ชื่อเรื่อง/Title โครงการเศรษฐกิจท้องถิ่นลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา: ศึกษาเฉพาะกรณีข้าวและยางพาราตั้งแต่ พ.ศ.2539-2539
     บทคัดย่อ/Abstract งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาการผลิต ความสัมพันธ์ทางการผลิต การบริโภค การค้าขายแลกเปลี่ยน ตลอดจาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการผลิตข้าวและยางพารา โดยเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ชาวนาและชาวส่วนยางพาราได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของตนเองผลการศึกษาพบว่าสภาพเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของผู้คนในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาโดยเฉพาะชาวนาในช่วงก่อพอยังชีพตามแบบศักดินานพ.ศ.2453มีสภาพเศรษฐกิจพอยังชีพแบบศักดินามีวิะีการผลิตแบบดั้งเดิมคือทุกขั้นตอนการผลิตตั้งแต่การไถปักดำเก็บเกี่ยวอาศัยแรงงานคนสัตว์เลี้ยงและน้ำฝนเป็นสำคัญควบคู่ไปกับเครื่องมือที่ใช้ในการทำนาที่ไม่สลับซับซ้อนเช่นไถคราดจอบเสียมซึ่งบางส่วนเป็นของที่ทำขึ้นมาเองบางส่วนซื้อจากท้องถิ่นใกล้เคียงดดยมีจุดมุ่งหมายในการผลิตเพื่อบริโภคภายในครอบครัวเป็นสำคัยอาจมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายกันบ้างเล้กๆน้อยๆเพื่อให้พอเพียงในสิ่งที่จำเป็นเท่านัั้นส่วนการค้าขายแบบเสรษฐกิจการค้าตามระบบทุนนิยมจะปรากฎให้เเห็นในชุมชนสังคมเมืองดยเแพาะเมืองท่าชายทะเลเช่นเมืองสงขลาแต่การก่อตัวของระบบทุนนิยมจะเป้นไปอย่างเชื่องช้าไม่เกิดนายทุนอิสระเพราะกำไรจากการค้าขายไม่ได้นำมาผลิตซ้ำแต่นำไปเพื่อรักษาระบบศักดินาให้คงอยุ่อย่างมีศักดิ์ศรีมากกว่าสำหรับวิถีชีวิตของชาวนาจะอยู่ได้ระบบศักดินาถูกขูดรีดผลผลิตส่วนเกินในรูปของการเกณฑ์แรงงานเสียส่วยสาอากรให้กับรัฐและถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐเอารัดเอาเปรียบนอกจานี้รัฐยังจงใจละทุกข์สุขของชาวนาทำให้พวกเขาเลือกที่จะรวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือตัวเองมีความเกื้อกูลและเื้ออาทณต่อกันตลอดจนร่วมกันสร้างเครื่อข่ายป้องกันและพิทักษ์ชีวิตและทรัพสินของกันและกันมากกว่าพึ่งอำนาจของรัฐสภาพเศรษบกิจและวิถีชีวิตของชาวนาและชาวสวนยางพาราในช่วงพ.ศ.2453-2500เริ่มเปลี่ยนแปลงไปดดยชาวนาเริ่มหันมาผลิตข้าวเพื่อขายในขณะที่ผุ้คนที่อบู่บริเวรเชิงเขาหรือพื้นที่สูงเริ่มหันมาปลุกยางพาราเป็นอาชีพเสริมในส่วนของชาวนาการผลิตข้าวจำแนกได้สองส่วนคือส่วนแรกเป็นการผลิตข้าวในพื้นที่ขนาดใหญ่ดำเนินการดดยนายทุนจีนมีเป้าหมายในการผลิตเพื่อขายมีการใช้เครื่องจักรในการทำนาเป็นการทำนาแบบครบวงจรเริ่มตั้งแต่การปลุกการเก็บเกี่ยวการแปรรูปและการขายและเนื่องจากนายทุนจีนเป็นทั้งผู้ผลิตผู้ซื้อและผู้ขายจึงสามารถเลือกขายผลผลิตของตนเพื่อแสวงหากำไรได้เต็มที่ทำให้สามารถแสวงหาผลกำไรได้จากการลงของตนได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยยิ่งกว่านั้นกาารเป็ยนผู้ซื้อข้าวเปลือกของชาวนาโดยใช้วิธีกดราคาและดกงน้ำหนักก็ยิ่งทำให้นายทุนจีนได้รับผลประโยชน์มากมายจากการผลิตข้าวเพื่อขายส่วนที่สองคือการทำนาในพื้นที่ขนาดเล็กของชาวนาในท้องที่การเริ่มผลิตข้าวเพื่อการขายเกิดจากความำเป็นที่ต้องใช้จ่ายเงินสำหรับการศึกษาของบุตรหลานและเพื่อเลื่อนฐานะของตนเองและครอบครัวเป็นสำคัญการผลิตข้าวโดยจะขายผลผลิตเฉพาะในส่วนที่เหลือจากากรบริโภคเท่านัั้นการผลิตยังใช้วิธีดั้งเดิมพึ่งพิงทรัพยากรภายในชุมชนไม่มีการปรับเปลี่ยนเทคดนดลยีในการผลิตแต่ใช้วิะีการขยายพื้นที่การเพาะปลุกเพื่อเพิ่มผลผลิตเป็นหลักในช่วงนี้ถึงแม้จะมีระบบเงินตราเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวนามากขึ้นแต่ส่งผลเฉพาะในส่วนการศึกษาและหาวื้อเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นเท่านั้นเงินจึงไม่จำเป็นมากนักเพราะทรัพยากรในท้องถิ่นมีความสมบูรณ์สามารถหล่อเลี้ยงการดำรงชีพของชาวนาได้อย่างดีระบบเงินจึงไม่อาจเข้ามาทำลายความสัมพันธ์ที่ดีงามของวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมได้สำหรับการทำสวนยางขอลลุ่มน่ำทะเลสาบสงขลานั้นเริ่มต้นด้วยุนจีนแรงงานจีนภายใต้การสนับสนุนเป็นอย่างดีของรัฐบาลไทยหลังจากนั้นจึงค่อยแพร่หลายไปสู่คนไทยซึ่งส่วนใหญ่จะทำสวนยางขนาดเล็กในระยะแรกจะเป็นการปลูกยางพาราเป็นอาชีพเสริมเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวมีวิธีการผลิตที่ล้าสมัยผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่ำถูกพ่อค้ากดราคารับซื้อการไม่ปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตและพึ่งพิงทรัพยากรภายในชุมชนทำให้ระบบทุนไม่สามารถแทรกตัวเข้ามาขูดกรีดในขั้นตอนการผลิตได้คงทำได้เฉพาะในขั้นตอนการซื้อผลผลิตเท่านั้นซึ่งแม้ผลผลิตเหล่านี้จะถูกกดราคาแต่ก้ไม่กระทบต่อชีวิตของชาวสวนชาวนามากนักเนื่องจากต้นทุนการผลิตต่ำมากดังนั้นระบบทุนนิยมที่ก่อตัวขึ้นอย่างชัดเจนในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาจึงส่งผลต่อวิถีชีวิตและสภาพเศรษฐกิจของคนเหล่านี้ไม่มากนักในช่วงพ.