ชื่อเรื่อง/Title กะเทาะสนิมกริช : แลวิถีชีวิตชาวใต้ตอนล่าง
     บทคัดย่อ/Abstract ????การศึกษาเรื่อง กะเทาะสนิมกริช : แลวิถีชีวิตชาวใต้ตอนล่าง ซึ่งใช้ "ปตานี" เป็นศูนย์กลาง เพื่อการแลเห็นอัตลักษณ์ อันเนื่องด้วยโครงสร้างและพลวัตวัฒนธรรมที่พ้องและแตกต่างกับดินแดนส่วนอื่นๆในภาคใต้ด้วยกัน คาดว่าการศึกษานี้จะให้ความรู้ ความเข้าใจชัดเจนขึ้น ทั้งด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและคติชนวิทยา และอาจเอื้อประโยชน์ต่อการนำไปปรับใช้เป็นแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น สังคม และความมั่นคง ทั้งในระดับจุลภาคและระดับมหัพภาค
????การศึกษาครั้งนี้ ใช้วัฒนธรรมกริชอันเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมฮินดู-ชวา เป็นกลุ่มประชากรเป้าหมาย ทั้งกลุ่มประชากรที่เป็นไทยพุทธ ไทยมุสลิม และคนเชื้อสายจีน มีการปรับปรนและเปลี่ยนแปลงอย่างซับซ้อนด้วยสาเหตุต่างกัน บางอย่างเกือบไม่เหลือเค้ารอย สิ่งเหล่านี้เป็นเสมือนสนิมที่กัดกร่อนและพอกบังเนื้อเหล็ก คือแก่นสารของมรดกวัฒนธรรม จำเป็นจะต้องเร่งชำระและสืบค้นให้ทันท่วงที
????ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์วัฒนธรรมภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งมีปตานีและปัตตานีเป็นศูนย์กลางสัมพันธ์กับปัจจัยหลัก สรุปได้ว่า ความหลากหลายทางวัฒนธรรมส่วนที่เกิดจากปัจจัยภายในชุมชนเอง มีอัตลักษณ์ไม่แตกต่างกับภาคใต้ตอนกลางและภาคใต้ตอนบนมากนัก ทั้งนี้เพราะมีสภาพทางภูมิศาสตร์ สภาพดินฟ้าอากาศ ลักษณะธรณีสัณฐาน ทรัพยากรธรรมชาตและสภาพแวดล้อม ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพอันเป็นเงือนไขต่อการดำรงชีพ การสั่งสมภูมิปัญญาและมรดกวัฒนธรรมอื่นๆของชุมชนบริเวณนี้มีลักษณะร่วมกัน อนึ่งความอิสระที่จะเลือกปฎิสัมพันธ์และเลือกตั้งถิ่นฐานที่ยังปลอดจากอำนาจรัฐและอาณาเขต นับตั้งแต่ช่วงไล่ล่าสัตว์ เก็บเกี่ยของป่า จนพัฒนาเข้าสู่ชุมชนเกษตรกรรม ตลอดจนถึงช่วงที่วัฒนธรรมฮินดูมีอิทธิพลต่อสุวรรณทวีปและชวาทวีป ดินแดนบริเวณนี้ต่างก็เคลื่อนเปลี่ยนไปพร้อมๆกัน แต่ต่อมาสืบเนื่องจากบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ตั้งอยู่ในเส้นทางการค้าข้ามคาบสมุทร ในช่วงที่เทคโนโลยีการต่อเรือและการเดินเรือมีขีดจำกัด และความเป็นดินแดนชายของต่อแดนกับมลายูกอปรกับปตานีเคยเป็นรัฐอิสระ เป็นศูนย์กลางการปกครอง การค้า และวัฒนธรรม เคยติดต่อค้าขายกับอินเดีย อาหรับ เปอร์เชีย