วไป Thai General Health Questionnaire (Thai GHQ 28) และ (4) แบบประเมินกระบวนการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ท้ัง 2 กลุ่ม ได้รับการประเมินก่อนทดลองและหลังทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon Matched-pairs Signed rank test และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการปรึกษากลุ่มบูรณาการมีผลกระทบทางจิตใจและกระบวนการสูญเสียบุคคลอันเป็ นที่รัก ต่า กว่านักเรียนกลุ่มการศึกษาทางจิตวิทยาอย่างมีนัยสา คัญทางสถิติ 2) นักเรียนที่ได้รับการปรึกษากลุ่มบูรณาการมีผลกระทบทางจิตใจและกระบวนการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก หลังการทดลองต่ำกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

The purpose of this quasi-experimental design was to study the effect of Integrated Group Counseling to decrease psychological impact and mourning process in crisis event of secondary school of Dechapattanayanukul School in Pattani Province. They were 12 voluntary students purposive selected by criteria and randomized into 2 groups equally 6 in the experimental and the control. The experimental group participated in integrated group counseling for 14 sessions. Each lasted one hour and 30 minutes. The control group received psychoeducation for 14 sessions per one and a half hour. The research tools were (1) Integrated Group Counseling Program, (2) Psycho-education Program, (3) Thai General Health Questionnaire (Thai GHQ ? 28) and (4) The Mourning Process Scale. The statistics used to analyzed data were mean, standard deviation, Wilcoxon Matched-pairs Signed rank test and Mann-Whitney U test. The results were as follow: 1) The mean score Thai GHQ ? 28 scores and mourning process of students in the experimental group were significantly lower than those of the control group after the intervention (p<.05). 2) The mean score Thai GHQ ? 28 scores and mourning process of students in the experimental group after the intervention were significantly lower than those before the experiment (p<.05).
     ผู้ทำ/Author
Nameรอฮานี เจ๊ะอุเซ็ง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
เอกสารฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: --การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--ปัญหาทางการศึกษา
     Contributor:
Name: ดวงมณี จงรักษ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2558
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1030
     Counter Mobile: 35