ชื่อเรื่อง/Title Statistical models for the distribution of fish catch weights and clustering by species with application to songkhla lake / การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางสถิติสำหรับการแจกแจงผลจับสัตว์น้ำโดยน้ำหนัก และการจัดกลุ่มโครงสร้างประชาคมสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลา
     บทคัดย่อ/Abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้ประยุกต์ใช้เเบบจำลองทางสถิติที่เหมาะสมสำหรับการประเมินผลจับสัตว์น้ำ เเละการจัดกลุ่มโครงสร้างประชากรสัตว์น้ำที่สำรวจพบในทำเลสาบสงขลา โดยเเยกการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินภาวะการเปลี่ยนเเปลงของทรัพยากรสัตว์น้ำ พร้อมพัฒนาเเบบจำลองทางสถิติสำหรับการพยากรณ์ผลจับสัตว์ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา การศึกษาในส่วนที่สอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินรูปเเบบการกระจายของผลจับสัตว์น้ำในรอบปีที่จับได้จากเครื่องมือประมงหลักที่ใช้กันมากในทะเลสาบสงขลา พร้อมพัฒนาเเบบจำลองทางสถิติสำหรับการจัดกลุ่มโครงสร้างประชากรสัตว์น้ำโดยจำเเนกตามชนิดสัตว์น้ำ ซึ่งผลการศึกษา ทั้งสองส่วนนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรสตว์น้ำเเละควบคุมการทำประมงในทะเลสาบสงขลาให้มีความสมเหตุสมผล สอดคล้องกับพลวัตรประชากรสัตวืน้ำได้มากยิ่งขึ้น<br /><br /><br /> การศึกษาในส่วนที่หนึ่ง ข้อมูลประกอบด้วยผลรวมของปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ทั้งหมดในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (y/t) ข้อมูลเป็นรายเดือน (t) มีหน่วยเป็นตัน (1,000 กิดลกรัม) จำนวน 360 ข้อมูล หรือ 360เดือน (30ปี) ตั้งเเต่เดือนมกราคม พ.ศ.2520 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2549 ซึ่งผู้วินัยรวบรวมข้อมูลมาจากหน่วยงานในสังกัดกรมประมง 3 เเห่ง คือ สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา สำนักงานประมงจังหวัดพัทลุง เเละสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ผู้วิจัยได้สร้างเเบบจำลองค่าสังเกตที่เเปลงค่าลอกกาลิทึมฐานะรรมชาติ IN(y/t) ซึ่งประกอบด้วยอิทธิพลจากฤดูกาล (เดือนที่ทำการประมง) เเละเทอมของค่า lagged ของผลจับก่อนหน้าสองเดือน โดยผลของการวิเคราะห์ข้อมูลตามเเบบจำลองที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้นมา ให้ค่าสัมประสิทธิ์การอธิบาย (r) เท่ากับ 51% ทั้งนี้ พบว่าค่าสัมประสิทธิ์ของฤดูกาล เเละค่า legged มีนัยสำคัญทางสถิติ เเม้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ (ตั้งเเต่ ปี พ.ศ.2539-2549) ผลจับสัตว์น้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง เเต่ไม่พบความเเตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ของค่าเเนวโน้มในระยะยาว อย่างไรก็ตาม เเบบจำลองนี้ สามารถใช้พยากรณ์ผลจับสัตว์น้ำในระยะสั้น เเละระยะปานกลางได้ นอกจากนี้ผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่าการทำประมงในทะเลสาบสงขลา อาจมีการจับสัตว์น้ำที่เกินกำลังการผลิต อันเนื่องมากจากการมีปริมาณเครื่องมือประมงที่มากเกินไป เเละมีการใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย ดังนั้น จำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มเเข็ง ทั้งด้านนโยบายการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ผสมผสานกันอย่างเป็นระบบ เเละต้องมีเเผนปฏิบัติการในระดับหน่วยงานอย่างเป็นรูปธรรม จึงจะเกิดผลให้ทรัพยากรสัตว์น้ำยั้งยืนได้<br /><br /><br /> ในส่วนที่สอง การศึกษาเพื่อการจัดกลุ่มโครงสร้างประชาคมสัตว์น้ำ โดยจำเเนกตามชนิดสัตว์น้ำที่จับ โดยทั่วไปการจัดกลุ่มชนิดสัตว์น้ำนั้น นิยมใช้เป็นเครื่องมือเเสดงความหลากหลายของชนิดพรรณสัตว์น้ำ เเละเป็นดัชนีชีวภาพบ่งชี้ความอ่อนไหวที่สำคัญของระบบนิเวศน์ทางน้ำ ข้อมูลที่ศึกษาประกอบด้วยประชากร สัตว์น้ำรายชนิด เเละรายเดือนในทะเลสาบสงขลา ที่จับได้จากเครื่องมือประมงหลัก 3 ชนิด คือ โพงพาง ไซนั่ง เเละอวนลอย (ข่าย) ทำการสำรวจเเละบันทึกข้อมูลโดยสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมการประมง ตั้งเเต่เดือนมกรคม พ.ศ.2546 จนถึงเดือนกันยายน 2548 ต่อจากนั้น จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2549 ผู้วิจัยได้สำรวจเเละควบคุมข้อมูลเอง ข้อมูลประกอบด้วยชนิดสัตว์น้ำ จำนวน 127 ชนิด เเบ่งออกเป็นสัตว์น้ำเค็มที่มีกระดูกสันหลัง 53 ชนิด สัตว์น้ำกร่อยที่มีกระดูกสันหลัง 30 ชนิด สัตว์น้ำจืดที่มีกระดูกสันหลัง 21 ชนิด สัตว์น้ำกร่อยที่ไม่มีกระดูกสันหลัง 4 ชนิด สัตว์น้ำเค็มที่ไม่มีกระดูกสันหลัง 18 ชนิด เเละสัตว์น้ำจืดที่ไม่มีกระดูกสันหลัง 1 ชนิด นำข้อมูลดังกลังมาหาค่า eigenvector โดยผลจับสัตว์น้ำนั้น เเยกตามชนิดเเละใช้ตัวเเปรร่วมระหว่างฤดูกาล (ราย 2 เดือน) เเละชนิดของเครื่องมือประมง หลังจากนั้น นำค่า eigenvectorของ 3 กลุ่มเเรก (ซึ่งจัดเป็นองค์ประกอบหลัก) มาสร้างเเบบจำลองถดถอยเชิงเส้นตรงบนพื้นฐานของการเเปลงค่าน้ำหนักผลจับสัตว์น้ำเป็นค่าลอกกาลิทึมฐานธรรมชาติ (เพื่อให้สอดคล้องกับการเเจกเเจงเเบบปกติ) ด้วยการนำชนิดสัตว์น้ำ เเละชนิดสัตว์น้ำ คูณกับค่าองค์ประกอบหลัก เพื่อใช้เป็นตัวเเปรอิสระใช้ในการพยากรณ์จัดกลุ่มประชาคมสัตว์น้ำต่อไป

