ชื่อเรื่อง/Title ทัศนคติการบริจาคโลหิตของมุสลิมในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี / The attitude towards blood donation of muslims in Muang district, Pattani province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งรี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบัญญัติอิสลามเกี่ยวกับ การบริจาคโลหิต ระดับ ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและเปรียบเทียบ ทัศนคติการบริจาคโลหิตของมุสลิมในอำเภอ เมือง จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่าง 400 คน จำแนกตามลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจและ สังคม และระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริจาคโลหิต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริจาคโลหิตเป็นสิ่งที่กระทำ ได้ โดยอาศัยหลักการอฎั เฎาะรูเราะฮฺ (ความ จำเป็น) เพื่อช่วยชีวิตหนึ่งให้พ้นจากการทรมานและการเสียชีวิต ต้องมีความมั่นใจว่าไม่เป็นผล อันตรายต่อ ผู้บริจาคทั้ง ทางตรงและทางอ้อมโดยการรับรองจากแพทย์ โลหิตนั้นต้องไม่ติดโรคหรือ ทำให้เกิดโทษต่อมนุษย์ผู้อื่น ผู้บริจาคต้องเป็นผู้ที่บรรลุศาสนภาวะและสติปัญญาสมบูรณ์ 2. กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การบริจาคโลหิตในระดับ สูงมากที่สุด ร้อยละ 87.3 ลงมาความรู้ความเข้าใจในระดับ ปานกลาง ร้อยละ 11.7 และมีความรู้ความเข้าใจ ในระดับ ต่ำ ร้อยละ 1.0 3. กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติการบริจาคโลหิตโดยรวมอยู่ในระดับ เห็นด้วย ( X = 3.57 S.D. = 0.443) ผลการศึกษาทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างในระดับ เห็นด้วย โดยจำแนกตามลักษณะ ทางด้านประชากร เศรษฐกิจ สังคม และจำแนกตามระดับ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การบริจาค โลหิต พบว่ากลุ่มตัวอย่างมทั้ง เพศชายและเพศหญิงอยู่ในช่วงอายุ 17-25 ปี 35-43 ปี 44-52 ปี และ 53-60 ปี มีสถานภาพ โสด สมรส และหม้าย หย่า แยกกันอยู่ เคยมีประวัติการมีโรคประจำตัว และ ไม่มีโรคประจำตัวมีสถานะทางสังคมเป็นทั้ง อิหม่าม คอเต็บและสัปบุรุษ จบการศึกษาระดับ สามัญ และไม่จบการศึกษาสามัญ ต้องแต่ไม่ได้รับการศึกษาสามัญ จนกระทั่งจบปริญญาตรี และจบ การศึกษาศาสนาและไม่จ บการศึกษาศาสนา ตั้งแต่ไม่ได้รับการศึกษาศาสนา จนกระทั่ง จบปริญญา ตรี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อาศัย อยู่ในชุมชนอาเนาะรู ชุมชนจะบังติกอ หมู่บ้านตันหยงลูโละ หมู่บ้านบาราโหม หมู่บ้านปะกาฮะรัง หมู่บ้านรูสะมิ และหมู่บ้านบาราเฮาะ และหมู่บ้านปุยุด และกลุ่มตัวอย่างอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ประกอบอาชีพแม่บ้าน รับจ้าง เกษตรกรรม ค้าขาย ข้าราชการ นักเรียนหรือนักศึกษา และมีรายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 5,000 บาท 5,001-10,000 บาท 20,001-30,000 บาท และ 40,000 บาทขึ้นไป และมีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับ การบริจาคโลหิตในระดับ สูง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีทัศนคติการบริจาคโลหิตในระดับ ไม่แน่ใจ ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 26-34 ปี การศึกษาศาสนาอยู่ใ นระดับษะนะวีย ์ (ชั้น 8-10) และ อาศัยอยู่ในชุมชนสะบารัง หมู่บ้านบานา หมู่บ้านคลองมานิง หมู่บ้านกะมิยอ หมู่บ้านตะลุโบะ และ กลุ่มตัวอย่างงประกอบอาชีพรัฐวิสาหกิจและมีรายได้ต่อ เดือนเฉลี่ย 10,001-20,000 บาท และ 30,001- 40,000 บาท และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การบริจาคโลหิตอยู่ในระดับ ต่ำและปานกลาง 4. เมื่อเปรียบเทียบทัศนคติการบริจาคโลหิตของมุสลิมกลุ่มตัวอย่าง ผลปรากฏว่า มุสลิมที่เป็นเพศชายและเพศหญิง อาย ุ สถานภาพ ประวัติ การมีโรคประจำตัว สถานะทางสังคม จบ การศึกษาสามัญ ลักษณะชุมชนที่อยู่อาศัย และรายได้ของครอบครัวต่างกัน มีทัศนคติการบริจาค โลหิตไม่แตกต่างกัน ส่วนมุสลิมที่มีระดับ การศึกษาศาสนาและชุมชนที่อยู่อาศัย ต่างกัน มีทัศนคติ การบริจาคโลหิตต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 และมุสลิมที่อยู่ในชุมชน ที่อยู่อาศัย อาชีพ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การบริจาคโลหิตต่างกันมีทัศนคติการบริจาคโลหิต แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.01 ตามลำดับ

