ชื่อเรื่อง/Title การพัฒนาการผลิตและการตลาดเพื่อเพิ่มรายได้ของเกษตรกร: กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร / The Development of Production and Marketing for Income Generation of Agriculturists : A Case Study of Rubber Plant Agriculturists in Nikhomkhamsoi District of Mukdahan Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพการผลิต การตลาด และการเพิ่มรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร (2) เพื่อศึกษาแนวทางการผลิตการตลาดและการเพิ่มรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่เปิดกรีดแล้วในอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 265 คน จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 155 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นคำถามทั้งแบบปลายปิด แบบปลายเปิดและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุระหว่าง 30-40 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือน 4 คน มีรายได้จากยางพารามากกว่า 100,000 บาท คิดเป็น ร้อยละ 26.45 รองลงมามีรายได้ระหว่าง 50,000 - 60,000 บาท ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 23.87 2. สภาพการผลิตยางพาราเกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่ปลูกยางพาราระหว่าง 10-15 ไร่ มีพื้นที่ที่เปิดกรีดแล้วต่ำกว่า 10 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 43.87 กรีดมาแล้ว สามปี มีแรงงานกรีดยางในครัวเรือน จำนวน 2 คน แรงงานจ้าง จำนวน 1 คน โดยแบ่งค่าจ้างกรีด 60:40 ส่วนใหญ่ปลูกยางพันธุ์ อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 ปุ๋ยเคมีที่ใส่หลังเปิดกรีดยางได้แก่สูตร 30-5-18 แบ่งใส่ 2 ครั้งต่อปี อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี เกษตรกรจะกรีดยางเมื่ออายุ 7 ปี โดยใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้นกรีด 2 วัน เว้น 1 วัน กรีดในช่วงเวลา 01.00-06.00 นาฬิกา และกรีดน้อยกว่า 15 วันต่อเดือน ได้ผลผลิตระหว่าง 301-310 กิโลกรัมต่อไร่ ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 32.90 รองลงมาได้ผลผลิตระหว่าง 291-300 กิโลกรัม และ 281-290 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 21.93 และ 19.35 ตามลำดับ 3. สภาพการตลาดยางพาราเกษตรกรส่วนใหญ่จะขายยางให้จุดรับซื้อยางในอำเภอในรูปยางแผ่นดิบ ราคา 40-50 บาท ต่อกิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 47.09 รองลงมา 51-70 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 30.96 4. การเพิ่มรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหารเกษตรกรจะเพิ่มรายได้โดยการปลูกพืชแซมยางและพืชร่วมยาง พืชที่ปลูก ได้แก่ พืชผัก ข้าวโพด ไม้ดอกไม้ประดับ และหวาย สำหรับการเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง ได้แก่ แพะ และไก่ ส่วนการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ ได้แก่ จิ้งหรีด

The objectives of this study were twofold: (1) to investigate production, marketing and income generation of agriculturists focusing on the rubber plant agriculturists and (2) to examine the means for production, marketing and income generation of the rubber plant agriculturists in Nikhomkhamsoi district of Mukdahan province. The population consisted of 265 rubber plant agriculturists. The sample group included 155 subjects selected by using the simple random sampling method. The sample group size was determined by the table of Krejcie and Morgan. The research instrument was a structured-interview containing close-ended and open-ended questions and a five-scale rating questionnaire. The statistics used in data analysis included percentage, mean and standard deviation. The research findings were as follows: 1. For the demographic features of the sample group, it appeared that the majority of the respondents were found to be male (65.80%) aged between 30-40 years old (43.87%). They mostly obtained primary educational level (42.58%), had four family members (72.90%). The most income from selling rubbers found to be over 100,000 baht (26.45%), 50,000-60,000 baht, and 90,001-100,000 baht (23.87% and 15.48%) respectively. 2. In terms of the rubber production, it was found that the rubber plantation covered an area of 10-15 rais (33.54%). Lower than 10 rais contained matured plants that could yield the rubber tree substance (43.87%). The rubber plants had already yielded the product for three years (38.06%). They had two labors to be responsible for collecting rubber tree substance (92.25%) and only one in each family (52.25%). The wages for collecting rubber plant substance were found to be 60:40 baht. The rubber plants were found to be RRIM 600 (98.06%). One kilogram of fertilizer used with each of the rubber plants per year (97.41%) after their yielding was 30-5-18 formula (98.70%); the fertilizer was used twice a year. Before collecting the rubber substance, the circumference of the rubber plants was measured; if its size was over 50 centimeters (59.35%) and 50 centimeters (36.12%) and the number of matured rubber plants were found to be more than 76 percent (69.03%), aged seven years old (90.32%), the agriculturists would begin to collect the rubber tree substance by making a cut of a half tree surface for two days and paused for one day (88.38%) and by making a cut of a half tree surface for one day and paused for one day (10.96%). The agriculturists used to be trained to make a cut of rubber trees (89.67%). The duration of rubber collecting was between 01.00-06.00 a.m. (52.90%). The agriculturists who had 15 working days were 59.35 percent and those who had between 90-100 days per year were 57.41 percent. The amount of rubber tree substance was found to be 301-310 kilograms per year (32.90%), 291-300 (21.93%), 281-290 kilograms (19.35%), and lower than 280 kilograms (25.80%), respectively. 3. For the marketing of the rubber plants, it was found that most agriculturists sample sold their products at the buying station in the city (72.90%). They sold them in raw rubber materials (63.87%). They could sell their products 16 times a year (72.25%) with the price of 40- 50 baht per kilogram (47.09%), 51-70 baht per kilogram (30.96%), and lower than 40 baht per kilogram (16.12%). 4. An increase of the agriculturists? income was found in their planting of other crops between the rubber trees (2.58%). The crops grown included various types of vegetables (0.64%) and corns (1.93%); planting other crops in the rubber tree plots (2.58%) were also practiced. The crops were flowers (1.93%) and rattan (0.64%). Raising animals in the rubber plantation were also practiced (2.58%); the animals included goat (1.93%) and chicken (0.64%) as well as economic insect, that is, crickets (1.93%).
     ผู้ทำ/Author
Nameบุญมาก พ่ออามาตย์
Organization มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--เศรษฐกิจชุมชน
ยางพารา
     Contributor:
Name: สุรินทร์ หลวงนา
Roles: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Address:
     Year: 2552
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1528
     Counter Mobile: 37