ชื่อเรื่อง/Title การศึกษาแนวทางการพัฒนาการตลาดยางพาราในจังหวัดมุกดาหาร / The Study of the Means to Developing Rubber Marketing in Mukdahan Province
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาแนวทางการพัฒนาการตลาดยางพาราในจังหวัดมุกดาหาร มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดยางพารา และศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการตลาดยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดมุกดาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในจังหวัดมุกดาหาร ที่ปลูกยางให้ผลผลิตแล้ว จำนวน 278 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีของ Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านการผลิตและการตลาดยางพารา เกษตรกรส่วนใหญ่ ถือครองที่ดินทำการเกษตร จำนวน 11 - 20 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 33.81 พื้นที่ปลูกยางพารา จำนวน 5 - 10 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 48.56 พื้นที่ปลูกยางพาราที่ให้ผลผลิตแล้ว จำนวน 6 - 10 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 43.53 เริ่มปลูกยางพาราเมื่อ พ.ศ. 2536 ? 2540 คิดเป็นร้อยละ 49.28 ทำการกรีดยางพาราระหว่างเดือน พฤษภาคม ? กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป คิดเป็นร้อยละ 47.12 ระยะเวลาที่ทำการกรีดยางพารา 8 ? 10 เดือนต่อปี คิดเป็นร้อยละ 85.97 จำนวนวันที่ทำการกรีดยางพารา 101 - 150 วันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 53.96 มีการจ้างแรงงานกรีดยาง คิดเป็นร้อยละ 74.46 ผลผลิตยางพาราที่ผลิตได้ คือยางแผ่นดิบ จำนวน 1 ? 100 กิโลกรัมต่อวัน ส่วนใหญ่ ขายผลผลิตยางพาราให้กับตลาดประมูลยางพาราที่สถาบันเกษตรกรจัดตั้งขึ้น คิดเป็นร้อยละ 74.48 ขายยางพารา 8 - 10 ครั้งต่อปี คิดเป็นร้อยละ 64.03 ขายผลผลิตยางพารา ได้น้อยกว่า 500 กิโลกรัมต่อครั้ง คิดเป็นร้อยละ 79.13 มีการเปรียบเทียบราคาก่อนนำยางพาราไปขาย คิดเป็นร้อยละ 74.46 พิจารณาการขายยางพาราจากปัจจัยด้านราคาก่อนตัดสินใจขาย คิดเป็นร้อยละ 39.57 ขายเป็นเงินสด คิดเป็นร้อยละ 87.05 และเกษตรกรส่วนใหญ่รับรู้ข่าวสารราคายางพาราจากตลาดประมูลยางพาราที่สถาบันเกษตรกรจัดตั้งขึ้น คิดเป็นร้อยละ 36.69 2. ปัญหาอุปสรรคการตลาดยางพารา ด้านผลผลิตยางพารา พบว่า เกษตรกรมีปัญหาในระดับปานกลาง ( = 2.52) การจัดชั้นยางพาราในตลาดซื้อขายในตลาดระดับท้องที่หรืออำเภอ มีปัญหาระดับสูงที่สุด ( = 3.08) ด้านราคายางพารา พบว่า ราคาซื้อขายยางพาราพ่อค้าเร่ในระดับหมู่บ้านหรือตำบล มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.09) ความยุติธรรมในการช่างน้ำหนัก มีปัญหาระดับสูงที่สุด ( = 3.20) ราคาซื้อขายยางพารา ในตลาดระดับท้องถิ่นหรืออำเภอ มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.14) ความยุติธรรมในการชั่งน้ำหนัก มีปัญหาระดับสูงที่สุด ( = 3.36) ราคาซื้อขายยางพาราในตลาดระดับท้องถิ่นหรือจังหวัด มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.29) ความยุติธรรมในการชั่งน้ำหนัก มีปัญหาระดับสูงที่สุด ( = 3.45) ด้านสถานที่หรือช่องทางการจำหน่าย พบว่า เกษตรกรจำหน่ายยางพาราในตลาดพ่อค้าเร่ระดับหมู่บ้านหรือตำบล มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.57) ความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์การตลาด มีปัญหาระดับสูงที่สุด ( = 2.89) ในตลาดระดับท้องที่หรืออำเภอ มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.02) ค่าใช้จ่ายในการขนส่งถึงตลาด มีปัญหาระดับสูงที่สุด ( = 3.17) ในตลาดระดับท้องถิ่นหรือจังหวัด มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.21) ค่าใช้จ่ายในการขนส่งถึงตลาด มีปัญหาระดับสูงที่สุด ( = 3.55) ในตลาดประมูลยางพาราที่สถาบันเกษตรกรจัดตั้งขึ้น มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.39) ความพร้อมของสถานที่และบริเวณ มีปัญหาระดับสูงที่สุด ( = 2.67) ด้านการส่งเสริมการตลาด การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารและการรับรู้ข่าวสาร มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.56) การกระจายของข่าวสารการตลาดยางพาราอย่างทั่วถึง และการให้ข้อเท็จจริงด้านการตลาดยางพาราของผู้ซื้อ มีปัญหาระดับสูงที่สุด ( = 3.02) 3. แนวทางการการพัฒนาการตลาดยางพารา พบว่า เกษตรกรควรพัฒนาศักยภาพการผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณและมาตรฐานคุณภาพผลผลิต การรวมตัวกันจัดตั้งสถาบันเกษตรกร โดยภาครัฐให้การสนับสนุนการพัฒนาผลผลิตและจำหน่ายยางพารา เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิก การเปิดตลาดประมูลยางพาราเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมเหมาะสม และการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้แก่สมาชิกสถาบันเกษตรกร

