ชื่อเรื่อง/Title ปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (อิสลามศึกษา) ของวิทยากรอิสลามศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดปัตตานี / Problems in Using the Basic Education Curriculum 2001 in Subject Group of Social Studies, Religion and Culture with regard to Islamic Studies of Islamic Secondary School Teachers in Changwat Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (อิสลามศึกษา) ของวิทยากรอิสลามศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปัตตานี 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการใช้หลักสูตร<br /><br /> การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม(อิสลามศึกษา) ของวิทยากรอิสลามศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปัตตานี ที่มีความแตกต่างในด้านเพศ อายุ ประสบการณ์ในตำแหน่ง วุฒิการศึกษาทางศาสนา และวุฒิการศึกษาทางสามัญ 3) เพื่อรวบรวมปัญหา และข้อเสนอแนะ นำเสนอเป็นแนวทางการพัฒนาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 12 คน หัวหน้างานวิชาการ 12 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม คือ วิทยากรอิสลามศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดปัตตานี 178 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม โดยในส่วนของแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาการใช้หลักสูตรขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2544 ในกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (อิสลามศึกษา) ของวิทยากรอิสลามศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดปัตตานี และตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาการใช้หลักสูตรขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2544 ในกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (อิสลามศึกษา) ของวิทยากรอิสลามศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าทดสอบที และค่าทดสอบเอฟผลการวิจัยพบว่า1. วิทยากรอิสลามศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปัตตานีมีปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม(อิสลามศึกษา) ในภาพรวมและรายด้านที่เกี่ยวกับการบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร และ การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรอยู่ในระดับมาก2. การเปรียบเทียบปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544ในกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (อิสลามศึกษา) ตามความเห็นของวิทยากรอิสลามศึกษาที่มีความแตกต่างในด้านเพศ อายุ ประสบการณ์ในตำแหน่ง วุฒิการศึกษาทางศาสนา วุฒิการศึกษาทางสามัญ พบว่า2.1 วิทยากรอิสลามศึกษาที่มีเพศต่างกัน มีปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน2.2 วิทยากรอิสลามศึกษาที่มีอายุต่างกัน มีปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน2.3 วิทยากรอิสลามศึกษาที่มีประสบการณ์ต่างกัน มีปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน2.4 วิทยากรอิสลามศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาทางศาสนาต่างกัน มีปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน2.5 วิทยากรอิสลามศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาทางสามัญต่างกัน มีปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการบริหารหลักสูตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร และด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรไม่แตกต่างกันจากปัญหาดังกล่าวได้รับข้อเสนอแนะจากวิทยากรอิสลามศึกษา คือ ควรกำหนดหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนให้มากขึ้น จัดกิจกรรมนิทรรศการให้ผู้เรียนอิสลามศึกษาได้ศึกษาอย่างเต็มที่ ควรมีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอิสลามศึกษา และควรจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดซื้อเอกสาร หนังสือประกอบการค้นคว้า อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนอิสลามศึกษาที่ทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น<br /><br />

This research aimed at (1) examining Problems in Using the Basic Education<br /><br /> Curriculum 2001 in Subject Group of Social Studies, Religion and Culture with regard to Islamic<br /><br /> Studies of Islamic Secondary School Teachers in Changwat Pattani; (2) comparing problems in<br /><br /> using the Basic Education Curriculum 2001 in Subject Group of Social Studies, Religion and<br /><br /> Culture with regard to Islamic Studies of Islamic Secondary School Teachers in Changwat<br /><br /> Pattani who have different genders, ages, experiences, Islamic general academic education; and<br /><br /> (3) gathering problems and suggestions to be presented as guidelines in development of using the<br /><br /> Basic Education Curriculum 2001 in Secondary School Teachers in Changwat Pattani<br /><br /> The samples of this study were categorized into two groups including 12 high<br /><br /> school directors and 12 heads of the Academic Department for interviews and 178 Islamic studies teachers in Secondary School Teachers in Changwat Pattani for responding to the questionnaire The research instruments were interviewing forms and questionnaires which included three parts: respondent?s background information; questions about problems in using the Basic Education Curriculum 2001 in Subject Group of Social Studies, Religion and Culture with regard t Islamic Studies of Islamic Secondary School Teachers in Changwat Pattani; and open-ended questions about suggestions in development of using the Basic Education Curriculum 2001 in Social Studies, Religion and Culture with regard to Islamic Studies of Islamic Secondary School Teachers. In data analysis was based on percentage, the arithmetic mean, T-test and f-test. The results of the study are as follows: 1) Islamic studies secondary school teachers in Changwat Pattani faced a lot of problems in using the Basic Education Curriculum 2001 in Social Studies, Religion and Culture with regard to Islamic Studies of Islamic Secondary School Teachers in Changwat Pattani as a whole and in aspects of curriculum management, curriculum-based learning management and support and promotion of curriculum implementation. 2) In comparison of Problems in Using the Basic Education Curriculum 2001 in Subject Group of Social Studies, Religion and Culture with regard to Islamic Studies according to Islamic studies teachers in secondary School Teachers in Changwat Pattani who have different<br /><br /> genders, ages, experiences, Islamic education and common education, the analysis indicated the following:<br /><br /> 2.1 Islamic studies teachers of different genders statistical problems in using the Basic Education Curriculum 2001 as a whole and in all aspects. 2.2 Islamic studies teachers of different ages statistical problems in using the<br /><br /> Basic Education Curriculum 2001in one all and in each aspect. 2.3 Islamic studies teachers of different experiences statistical problems in using the Basic Education Curriculum 2001 in one all and in all aspect.<br /><br /> 2.4 Islamic studies teachers of different Islamic education statistical problems in using the Basic Education Curriculum 2001 in one all and in all aspect. 2.5 Islamic studies teachers of different common education statistical problems in using the Basic Education Curriculum 2001 in one all. However, in consideration of each aspect, the difference was found in curriculum management with statistical significance of .05. On the other hand, there were no differences in curriculum-based learning management and support and promotion of curriculum implementation. With respect to problems, the Islamic studies teachers suggested setting curricula be implementation in accord with community?s need, organize activities or exhibitions so that Islamic studies learners can learn Islam fully, develope teaching materials on Islamic studies, and budget for modern learning materials and tools relating to teaching and learning Islamic studies provide for as such, a computer and Internet.
     ผู้ทำ/Author
Nameอับดุลซอมะ โต๊ะอาลิม
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Vitae
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: นิเลาะ แวอุเซ็ง
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2550
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1337
     Counter Mobile: 30