มาช้านานทำให้เกิดปัจจัยต่างๆอันเนื่องจากผู้คนและวัฒนธรรมชวา-มลายู ฮินดู อาหรับ และเปอร์เซียฝังลึกยิ่งขึ้น ยิ่งเมื่ออำนาจการปกครอง วิถีและพลังวัฒนธรรมในยุคที่ศรีวิชัยและมัชปาหิตรุ่งโรจน์แผ่ถึงปตานี วัฒนธรรมฮินดู-ชวาก็ยิ่งส่งผลให้โครงสร้างและพลวัตวัฒนธรรมภาคใต้ตอนล่างโดดเด่นยิ่งขึ้น พร้อมกับที่ภาคใตัตอนกลางและตอนบนรับพลังวัฒนธรรมเมืองหลวงจากสยาม เหล่านี้ทำให้อัตลักษณ์วัฒนธรรมภาคใต้ตอนล่างแตกต่างไปจากภาคใต้ส่วนอื่นๆมากขึ้น การที่ผู้คนในภาคใต้ตอนล่างส่วนใหญ่เกี่ยวโยงทางชาติพันธุ์และภาษษกับโลกมลายู ทำให้ปัจจัยในการสื่อสารทำความเข้าใจกับกลุ่มคนที่ใช้ภาษาชวา-มลายู กระชับแน่นกว่าผู้ที่ใช้ภาษาไทย และเมื่อศาสนาอิสลามมีบทบาทในดินแดนคาบสมุทรมลายูตลอดถึงสองฟากช่องแคบมะละกาและหมู่เกาะชวาก็ยิ่งทำให้วัฒนธรรมฮินดู-ชวาและวัฒนธรรมอิสลามในภาคใต้ตอล่างเข้มขึ้น และแตกต่างจากภาคใต้ตอนกลางและตอนบนยิ่งขึ้น
????อุบายการสร้างอาณานิคมวัฒนธรรมฮินดู ในสุวรรณทวีป และชวาทวีปของพราหมณ์อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องโดยวิธีนำวัฒนธรรมฮินดูไปถือปฎิบัติตามลัทธิปรัชญาของตนเพื่อเผยแพร่สู่กลุ่มชนเป้าหมาย แล้วนำคติความเชื่อเหล่านั้นไปสร้างหรือก่อให้เกิดขึ้นในดินแดนใหม่ท่ามกลางความพึงพอใจของเจ้าถิ่น แล้วเสริมความศรัทธาด้วยการสร้างตำนานประกอบ สร้างพิธีกรรมประกอบ เพื่อให้ความศรัทธานับถือแพร่กระจายยิ่งขึ้น รวมั้งสร้างเสริมบทบาทให้ขลังยิ่งขึ้น โดยนำวัฒนธรรมนั้นๆเป็นองค์ประกอบสำคัญของขนบประเพณีและจารีตประเพณีอื่นๆ เหล่านี้ล่วนปรากฎชัดเจนในการสร้าง "วัฒนธรรมกริช" ที่ใช้ชวาเป็นต้นกำเนินแล้วขยายอาณานิคมวัฒนธรรมฮินดูคู่ไปกับอาณาจักรกริช เหล่านี้ล้วนปรากฎร่วมในภาคใต้ตอนล่างด้วย
????ผลจากการศึกษาวิจัยเชิงปฎิบัติการ เฉพาะส่วนที่เกี่วกับรูปลักษณ์และภูมิปัญญาที่เป็นอัตลักษณ์ของกริชสกุลช่างปัตตานี สามารถทะลวงจนพบเทคนิควิธีและศิลปะเชิงช่างด้านการประสานเนื้อเหล็ก เทคนิควิธีการผลิตลายในใบกริช การทำใบกริช ด้ามกริช ฝักกริช และอาวุธชนิดอื่นๆ และปฎิบัติการทดลองจนได้ผลงานเหมือนอย่างสกุลช่างดังกล่าวทุกขั้นตอนและทุกประการ พร้อมที่จะปฎิบัติการเพื่อการส่งเสริม การอนุรักษ์ และประกอบการเชิงพาณิชย์ได้ทันที
