ชื่อเรื่อง/Title ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการส่งเสริมปลูกยางพาราไปปฏิบัติจังหวัดชัยภูมิ / Factors affecting Policy Implementation in the Rubber Plantation in Chaiyaphum Province.
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการส่งเสริมปลูกยางพาราไปปฏิบัติ จังหวัดชัยภูมิ และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติความสำเร็จของการนำนโยบายการส่งเสริมการปลูกยางพาราไปปฏิบัติ จังหวัดชัยภูมิ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงของเกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2547-2549) จำนวน 933 ราย และกลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 300 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ใช้มาตรวัดแบบลิเคอร์ต (Likert Scale) แบบมาตราจัดอันดับ 5 ระดับ เพื่อการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .903 แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติอ้างอิง ที่ประกอบด้วยสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลความสำเร็จของการนำนโยบายการส่งเสริมปลูกยางพาราไปปฏิบัติ ในจังหวัดชัยภูมิ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีปัจจัยด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านท่าทีของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ด้านการสื่อสารระหว่างองค์กรและการบังคับบัญชา ด้านลักษณะของหน่วยงาน และด้านทรัพยากรของนโยบาย ตามลำดับ 2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติกับความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติในจังหวัดชัยภูมิ ตามสมมติฐาน มีดังนี้ 2.1 ปัจจัยส่วนตัวไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยของความสำเร็จของการนำนโยบาย ไปปฏิบัติ ซึ่งปฏิเสธสมมติฐาน ข้อที่ 1 ส่วนตัวแปรส่วนบุคคลและตัวแปรความสำเร็จของการนำนโยบายการปลูกยางพาราไปปฏิบัติ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก กับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จได้แก่ 1) มาตรฐานและวัตถุประสงค์ 2) การสื่อสารระหว่างองค์กรและการบังคับบัญชา 3) ลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ 4) เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง 5) ท่าทีของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2 ปัจจัยส่วนตัว 6 ตัวแปร และปัจจัยที่ส่งผลความสำเร็จของนโยบาย 6 ตัวแปร ร่วมกันอธิบายการผันแปรความสำเร็จของการนำนโยบายการส่งเสริมปลูกยางพาราไปปฏิบัติได้ร้อยละ 46.6 โดยมีตัวแปรที่มีอำนาจการอธิบายมากที่สุดในสมการมี 4 ตัวแปร ซึ่งยอมรับสมมติฐาน ข้อที่ 2 ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านท่าทีของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ 2) การเป็นสมาชิก 3) ผู้นำชุมชน 4) เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง มีอิทธิพลกับ ความสำเร็จของการนำนโยบาย 3. ผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์ พบว่า เกษตรกรได้รับการช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น เช่น ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดชัยภูมิ องค์การบริหารส่วนตำบล หรือหน่วยงานส่งเสริมการเกษตรในท้องถิ่น ตามความจำเป็น สำหรับเงินทุนของการจัดสรรเพื่อส่งเสริมตามนโยบาย ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณแผ่นดินส่วนหนึ่ง สำหรับเงินทุนของเกษตรกรในการปลูกยางพารา เกษตรกรได้ประสานงานกับแหล่งเงินทุกเพื่อช่วยเหลือเกษตร ตามที่เกษตรกรมีความจำเป็น โดยมีข้อเสนอแนะ คือ 1) ควรเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือสนองนโยบายและความต้องการของเกษตรที่ปลูกยางพารา ซึ่งมีแนวโน้มที่เกษตรกรจะเพิ่มพื้นที่การปลูกยางพารา แต่เท่าที่หน่วยงานปฏิบัติงานมา เจ้าหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานในระดับนโยบายเพื่อส่งเสริมการปลูกยางพาราได้อย่างเป็นไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ ยังพบว่า 2) ส่งผลดีต่อการนำนโยบายส่งเสริมการปลูกยางพาราของจังหวัดชัยภูมิ และ 3) เสนอแนะให้ทำการวิจัยให้ลึกลงไปว่านโยบายส่งเสริมการปลูกยางพาราที่ดีควรเป็นอย่างไร

This research aimed to study : 1) the success factors on the policy implementation in the rubber plantation in Chaiyaphum Province and 2) the correlation among the factors partially affecting to the success on the policy implementation and the success on the policy implementation in the rubber plantation in Chaiyaphum Province. The population in this research included 993 farmers and the subjects derived from the multi-stage random technique were 300 farmers. The research instruments covered the five-rating scaled questionnaire of Likert Scale with the reliability value of .903 and the structured interview. The data were analyzed using the frequency, percentage, mean and standard deviation and the hypothesis testing inferential statistics included the Pearson Product Moment Correlation and the multiple regressions. The research results revealed that : 1. The success factors on the policy implementation in the rubber plantation in Chaiyaphum Province in the whole image revealed at the much level which the factor aspect on the standard and the objectives of the policy was the highest mean and the latter aspects were the policy practice leaders? attitudes, economic, social and politic conditions, communications among organizations and authorities, institute characteristics, and resources of the policy respectively. 2. The correlation among the factors partially affecting to the success on the policy implementation and the success on the policy implementation in the rubber plantation in Chaiyaphum Province revealed as follows : 2. 2.1 The personal factors had no correlations with the factors affecting to the success on the policy implementation and the success on the policy implementation in the rubber plantation which rejected Hypothesis 1; while the personal factors and the factors affecting to the success on the policy implementation had the positive correlations at the .01 significant level that accepted Hypothesis 1 including the factors of; 1) standard and the objectives of the policy, 2) communications among organizations, 3) authorities, 4) social and politic conditions, and 5) institute characteristics of the policy implementation. 2.2 The 6 personal factors and the 6 factors affecting to the success of the policy implementation cooperatively predicted the changes of the success on the policy implementation in the rubber plantation in 46.6% that accepted Hypothesis 2 included the variables of; 1) institute characteristics of the policy implementation, 2) the states of members, 3) community leadership, 4) social and politic conditions, had the influence on the success on the policy implementation in the rubber plantation. 3. The results from the interview revealed that the farmers obtained the helps in different aspects from the associated sectors in the local area including the sub-district administration organizations or the sectors in agricultural promotion in the local area as the necessity. For the budgets of the policy promotion provision, they obtained from some of the budget provision from the government. The farmers coordinated the budgets of in the rubber plantation with the budget sources as their necessities. The additional needs were that 1) there should have been sufficient officers for help to respond the policy and needs of the rubber farmers that there were trends of the farmers? additional rubber plantation land. However, as the sectors associated had operated, the officers had coordinated well and efficiently with the offices in the policy level for the rubber plantation promotion, 2) the policy affected well to the rubber plantation policy in Chaiyaphum Province and 3) the suggestions indicated that there should have been the in-depth study to find out the good characteristics of the policy.
     ผู้ทำ/Author
Nameมั่น คงดี
Organization สถานบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--นโยบายและการพัฒนา
     Contributor:
Name: เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
Address:
     Year: 2554
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 1543
     Counter Mobile: 48