ชื่อเรื่อง/Title สภาพและปัญหาการเรียนการสอนอิสลามศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เขตภาคกลาง / States and Problems of Learning and Teaching Islamic Studies in Lower Secondary Islamic Private Schools in the Metropolitan Region
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพการดำเนินการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เขตภาคกลาง 2) เปรียบเทียบสภาพการดำเนินการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เขตภาคกลาง ตามความเห็นของครูที่มีอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด และประสบการณ์การสอนแตกต่างกัน 3) เปรียบเทียบสภาพการดำเนินการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เขตภาคกลาง ตามความเห็นของนักเรียนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และการศึกษาศาสนาแตกต่างกัน และ 4) ศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เขตภาคกลางกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ คือผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 10 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม คือ ครูอิสลามศึกษาจำนวน 66 คน และ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 355 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการดำเนินการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เขตภาคกลางและตอนที่ 3ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เขตภาคกลาง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าการทดสอบที และค่าการทดสอบเอฟผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เขตภาคกลาง ตามความเห็นของครู พบว่าในภาพรวมและรายด้านมีการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง และตามความเห็นของนักเรียน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทั้งหมด ยกเว้นด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้อยู่ในระดับปานกลาง และด้านสื่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด 2) สภาพการดำเนินการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เขตภาคกลาง ตามความเห็นของครูที่มีอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด และประสบการณ์การสอนแตกต่างกัน มีทัศนะไม่แตกต่างกัน 3) สภาพการดำเนินการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เขตภาคกลาง ตามความเห็นของนักเรียนที่มีเพศ และการศึกษาศาสนาแตกต่างกัน มีทัศนะไม่แตกต่างกัน ยกเว้นนักเรียนที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีทัศนะแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05 4) ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เขตภาคกลาง พบว่า ปัญหาที่พบมากที่สุดคือสื่อการเรียนการสอนอิสลามศึกษามีน้อย ไม่มีความหลากหลาย รวมถึงยังขาดความทันสมัย จากปัญหาดังกล่าวได้รับข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขคือ จัดให้มีการอบรบครูในเรื่องเกี่ยวกับการจัดทำสื่อการเรียนการสอน และควรให้มีองค์กรหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดทำสื่อการเรียนการสอนอิสลามศึกษาพร้อมทั้งแนะนำวิธีการใช้สื่ออย่างถูกต้อง และมีครูบางส่วนแก้ปัญหาการขาดแคลนสื่อโดยการ<br /> สร้างกิจกรรมให้นักเรียนจัดทำสื่อมาประกอบการเรียนการสอน ซึ่งครูเองก็สามารถเก็บไว้ใช้ประกอบการสอนได้

This research aimed at:1) studying states of learning and teaching Islamic studies in lower secondary Islamic private schools in the metropolitan region; 2) comparing states of learning and teaching Islamic studies in lower secondary Islamic private schools in the metropolitan region according to opinions of teachers with different ages, educational background, and teaching experiences; 3) comparing states of learning and teaching Islamic studies in lower secondary Islamic private schools in the metropolitan region according to opinions of students with different sexes, academic and religious educational background; and 4) exploring problems in learning and teaching Islamic studies in lower secondary Islamic private schools in the metropolitan region and proposing guidelines to address them. The samples of this study consisted of two groups. 10 school administrators were purposely selected for interviews and 66 Islamic studies teachers and 355 junior high school students were randomly drawn to respond to questionnaires. The research instruments were<br /> interviewing forms and questionnaires which included three parts: respondent?s background information; states of learning and teaching Islamic studies in lower secondary Islamic private schools in the metropolitan region; and problems and suggestions on how to improve and solve the problems of learning and teaching Islamic studies in lower secondary Islamic private schools in the metropolitan region. Statistics used for data analysis covered percentage, averages, the<br /> arithmetic mean, t-test and F-test.The results of the study were as follows:1) States of learning and teaching Islamic studies in lower secondary Islamic private schools in the metropolitan region, based on teachers? opinions, were found moderately carried out on the overall and individual aspect; and based on students? opinions, found high on the overall and individual aspect with the exception of curriculum and curriculum implementation which was found to be moderate and teaching material which was found to be highest 2) There were no statistical differences in opinions of teachers with different ages, educational background, and teaching experiences on states of learning and teaching Islamic studies in lower secondary Islamic private schools in the metropolitan region. 3) There were no statistical differences in opinions of students with different sexes, and Islamic educational background on states of learning and teaching Islamic studies in lower secondary Islamic private schools in the metropolitan region. However, students with different academic educational background had statistically different opinions towards the states of learning and teaching Islamic studies at the level of .05. 4) With respect to problems and suggestions about learning and teaching Islamic studies in lower secondary Islamic private schools in the metropolitan region, there were main problems of insufficiency of state of the art and modern teaching materials. Hence, there were suggestion that in-service training program be provided to help teachers produce teaching materials and a respective body be established to be responsible for producing teaching materials and giving instructions for appropriate use. However some teachers solved these problems by organizing activities to have students produce teaching materials which could be used for teaching and learning purposes.
     ผู้ทำ/Author
Nameเฉลิมพล และซัน
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
เนื้อหาฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: นิเลาะ แวอุเซ็ง
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2550
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1492
     Counter Mobile: 36