ชื่อเรื่อง/Title ผลกระทบของการทำสวนยางพาราที่มีต่อชุมชน กรณีศึกษา อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ / Effects of Para Rubber Plantation on Community : a Case Study of Bangruad District, Buriram Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาลักษณะด้านสังคม ลักษณะด้านเศรษฐกิจของเกษตรกรที่ทีสวนยางพารา และองค์ประกอบภายนอกชุมชนอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ 2) ศึกษาวิเคราะห์ความแตกต่างของผลกระทบด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจต่อเกษตรกร ก่อนและหลังการทำสวนยางพาราและ 3) ศึกษาวิเคราะห์ความแตกต่างของผลกระทบด้านสังคม กับผลกระทบด้านเศรษฐกิจต่อเกษตรกร หลังการทำสวนยางพารา ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางบุรีรัมย์ ที่พ้นสงเคราะห์และเปิดกรีดยางแล้ว ในปี 2540 ถึงปี 2550 อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 291 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย การเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนแบบมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด สถิติวิเคราะห์ความแตกต่าง (Paired Square Test) และสถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์อย่างง่าย (Simple Correlation Analysis) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ลักษณะด้านสังคมของเกษตรกร พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุมากกว่า 50 ปี จบระดับการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 5 คน มีการติดต่อกับเจ้าหน้าท่าแลทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดบุรีรัมย์ 2-3 ครั้งต่อปี แหล่งที่เปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการทำสวนยางพาราคือ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดบุรีรัมย์ มีความรู้ความเข้าใจในระบบก้อนทำสวนยางพาราร้อยละ 76.2 และมีประสบการณ์ในการทำสวนยางพาราร้อยละ 63 และเข้าฝึกอบรมการปลูก การดูแลรักษาและกรีดยางร้อยละ 94 จำนวนเข้าฝึกอบรมคนละ 1-2 ครั้ง ร้อยละ 83.6 เมื่อเกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับทำสวนยางพาราจะเลือกปรึกษาเจ้าหน้าที่สำนักงานาแงทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดบุรีรัมย์ ร้อยละ 61.5 2. ลักษณะและด้านเศรษฐกิจของเกษตรกร พบว่า ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักทำสวนยางพาราร้อยละ 89.2 อาชีพเสริมทำเกษตรกรรมร้อยละ 4.2 รายได้ครัวเรือนในปี 2549 มากกว่า 100,000 บาท ร้อยละ 58.4 เกษตรกรยังมีหนี้สินเดิมน้อยกว่า 40,000 บาท ร้อยละ 46.2 มีพื้นที่ดินถือครองทางการเกษตรมากกว่า 30 ไร่ ร้อยละ 63.3 พื้นที่สวนยางพารา ร้อยละ 87.4 โรคที่เกิดในสวนยางพาราเป็นโรคเปลือกแห้งร้อยละ 83.6 มีการใช้วิธีการป้องกัน ทายารักษาร้อยละ 64.1 3. ด้านองค์ประกอบภายนอกภายนอกชุมชน พบว่า การส่งเสริมด้านเงินทุน และสินเชื่อ การส่งเสริมช่วยเหลือด้านการตลาดและการส่งเสริมข่าวสารที่เกี่ยวกับการทำสวนยางพารา มีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทำสวนยางพารา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ด้านผลกระทบทางสังคมต่อเกษตรกร พบว่า แรงงานในครอบครัวไปทำงานนอกหมู่บ้านแรงงานในครอบครัวกลับมาทำงานที่บ้าน แรงงานรับจ้างที่มาจากถิ่นอื่น โอกาสทางการศึกษาของสมาชิกในครอบครัว โอกาสในการพักผ่อนของผู้ทำสวนยางพารา การไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้าน การไปร่วมงานประเพณีของเพื่อนบ้าน การพบปะพูดคุยกับเพื่อนในหมู่บ้าน การพบปะพูดคุยกับเพื่อนต่างหมู่บ้าน โอกาสไปท่องเที่ยว โอกาสในการไปใช้สิทธิ์ทางการเมือง โอกาสในการดื่มสุรา โอกาสในการเล่นการพนันต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทำสวนยางพารา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การไปร่วมทำบุญที่วัด และการไปร่วมประชุมในหมู่บ้าน ไม่มีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทำสวนยางพารา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการทำสวนยางพารา 5. ด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อเกษตรกร พบว่า รายได้จากการทำสวนยางพารารายได้ในภาคเกษตรกรรม รายได้นอกภาคเกษตรกรรม รายจ่ายในการทำสวนยางพารา รายจ่ายในภาคการเกษตรกรรม รายจ่ายนอกภาคการเกษตรกรรม การจ้างแรงงานในการทำสวนยางพาราการจ้างแรงงานในการการเกษตรกรรม หนี้สินในการทำสวนยางพารา หนี้สินในภาคเกษตรกรรม หนี้สินนอกภาคเกษตรกรรม หนี้สินในระบบ หนี้สินที่ค้างจ่ายด้านทรัพย์สินบางประการของเกษตรกร และประมาณมูลค่าทรัพย์ทั้งหมด มีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทำสวนยางพารา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6. ด้านผลกรทบทางสังคมต่อเกษตรกรกับผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อเกษตรกร พบว่า ไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้านกับ การจ้างแรงงานในภาคการเกษตรกรรม โอกาสในการดื่มสุรากับรายจ่ายในการทำสวนยางพาราโอกาสในการเล่นการพนันต่าง ๆ กับรายจ่ายในการทำสวนยางพารา การไปร่วมประชุมในหมู่บ้านกับรายจ่ายนอกภาคการเกษตรกรรม โอกาสในการไปใช้สิทธิ์ทางการเมืองกับจำนวนหนี้สินที่ค้างจ่ายมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบหลังการทำสวนยางพารา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โอกาสในการพักผ่อนของเกษตรกรกับรายได้นอกภาคการเกษตรกรรม โอกาสในการไปท่องเที่ยวกับรายได้นอกภาคการเกษตรกรรม การไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้านกับการจ้างแรงงานในการทำสวนยางพาราโอกาสในการไปท่องเที่ยวกับรายจ่ายนอกภาคการเกษตรกรรม โอกาสในการพักผ่อนของเกษตรกรกับจำนวนหนี้ในการทำสวนยางพารา โอกาสในการไปใช้สิทธิ์ทางการเมืองกับจำนวนหนี้ในการทำสวนยางพารา โอกาสในการไปใช้สิทธิ์ทางการเมืองกับจำนวนหนี้สินที่ค้างจ่าย มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้าม เมื่อเปรียบเทียบหลังการทำสวนหนี้สินที่ค้างจ่าย มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้าม เมื่อเปรียบเทียบหลังการทำสวนยางพารา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับด้านอื่น ๆ ไม่พบความสัมพันธ์

     ผู้ทำ/Author
Nameทรัพย์ไพศาล จันทร์สระบัว
Organization มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
     Contributor:
Name: สุนันทา วีรกุลเทวัญ
Roles: ประธานกรรมการ
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
Address:
     Year: 2551
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1954
     Counter Mobile: 31