In this thesis, appropriate statistical methods are developed to describe the magnitude abd distribution of fish catch weights systems using species caught, season of the year, and type of fishing gear as determinants. The clustering patterns of the various species can thus be identified and interpreted. These statistical methods are not new, but do not appear to have used for analyzing fish catch data. There are two parts in this study. The first part uses a conventional statistical model for forecasting the quantity of fish catch in the Songkhla Lake Basin, Thailand. The second part applies to new methods to fish assembage distributions and their catch patterns, with the objective clustering the fish species.<br /><br /> In the first part data comprise total monthly (t) fish catch (y) in tonnes from january 1977 to December 2006. An observation-driven model for log-tranformed catches In(y) contains seasonal effects and lagged terms for the preceding two months, obtaining an r-squared of 51% with both the seasonal and legged coefficients statisticant. Although the catch decreased substantially in later years, no long-term trend was evident. This model can be used for short-term and possibly medium-term fish catch forecasting. In the second part, monthly catch weigths in Songkhla Lake were recorded over the period January 2003 to December 2006 for each of 127 species: 53 marine vertebrates; 30 estuarine vertebrates and one freshwater invertebrate. In the final model, catch weights were aggregated by species and combination of bi-monthly season of year and catching gear (set bag net, trap, or gill net) and log-transformed to remove skewness. A regression model containing three species-season/gear interaction componants was then used to fit these outcomes, giving an r-squared value of 92%. The first component contained most species of estuarine and marine vertebrates as well as some invertebrates. The second component mainly contained freshwater fish and some marine invertebrates. The third component focused on the seasonal fluctuation in catch weight. Two distinctive fish community clusters were found. The dominant cluster contained all marine and estuarine invertebrate. The second cluster included all species of freshwater vertebrates and 11 species of estuarine and marine invertebrates.<br /><br /> Such models can benefit understanding of fish community structure clustering and provide practical information for lake fisheries management. Our findings indicate increasing trends in catches of frashwater fish, while marine invertebrates decreased, possibly signaling that lake fisheries resources need to be relulated. Restricting the number and placement of set bag nets will increase the stocks of all estuarine and marine fish, the blue swimmer crab, acetes, the cross-marked swimming crab, serrated swimming crab, squid, cuttlefish and octopus. Similarly, restricting gill nets should increase stocks of all freshwater fish, and restricting traps should increase stocks of gaint freshwater prawn and all estuarine and marine shrimps.
     ผู้ทำ/Author
NameSarawuth Chesoh
Organization Prince of Songkla University, Pattani Campus. Faculty of Science and Technology
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
--การจัดการศึกษา
ทะเลสาปสงขลา
     Contributor:
Name: ณัฐวิทย์ พจนตันติ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2555
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1503
     Counter Mobile: 47