The purposes of this study were to find out Islamic principle on blood donation and to study the level of knowledge and understanding on blood donation as well as to compare the attitudes toward blood donation of muslims in Muang District, Pattani Province. The sample consisted of 400 people varying in the demographic and socio-economic factors, and the level of knowledge and understanding on blood donation. The data were collected by using questionnaires and were analyzed by using Computer program.The results of the study were as follows :1. The blood donation is permitted according to al-Dorurah Principle(the necessarity) so as to help a life to escape from painfulness and death. The donation didn?t cause any dangers to the donors both directly and indirectly. The donated blood must be without any diseases and harmful to the receivers. And the donors must have religious maturity and normal mental health 2. About the knowledge on blood donation, 87.3 percent of the sample understood it at highest level. 11.7 percent of the sample understood it at moderate level and only 1.0 percent understood it at low level. 3. The sample had positive attitude toward blood donation ( C = 3.57, S.D. = 0.443) When considering the demographic and socio- economic factors as well as the level of knowledge and understanding on blood donation, it was found that the sample with both males and females,with all marital status, with or without congenital diseases, with all social status, with or without educational background at every level, living in these communities : Anoru, Chabangtiko,Tanyonglulo, Barahom, Pagaharang, Rusamilae, Baraho, Pujud, having these occupations:housewife, workers, agriculturists, merchants, government officials, students, having income a month from 5,000 to 10,000 baht and from 20,001 to 30,000 and above 40,000 baht had knowledge and understanding on blood donation at high level .Whereas the sample with the ages between 26-34 years, having Islamic knowledge at Sanawee level (class 8-10) and living in these communities : Sabarang, Bana, Klongmaning, Kamiyo and Talubo had attitude toward blood donation at doubtful level. And the sample working in enterprise sections and having average salary of 10,001-20,000 and 30,001-40,000 baht had the knowledge and understanding on blood donation at low and moderate level. 4. When comparing the attitude of blood donation among the muslim sample,with different genders, ages, marital status, congenital diseases, social status, education background, community features and income, their attitude wasn?t statistically significant at 0.01,whereas the muslim sample with different religion knowledge and communities had statically different attitude at 0.05 level. Besides, muslim sample living in different communities, having different occupations and level of knowledge and understanding on blood donation significantly had statically different attitude at 0.001 and 0.01 level respectively.
     ผู้ทำ/Author
Nameนูรฮายาตี สะอิ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contents
Symbol
Chapter 1
Chapter 2
Chapter 3
Chapter 4
Chapter 5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านศาสนา
--ศาสนากับสังคม
     Contributor:
Name: อับดุลเลาะ การีนา
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2557
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2057
     Counter Mobile: 39