ชื่อเรื่อง/Title ความยึดมั่นผูกพันในศาสนาอิสลามของคนไทยมุสลิมชนบท จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีผลต่อพฤติกรรมด้านสังคม เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต / Effects of Islamic Commitments to Social, Economic, and Quality - of-Life Behavioral Patterns of Rural Thai-Muslims in the Southern Border Provinces
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความยึดมั่นผูกพันในศาสนาอิสลามของคนไทยมุสลิมชนบทจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านสังคมเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตว่าจะมีผลส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อที่จะตอบปัญหาว่า ความยึดมั่นผูกพันในศาสนาอิสลามของคนไทยมุสลิมชนบทจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นสาเหตุหรือไม่ในการที่ทำให้การพัฒนาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของคนไทยมุสลิมชนบทจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่บรรลุเป้าหมายเท่าที่ควร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ คนไทยมุสลิมชนบทจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งชายและหญิงที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน <br /><br /> <dd>ผลการวิจัยพบว่า ความยึดมั่นผูกพันในศาสนาอิสลามระดับต่ำกับระดับสูงของคนไทยมุสลิมชนบทจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผลต่อพฤติกรรมทางด้านสังคมแตกต่างกันในเรื่อง การร่วมกิจกรรมกับทางราชการ การตรงต่อเวลา การแต่งงานเมื่ออายุยังน้อย การใช้เวลาว่าง มีผลแตกต่างกันทางด้านเศรษฐกิจในเรื่อง รายได้ การเสี่ยงโชค และมีผลต่อพฤติกรรทางด้านคุณภาพชีวิต แตกต่างกันในเรื่อง การศึกษาทางศาสนาอิสลาม และสาธารณสุขมูลฐานเกี่ยวกับการมีส้วมใช้ และการรักษาพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับพฤติกรรมการวางแผนครอบครัวไม่สามารถทดสอบสมมุติฐานได้ เพราะไม่สามารถหาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและความแปรปรวนของกลุ่มที่มีระดับความยึดมั่นผูกพันในศาสนาอิสลามระดับต่ำได้ ความยึดมั่นผูกพันในศาสนาอิสลามที่แตกต่างกันของคนไทยมุสลิมชนบทจังหวัดชายแดนภาคใต้มีผลต่อพฤติกรรมทางด้านสังคมเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต ไม่แตกต่งกัน ในเรื่องการร่วมกิจกรรมในหมู่คนไทยมุสลิม การมีภรรยาหลายคน การสะเดาะเคราะห์ การถือฤกษ์ยาม ความประหยัด การสะสมทุน การเก็บเงินออม อาชีพรอง การศึกษา และพบว่าความยึดมั่นผูกพันในศาสนาอิสลามไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา แต่กลับมีผลส่งเสริมต่อการพัฒนาทั้งสิ้น<br /><br /> <dd>ผลการพัฒนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่บรรลุเป้าหมายได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ความยึดมั่นผูกพันในศาสนาอิสลามไม่ได้เป็นตัวอุปสรรคและขัดขวางต่อการพัฒนาแต่อย่างใด นอกจากไม่เป็นอุปสรรคและขัดขวางต่อการพัฒนาแล้วยังเป็นไปในลักษณะส่งเสริมต่อการพัฒนาอีกด้วย หากสามารถหากลวิธีที่จะนำความยึดมั่นผูกพันในศาสนาอิสลามไปมีส่วนช่วยในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วย่อมจะมีผลให้การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปสู่การพัฒนาระดับพื้นฐานได้อย่างดียิ่งอีกทางหนึ่ง

The purposes of this research were twofold: (1) to investigate the extent of the commitments to social, economic, and quality-of-life behaviorals patterns of the rural Thai-Muslims in the southern border provinces that would have some effects upon the overall development of the southern border provinces, and (2) to answer the question of whether or not such commitments binder the social, economic, and quality-of-life development of the rural Thai- Muslims in the southern border provinces. The samples under study were or 400 Thai-Muslim household heads or their spouses, who were males or females of 15 and over and resided in the southern border provinces. The instruments for the data collection were of observation methods and interview guides. In the data analysis, the statistical procedures employed were persentage, mean, standard deviation, variance and a t-test.<br /> It was found that there was a significant difference (p<.05) between the subjects' Islamic commitments and their behavioral pattern: the social--their participation in the governmental activities being punctual, getting married at a very young age, spending a free time; the economic--income and risk-taking; and the quality-of-life--the religious studies, basic health habits regarding use of hygientc toilets and medical treatments. As for the family planning behavior, the hypothesis could not be tested statistically. However, there was no statistical difference between the subjects' Islamic commitments and their behavioral patterns in their fellowmen's activity paricipation, being allowed to have more than wife, rituals of getting rid of bad luck, being superstitious, being economical, capital accumulation, supplementary career, and education. It was in addition found that those Islamic commitments did not at all hinder any development, but on the contrary, they helped enhance all aspects of development.<br /> The areal development in the southern border provinces had been thus far accomplished only up to a certain level of it; the Islamic commitments of the rural Thai-Muslims not only did not hinder such development but also enhanced it. It was strngly suggested that subtly appropriate strategies be sought to strengthen those Islamic commitments, so that the community development in the area will be accomplished to a greater extent.
     ผู้ทำ/Author
Nameนฐพงศ์ เทพจารี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 3 ผลการวิจัย (หน้า 58-87)
บทที่ 3 ผลการวิจัย (หน้า 88-117)
บทที่ 3 ผลการวิจัย (หน้า118-147)
บทที่ 4 การอภิปรายผล
บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: วิถีชีวิตและประเพณี
ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--นโยบายและการพัฒนา
ด้านศาสนา
--ศาสนากับสังคม
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: ชำนาญ ประทุมสินธุ์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2534
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 4810
     Counter Mobile: 54