ชื่อเรื่อง/Title ทัศนะต่อข่าวสารทางการเมืองจากหนังสือพิมพ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ / Opinion towards Political Information in Newspapers and Political Participation of the Subdistrict Administration Organization Members and People in the Three Southern Border Provinces
     บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับข่าวสารทางการเมือง ทัศนะต่อ ข่าวสารทางการเมืองที่ได้รับจากหนังสือพิมพ์ และ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของทั้งสมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส ) ที่สัมพันธ์กับตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา ภาษาที่ใช้สื่อสาร การเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล อาชีพ รายได้ และเขตที่อยู่อาศัย วิธีดำเนินการวิจัยเป็นเชิงสำรวจ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาจำนวน 765 คน ประกอบด้วย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 300 คน และ ประชาชนทั่วไป 365 คน จากจังหวัดปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย ค่าร้อยละเพื่อแสดงจำนวนการเปิดรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ ทัศนะต่อข่าวสารทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยค่าไค-สแควร์เพื่อทดสอบค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
ผลการวิจัยมีดังนี้
1. ลักษณะเฉพาะของกลุ่มตัวอย่างที่มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองคือ ระดับ การศึกษาและเขตที่อยู่อาศัย ลักษณะเฉพาะของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับ ข่าวสารทางการเมืองคือ เพศ อายุ ภาษาที่ใช้สื่อสาร การเป็นสมาชิก อบต. อาชีพ และ รายได้
2. ลักษณะเฉพาะของกลุ่มตัวอย่างที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองคือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา การเป็นสมาชิก อบต. และ อาชีพ ลักษณะเฉพาะของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มี ความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองคือ ภาษาที่ใช้สื่อสาร รายได้ และ เขตที่อยู่อาศัย
3. พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากหนังสือพิมพ์ของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง กลุ่มตัวอย่างที่เปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากหนังสือพิมพ์สูงขึ้นจะมีแนวโน้มการมีส่วนร่วมทางการเมืองสูงขึ้นด้วย
4. ในด้านความสัมพันธ์ของทัศนะต่อข่าวสารทางการเมืองของกลุ่มตัวอย่างกับการมีส่วนร่วมทาง การเมือง พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีทัศนะเชิงลบต่อข่าวสารทางการเมืองจากหนังสือพิมพ์จะมีแนวโน้มการมีส่วนร่วมทางการเมืองต่ำ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีทัศนะเชิงบวกต่อข่าวสารทางการเมืองจากหนังสือพิมพ์มีแนวโน้มการมีส่วนร่วมทางการเมืองสูง

The objectives of this research were to study the political information exposure, opinion towards political information through daily newspapers and political participation of the subdistrict administration organization members and people in the three border provinces ( Pattani Yala and Narathiwat ). The independent variables under study were sex, age, educational level, language used in daily life, the subdistrict administration organization membership, occupation, income, and residence.
Data for the study came from a survey research with a total sample of 765, consisting of 365 subdistrict administration organization members and 400 residents in the provinces of Pattani Yala and Narathiwat. The subjects were selected by the way of multistage sampling. The data was analyzed by using the SPSS/PC+ program. Frequency and percentages for political information exposure, opinion towards political information and political participation were presented. Chi - square was used to test the relationship between the independent and the dependent variables.
The findings were as follows:
1. Of the independent variables tested, only educational level and residence had a significant relationship with political information exposure.
2. Sex, age, educational level, subdistrict administration organization membership and occupation were found to have a significant relationship with political participation while language used in daily life, income, and residence had no relationship with political participation.
3. The level of political information exposure was positively related to political participation. The higher level of political information the samples were exposed to, the greater degree of their political participation was.
4. The opinion of the samples towards political information through daily newspapers was found to have a significant with political participation. Those with a negative opinion tended to have a low level of political participation, conversely, those with a positive opinion tended to have a high level of political participation
     ผู้ทำ/Author
Nameคิม, คิวซิค
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้วิจัย
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการเมืองการปกครอง
--การมีส่วนร่วมทางการเมือง
--องค์กรส่วนท้องถิ่น
     Contributor:
Name: ดวงมน จิตร์จำนงค์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2545
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3562
     Counter Mobile: 29