ชื่อเรื่อง/Title การศึกษาเปรียบเทียบการอบแห้งยางพาราโดยอาศัยความร้อนจากตัวรับรังสีและจากแหล่งอื่น
     บทคัดย่อ/Abstract งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบ สร้าง แผงรับรังสีแบบแผ่นคู่ ห้องอบแห้ง และทดลองการอบแห้งยางพาราโดยอาศัยลมร้อน อุณหภูมิ 40?C - 60?C จากแผงรับรังสีแบบแผ่นคู่ที่มีพื้นที่ในการรับรังสี 10.44 m2 และลมร้อนจากขดลวดความร้อนขนาด 5 kW เพื่อใช้อบแห้งยางพาราจำนวน 86 แผ่น โดยใช้พัดลมใบพัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว ขับด้วยมอเตอร์ขนาด 1 แรงม้า ดูดลมร้อนจากชุดแผงรับรังสี แล้วส่งเข้าไปในห้องอบยางพารา ในการทดลองอบแห้งจะแบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลอง ประกอบด้วย การอบแห้งยางพาราแผ่นโดยอาศัยลมร้อนจากแผงรับรังสีแบบแผ่นคู่, จากขดลวดความร้อน และจากแผ่นรับรังสีแบบแผ่นคู่ร่วมกับขดลวดความร้อนตามลำดับ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า มีการกระจายของอุณหภูมิภายในห้องอบแห้งดี และในการลดความชื้นในแผ่นยางพาราจาก 18% Wb ลงเหลือ 0.5% Wb พบว่าการอบแห้งยางพาราแผ่น, โดยอาศัยลมร้อนจากแผงรับรังสีแบบแผ่นคู่, จากขดลวดความร้อน, จากแผงรับรังสีแบบแผ่นคู่ร่วมกับขดลวดความร้อน และโดยการผึ่งแดด ใช้เวลาอบแห้ง 13 วัน, 12 วัน, 10 วัน และ17 วัน โดยมีความสิ้นเปลืองพลังงานเท่ากับ 22, 168 และ 383 kW หรือเท่ากับ 1.097 kJ/kgน้ำที่ระเหย, 8.373 kJ/kgน้ำที่ระเหย และ 19.089 kJ/kgน้ำที่ระเหย ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าการอบแห้งยางพาราโดยใช้ความร้อนจากแผงรับรังสีแบบแผ่นคู่ร่วมกับขดลวดความร้อนจะมีคุณภาพดีที่สุด โดยยางพาราแผ่นที่ผ่านการอบแห้งโดยใช้ลมร้อนจากแผงรับรังสีแบบแผ่นคู่ จากการผึ่งแดดและจากขดลวดความร้อนจะมีคุณภาพของแผ่นยางพารารองลงมาตามลำดับ

A drying house and a double-pass-flat -plate solar air heating were designed and built. The hot air of 40 ? 60?C, which was generated by using the solar air heater or a 5 kW-electric heater, was fed into the drying house by the 1-hp blower. The experiments for determining the optimum para-rubber sheet drying method were carried out. The tests can be divided into 3 categories including the drying test with hot air from the doublepass-flat-plate solar air heater, from the electric heater and from the double-pass-flat-plate solar air heater (daytime) and electric heater (nighttime).The experimental results showed that the temperature distribution in the drying house was uniform. Moreover, it was found that, in order to decrease the moisture content of para-rubber sheet from 18%wb to 0.5% wb, the energy consumption of the drying method using hot air from the double-pass-flatplate solar air heater, from the electric heater and from the double-pass-flat-plate solar air heater (daytime) and electric heater (nighttime), were 22, 168 and 383 kW or 1.097 kJ/kg of water, 8.373 kJ/kg of water and 19.089 kJ/kg of water, respectively. The drying period of these drying mehtods and the sun drying were 13, 12, 10 and 17 days. Also, the result indicate that the best quality of dry para-rubber sheet was obtained from the drying test with hot air from the double-pass-flat-plate solar air heater (daytime) and electric heater (nighttime), while the drying test with hot air from the double-pass-flat-plate solar air heater, from the electric heater and sun drying provided the lower quality of para-rubber sheet, respectively.
     ผู้ทำ/Author
Nameพิพัฒน์ อมตฉายา
Organization มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
Address:
     Year: 2551
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 798
     Counter Mobile: 39