|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตาม ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี จำนวนแรงงานในครัวเรือน ประสบการณ์ในการปลูกยางพารา และขนาดสวนยางพารา กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ที่ขึ้นทะเบียนขอรับกล้ายางพารากับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์ยางพารา จังหวัดศรีสะเกษ จาก 11 อำเภอ กลุ่มตัวอย่างกำหนดขนาดตามตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan ) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 367 คน ใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิตามเขตอำเภอ แต่ละชั้นภูมิสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามซึ่งแบ่งเป็น 2 ตอน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า 1. เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 92.64 เพศหญิง ร้อยละ 7.36 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 36 ปี ถึง 45 ปี ร้อยละ 49.05 รองลงมาคืออายุ 46 ปี ถึง 55 ปี ร้อยละ 26.43 และมีสถานภาพสมรสแล้ว ร้อยละ 88.56 รองลงมาคือโสด ร้อยละ6.27 มีระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 56.13 รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 16.62 มีรายได้มากกว่า 35,000 บาท ร้อยละ 39.78 รองลงมา มีรายได้ 23,000- 35,000 ร้อยละ 34.06 นอกจากนั้นส่วนใหญ่มีสมาชิกในครัวเรือน 4 คน ร้อยละ 26.16 รองลงมาคือ 3 คน ร้อยละ 25.07 มีแรงงานในครัวเรือนส่วนใหญ่ 1 คน ร้อยละ 40.33 รองลงมา 2 คน ร้อยละ 35.15 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการปลูกยางพารา 6 -10 ปี ร้อยละ 47.68 รองลงมาคือ 1-5 ปี ร้อยละ 27.25 นอกจากนั้นส่วนใหญ่มีขนาดสวนยางพาราขนาดกลาง (16-30 ไร่) ร้อยละ 70.03 รองลงมาคือมีสวนยางพาราขนาดเล็ก (2-15ไร่) ร้อยละ 18.80 เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 96.19 ได้แหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.) มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรและอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 1.63 เกษตรกรได้รับข่าวสารยางพาราจากผู้นำในท้องถิ่นมากที่สุด คือ ร้อยละ 47.68 รองลงมาได้แก่ เจ้าหน้าที่ส่งเสริม ร้อยละ 37.61 อาชีพเดิมของเกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.50 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รองลงมาได้แก่ อาชีพรับราชการ ร้อยละ 27.79 เกษตรกร ร้อยละ 85.01 ปลูกยางพารา พันธุ์ RRIM 600 รองลงมาคือพันธุ์ RRIT 251 ร้อยละ 10.08 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษทั้ง 4 ด้านนั้น มีระดับที่มีผลต่อการตัดสินใจปานกลาง และเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าปัจจัยด้านเทคนิคและด้านกายภาพมีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกร 3. จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจปลูกยางพาราในจังหวัดศรีสะเกษพบว่า ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ย จำนวนสมาชิกในครอบครัว แรงงานในครอบครัว ประสบการณ์ในการปลูกยางพารา ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ มีความสัมพันธ์กับขนาดสวนยางพาราอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การเปรียบเทียบการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตาม ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี จำนวนแรงงานในครัวเรือน ประสบการณ์ในการปลูกยางพารา และขนาดสวนยางพารา พบว่า ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกร ด้านระดับการศึกษา ไม่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกยางพารา
The result : - The purposes of this research were to study factors that have affected making a decision in growing agriculturists? rubber tree plants in Sisaket province classified with educational level, income average per one per year, numbers of labors in their families, experience in their growing rubber tree and rubber tree plants. Agriculturists? samples who had joined the project of growing rubber tree plants of one million rais registered to get the rubber tree seedling to the office of rubber tree supporting funds from 11 districts of Sisaket province. Samples determined with the size of Krejcie and Morgan?s Table of 367 persons by using Stratified Random Sampling with the areas of districts. Each stratified random, it will be Simple Random Sampling with proportion of instruments used in the research that is questionnaires divided into 2 parts and statistics used in analyzing the data that is percentage, average, standard deviation and coefficient correlation. The research findings were as follows: 1. Most of agriculturists they are male of 92.64 %, female of 7.36 %, most of them are aged 36-45 years old of 49.05 %, inferior to 46-55 years old of 26.43 % and their status are married of 88.56 %, inferior to unmarried of 6.27 % and having educational level in primary school of 56.13 %, inferior to secondary school and high school of 16.62 % and having income more than 35,000 Baht of 39. 78 % and inferior to having income of 23,000-35,000 Baht of34.06 %. Then most of members in their families have 4 persons of 26. 16 %, inferior to having 3 persons of 25.07 %, most of labors in their families have only one person of 40.33 %, inferior to having 2 persons of 35.15 %, most of them have experience in growing the rubber tree plants from 6-10 years of 47.68 %, inferior to 1-5 years of 27.25 %. Then most of rubber plantation has medium size (16-30 rais) of 70.03 %, inferior to having small rubber plantation (2-15 rais) of 18.80 %. Most of agriculturists had got the source of investment funds from Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives the most, the second is agricultural cooperative and so on of 1.63 %. Agriculturists had got information from leaders in the communities the most of 47.68 %, the second is supporting officers of 37.61 %. Most of agriculturists? original occupations of 48.50 % are consisted of the agricultural occupation, the second is government service of 27. 79 %. The 85.01 % of agriculturists have grown the rubber tree plants of RRIM seeds, the second is RRIT seeds of 10.08 %. 2. Factors that have affected making a decision in growing the rubber tree plants in Sisaket province whole 4 angles having the level to affect making a medium decision and when had considered in each part found that factor on the technique and physical affecting to make agriculturists? decision. 3. From analyzing the relationship of factors that have affected making a decision of growing the rubber tree plants in Sisaket province found that educational level, average income, number of members in the families, labors in the families, experience in growing the rubber tree plants, factors on the economics have relationship with sizes of rubber tree plantation significantly on the statistics at the .05 level. 4. Comparison of making a decision in growing the rubber tree plants of agriculturists in Sisaket province classified with educational level, average income of one person per year, number of labor in the families, experience in growing the rubber tree plants and rubber tree plantation size found that basic data of agriculturists on the education affecting no making a decision in growing the rubber tree plants. |