ศ.2500-2539สภาพเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของชาวนาและชาวสวนยางพาราได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายทั้งนี้เกิดจากชาวนาเปลี่ยนเป้าหมายการผลิตจากการผลิตข้าวเพื่อบริโภคมาเป้นเพื่อการค้าขายและในขณะเดียวกันชาวสวนยางพาราได้เปลี่ยนเป้าหมายการผลิตจากเพื่อเป้นอาชีพเสริมมาเป้นอาชีพหลักทำให้ระบบทุนนิยมแทรกตัวเข้ามาในชุมชนอย่างรวดเร็วควบคุมเป้าหมายการผลิตปัจจัยการผลิตให้เป้นไปตามความต้องการของตลาดส่งผลกระทบต่อชาวนาและชาวสวนยางพาราอย่างกว้างขวางในส่วนของชาวนาการตัดสินใจปลูกข้าวเพื่อขายทำให้ชาวนาต้องหันไปพึ่งพิงปัจจัยภายนอกชุมชนเช่นรถไถข้าวพันธ์ใหม่ปุ๋ยยากำจัดศัตรูพืชเป็นต้นทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นในขณะเดียวกันระบบนิเวศน์และความสมบูรณ์ของพื้นดินได้ลดลงอย่างรวดเร็วเพราะผลของการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เช่นปุ๋ยยากำจัดศัตรูพืชทำให้ค่าใช้จ่ายในการซื้อหาปัจจัยการผลิตและสิ่งของอุปโภคบริโภคเพื่อดำรงชีพสูงขึ้นไปด้วยในขณะเดียวกันการผลิตเพื่อขายก็ทำให้วิถีชีวิตของชาวนาผุกติดกับตลาดมากขึ้นมีความเสี่ยงกับกำไรขาดทุนมากขึ้นต้นทุนการผลิตที่สุงส่งผลให้ชาวนาขาดทุนหากข้าวขายได้ราคาต่ำหรือทำนาไม่ได้เพราะภัยธรรมชาติชาวนาก็จะประสบกับภาวะขาดเงินทุนในการผลิตซ้ำจำเป็นต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อนำมาใช้จ่ายในครอบครัวและวื้อหาปัจจัยเพื่อเพาะปลูกในฤดูกาลต่อไปชีวิตชาวนาจะเริ่มถูกกดดันและถูบงการการตัดสินใจในการเพาะปลุกดดยตลาดแทนการเลือกตัดสินใจด้วยตนเองดังเช่นในอดีตนอกจากนี้ความสัมพันธ์ในชุมชนทางด้านการผลิตและสังคมเองก็เริ่มจางหายการออกปากซอมือถูกแทนที่ด้วยการใช้เงินจ้างชุมชนที่เคยเกาะตัวกันแน่นเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกันเริ่มอ่อนแอผู้คนเริ่มคิดถึงและแสวงหารเงินเพื่อนำมาใช้จ่ายและซื้อปัจจัยการผลิตแทนการแสวงหาน้ำใจซึ่งเป็นซึ่งดีงามจึ่งเริ่มสูญหายไปอย่างน่าเสียดายในขณะเดียวกันสภาพเศรษฐกิจของชาวนาเริ่มทรุดต่ำลงซึ่งเกิดจากการทที่ชาวนาขายข้าวขาดทุนและบางครั้งก็ทำนาไม่ได้ผลเกิดปัญหาหนี้สินมากมายก็ส่งผลให้คนหนุ่มสาวเริ่มละทิ้งไร่นาออกจากชุมชนไปหหางานในตัวเมืองการทำนาจึงเริ่มเสื่อมโสมลงอย่างรวดเร็วสภาพไร่นาที่ถูกทิ้งร้างจึงป็นภาพที่พบเห็นได้ทั่วไปในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาสำหรับชาวสวนยางพาราจะมีสภาพเศรษฐกิจและวิถีชีวิตคล้ายคลึงกันกล่าวคือหลังจากการเปลี่ยนเป้าหมายจากการผลิตเป็นอาชีพเสริมมาเป็นเพื่ออาชีพหลักแล้วชาวสวนต้องลงทุนมากขึ้นเพื่อซื้อยางพันธุ์ดีต้องบำรุงรักษาและปรุบปรุงเทคดนดลยีการผลิตให้ดีขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นในขณะที่ขายผลผลิตได้ในราคาต่ำส่งผลให้ชาวสวนมีกำไรจาการขายผลผลิตน้อยมากในบางครั้งถึงกับขาดทุนทำให้การสะสมทุนเกิดขึ้นได้ยากเงินที่ได้จากการผลิตเพียงพอต่อการดำรงชีพภายในครอบครัวแต่ละวันเท่านั้นเมื่อต้องการขายพื้นที่เพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตหรือเกิดเจ็บป่วยหรือต้องใช้เงินเพื่อเพื่อส่งเสียบุตรหลานเล่าเรียนสูงขึ้นก็ต้องกู้หนี้ยิมสินดังนั้นชาวสวนยางพาราบางรายจึงต้องเปลี่ยนสภาพสวนยางพาราเป็นสวนผลไม้เพราะให้ผลตอบแทนมากกว่าและบางรายต้องทำอาชีพเสริมเพื่อให้มีเงินพอมาเลี้ยงครอบครัวได้ส่วนหนุ่มสาวก็ละทิ้งสวนยางพาราเพราะเห็นว่าเป็นอาชีพที่เหนื่อยยากและมีรายด้ไม่พอรายจ่ายจึงหันไปทำงานตามโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยให้การทำสวนยางตกเป็นภาระของผุ้สูงอายุซึ่งขาดเรี่ยวแรงในการขยายพื้นที่เพาะปลูกซ้ำร้านกลับมีแนวโน้มจะลดขนาดพื้นที่ลงเรื่อยๆเพราะการแบ่งมรดกและการขายสวนยางไปเพื่อประกอบอาชีพอื่นอนาคตการทำสวนยางพาราเกิดจากการขยายผลผลิตได้ราคาต่ำชาวนาและชาวสวนประสบภาวะขาดทุนอันเนื่องมาจากหลายสาเหตุเช่นผลผลิตไม่มีรคุณภาพถูกพ่อค้ากดราคาและโกงน้ำหนักดังนั้นผู้คนทั้งสองอาชีพจึงพยายามแก้ปัญหานี้โดยการรวมกลุ่มกันพัมนาผลผลิตของตนให้มีคุณภาพและรวมกลุ่มกันขายเพื่อให้มีอำนาจต่อรองกับพ่อค้าซึ่งจะช่วยให้ผลผลิตได้กำไรมากขึ้นแต่การรวมกลุ่มยังขยายตัวไม่มากความสำเร็จจึงอยุ่ในวงแคบในทัศนะของผู้เขียนรัฐต้องทำหน้าที่เป้นพี่เลี้ยงกระตุ้นให้มีการรวมกลุ่มของผู้คนในชุมชนให้มากขึ้นในขณะเดียวกันผุ้คนในท้องถิ่นจะต้องลดการผูกติดอยู่กับตลาดต้องลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวหันไปทำไร่นาสวนผสมให้มากขึ้นและต้องเร่งฟื้นฟูความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ของท้องถิ่นกลับมาด้วยการลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมีหันกลับไปใช้อินทรีย์วัตถุและยากำจัดศัตรูพืชจากธรรมชาติให้มากขึ้นโดยเฉพาะยางพาราเพื่อลดการพึ่วพาตลาดต่างประเทศควรเร่งวิจัยพันธ์ยางพาราและข้าวที่ให้ผลผลิตสูงขึ้นตลอดจนส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้นโดยรัฐต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยให้ความช่วยเหลือทั้งทางวิชาการและงบประมาณให้เพียงพอต่อความจำเป็นแทนการชี้นำดังเช่นที่ผ่านมาวิธีการเหล่านี้อาจช่วยให้สภาพเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของชาวนาและชาวสวนยางพาราลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลากลับเจิญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้งก็เป็นไปได้

     ผู้ทำ/Author
Nameกิตติ ตันไทย
Organization มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--ปัญหาทางเศรษฐกิจ
ยางพารา
ทะเลสาปสงขลา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
Address:
     Year: 2553
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1743
     Counter Mobile: 41