????เนื่องจากวัฒนธรรมกริชเข้มขน ทั้งในแนวลึกและแนวกว้างในดลกชวา-มลายู จากภูมิปัญญาพราหมณ์ที่มุ่งเสริมศรัทธาต่อสถาบันศาสนาของตนมากว่าสถาบันสังคมของเจ้าถิ่น โดยอาศัยวัฒนธรรมพื้นบ้านเป็นฐานรอง ครั้นเมื่อวิถีและพลังจากวัฒนธรรมกริช ทั้งที่ปรากฎในคติ ความเชื่อ ศิลปวิทยาการ ขนบประเพณีและพิธีกรรมถูกทำลายลงด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์บ้าง จากอุบายของชาวตะวันตกที่พยายามจะนำกฎ ระเบียบ กติกาของตนเพื่อขยายความเป็นตะวันตก ตามลัทธิจักรวรรดินิยมบ้าง และจากศาสนบัญญัติของอิสลามบ้าง บทบาทวัฒนธรรมกริชจึงลดลงเรื่อยๆ และถ้ามองอย่างผาดๆ คล้ายจะเป็นวัฒนธรรมส่วนเกินที่สนใจกับในวงจำกัดและเป็นจุดอ่อนของชุมชนถิ่นนี้ แต่ถ้ามองพิศจะเห็นว่าเป็นพลังซ่อนเร้นที่มีนัยสำคัญต่อความเป็นท้องถิ่น ความต่างบุคลิก ความเป็นกลุ่มย่อยของศาสนิกในศาสนาเดียวกัน ซึ่งผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น และผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายทุกระดับ อาจมองเห็นอัตลักษณ์อันมีความแตกต่างเป็นจุดแข็งเฉกเช่น โครงสร้างและบทบาทด้านอื่นๆ ของสังคมในแต่ละภูมิเขต

     ผู้ทำ/Author
Nameสุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์
Organization
Nameสมบูรณ์ ธนะสุข
Organization
Nameพิชัย แก้วขาว
Organization
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1 ปัจจัยที่เอื้อให้ปัตตานีเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม...
บทที่ 2 วัฒนธรรมภาคใต้ตอนล่าง... (หน้า 27-32)
บทที่ 2 วัฒนธรรมภาคใต้ตอนล่าง... (หน้า 33-46)
บทที่ 2 วัฒนธรรมภาคใต้ตอนล่าง... (หน้า 47-52)
บทที่ 2 วัฒนธรรมภาคใต้ตอนล่าง... (หน้า 53-64)
บทที่ 2 วัฒนธรรมภาคใต้ตอนล่าง... (หน้า 65-74)
บทที่ 3 วิถีและพลังวัฒนธรรมกริช (หน้า 75-85)
บทที่ 3 วิถีและพลังวัฒนธรรมกริช (หน้า 86-95)
บทที่ 3 วิถีและพลังวัฒนธรรมกริช (หน้า 96-105)
บทที่ 3 วิถีและพลังวัฒนธรรมกริช (หน้า 97-114)
บทที่ 4 กริชกับผู้คนและวัฒนธรรมภาคใต้ตอนล่าง (หน้า 115-147)
บทที่ 4 กริชกับผู้คนและวัฒนธรรมภาคใต้ตอนล่าง (หน้า 148-154)
บทที่ 4 กริชกับผู้คนและวัฒนธรรมภาคใต้ตอนล่าง (หน้า 156-180)
บทที่ 5 อภิปรายผล สรุป และข้อเสนอแนะ (หน้า 181-197)
บทที่ 5 อภิปรายผล สรุป และข้อเสนอแนะ (หน้า 198-208)
บรรณานุกรม
ถาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: วิถีชีวิตและประเพณี
ประวัติศาสตร์
     Contributor:
Name: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Address:สงขลา (Songkhla)
     Year: 2543
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 14337
     Counter Mobile: 127