The objectives of this study were to investigate the state of the production of the rubber and the rubber marketing and to study problems and the means to develop the rubber marketing of agriculturalists in Mukdahan province. A total of 278 agriculturalists who planted rubber trees that have already produced products in Mukdahan province, selected by means of simple random sampling method. The sample size was determined on the basis of the table of Krejcie and Morgan. The research tool included a five-scale rating survey questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The research findings were as follows: 1. For the production of and marketing of rubber, it was found that most agriculturalists possess the land accounting for 11 to 20 rais (33.81%) of the entire land. The rubber plantation fell into 5 to 10 rais (48.56%). The rubber plantation that has already produced the products was 6 to 10 rais (43.53%). The agriculturalists began planting the rubber trees between the year B.E. 2536 to 2540 (49.28%). They cut the rubber trees? bark in May to the next February (47.12%). They spent 8 to 10 months (85.97%) or 101 to 150 days per year (53.96%) in total. Most agriculturalists hired workers to work for them (74.46%). The products included raw rubber sheets accounting for 1 to 100 kilos per day. They sold their products to the auction markets established by the Agriculturalist Organization (74.48%). They mostly sold the rubber products 8 to 10 times per year (64.03%). Those who could sell the products less than 500 kilos per day were 79.13 percent. Those who compared the price before selling were 39.57 percent. Those who sold the products in cash were 87.05 percent. Most agriculturalists learned about the information of rubber price from auction markets (36.69%). 2. For the problems of the rubber marketing, the following results were shown. In terms of the rubber products, the problems were found to be at a moderate level (mean = 2.52) whereas the classification of rubber in the local auction markets were found to be at the highest level (mean = 3.08). Involving the price of the rubber, the problems in price bargaining happened while dealing with mobile traders in the villages or in sub-district markets were found to be at a moderate level (mean = 3.09) in the accuracy in weighing the products at the highest level (mean = 3.20); the rubber price problems in local or district markets were found to be at a moderate level (mean = 3.14) concerning the accuracy in weighing the products at the highest level (mean = 3.36); the rubber price problems in the provincial markets were also found to be at a moderate level (mean = 3.29) involving the accuracy in weighing at the highest level (mean = 3.45). For the place or product distribution channels, it was found that most agriculturalists who sold their products to the mobile traders in the villages or in sub-district markets had problems at a moderate level (mean = 2.57) in terms of the marketing tools found to be the highest level (mean = 2.89). Those who sold their products to the district markets also had problems at a moderate level (mean = 3.02) in relevant to the payment for goods transportation to the markets found to be the highest level (mean = 3.17). The agriculturalists who sold their products to the provincial markets also had problems at a moderate level (mean = 3.21) involving the payment for goods transportation to the markets found to be the highest level (mean = 3.55). Those who sold their products to the auction markets also had problems at a moderate level (mean = 2.56) concerning the readiness of the venues found to be the highest level (mean = 2.67). Regarding the marketing promotion, it was found that the public relations, communications, and received information were found to be problematic at a moderate level (mean = 2.56), information distribution to the agriculturalists including giving facts about rubber markets at the highest level (mean = 3.02). 3. With regard to the means to develop rubber marketing, the agriculturalists should develop the production potential in order to increase the quantity and standard of their products. The establishment of the agriculturalist institutions under the support of the government was also suggested for it will be able to develop and to sell the products including to reduce the cost and increase the purchases and income of the agriculturalists who are the members of the organizations. The open of rubber auction markets that leading to the appropriate justified price should be provided as well as the training of product transformation.
     ผู้ทำ/Author
Nameธเนศ เยื่องกระโทก
Organization มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
ยางพารา
     Contributor:
Name: สุรินทร์ หลวงนา
Roles: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Address:
     Year: 2553
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1062
     Counter Mobile: 28