|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)และศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูอิสลามศึกษาโดยเข้าไปสังเกตประสบการณ์จริงในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษางานด้านบริหารและพฤติกรรมของครูอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 40 คน และกลุ่มครูผู้สอนอิสลามศึกษาที่้เป็นกรณีศึกษาจาก 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนอิสลามสันติชน โรงเรียนท่าอิฐศึกษา และโรงเรียนอิสลามศรีอยุธยามูลนิธิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม (2) แบบสังเกตและสัมภาษณ์ พฤติกรรมการสอนของครูอิสลามศึกษา ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จำนวน 8 โรงเรียน โรงเรียนละ 5 ฉบับ รวมเป็น 40 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for window เพื่อหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลจากการสังเกตและสัมภาษณ์ครูอิสลามศึกษานำมาวิเคราะห์โดยใช้การอธิบาย ตีความ สรุปข้อมูล และบรรยายในรูปความเรียง ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาการบรืหารโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ทั้ง 4 ด้านย่อย โดยภาพรวมของการปฎิบัติงานอยู่ในระดับมาก (x=3.55)เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านบริหารวิชาการ ด้านบริหารงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล และด้านบริหารทั่วไป อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ผลการศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูอิสลามศึกษา ทั้ง 4 ด้าน พบว่า 1) พฤติกรรมด้านเทคนิคและวิธีการสอน ครูได้การศึกษษหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร เพื่อจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า ตลอดจนเตรียมจัดหาสื่อการสอนที่เหมาะสม ในการจัดกจิกรรมการเรียนรู้ ผู้สอนได้ทำตามขั้นตอนที่ได้ระบุไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ มีการใช้เทคนิคและวิธีการสอนที่ยังไม่หลากหลายในบางโรงเรียนและบางรายวิชายังคงรูปแบบการสอนแบบบรรยาย แต่สิ่งที่ทั้ง 3 โรงเรียน มีเหมือนกัน นั่นก็คือ การนำรูปแบบการสอนแบบบรูรณามาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งภายในกลุ่มสาระศาสนา และระหว่างกลุ่มสาระอื่นๆ ทั้งได้เน้นการปลูกฝังความรักและศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้า คือ พระองค์อัลลอฮฺ (ซุบบะฮานะฮูวะตะอาอฺลา) 2) พฤติกรรมด้านการใช้สื่อการสอน ครูผู้สอนอิสลามศึกษาใช้สื่อการสอนได้ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์เป็นสื่อสำเร็จรูปและครูได้จัดทำสื่อโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมซึ่งได้จากการสอนบูรณาการผ่านชิ้นงานของนักเรียน 3) พฤติกรรมด้านการจัดบรรยายกาศในชั้นเรียน ครูได้สร้างบรรยากาศให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้และมีความสนุกสนานและเกิดความอบอุ่นเพราะครูได้ใช้การปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ภายในห้องเรียนของบางฌรงเรียนไม่ได้ให้มีการตกแต่งห้องเรียนด้วยป้ายนิเทศหรือผลงานนักเรียนเท่าที่ควร 4) พฤติกรรมด้านการวัดผลและประเมินผล ผู้สอนได้ศึกษาเอกสารรวมทั้งได้รับการอบรมความรู้เพิ่มเติมเรื่องของการวัดผลและประเมินผลจากวิทยากรภายนอก อีกทั้งครูได้ประเมินผลตามสภาพจริงโดยครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย
This research was a Survey Research. The objective of this study was to study the Administration and teaching behavior of Islamic Teachers in Private islamic Schools, of bangkok and Nearby Provinces. The researcher observed real experience in the classroom using descriptive research and interview in order to study administration work and teaching behavior of Islamic Teachers in Private Islamic Schools of Bangkok and near by Provinces. The samples were 40 school administrators and Islamic Teachers Group as a case study from 3 schools The instruments of this study were constructed by the researcher including: (1) Questionnaire for Administrators of Private Islamic Schools, (2) The Observation and Interview Form of teaching behavior of Islamic Teachers. The researcher collected data by herself. The instruments were investigated by the expert before collected. The questionnaires from administrators of 8 private Islamic Schools were collected by the researcher, 5 issues each school, total of 40 issues. Data from questionnaires were analyzed by using SpSS for Window Computer Program to calculate the mean, percentage, and standard deviation. For information from observation and interview Islamic Teachers were analyzed by using descriptive statistic.The researcher findings found that school administration of Private Islamic Schools Administrators, for all 4 sub-aspects the overall of work performance was in "High" level (X=3.55). Considering each aspect including Academic Management Aspect, Budget Management Aspect, Personnel Management Aspect, and General Management Aspect.For the finding of teaching behavior of Islamic Teachers for total of 4 aspects, found that: 1) for Technique and Method of Teaching, the teachers studied curriculum and document for managing learning management plan in advance as well as preparing appropriate media, 2) in teach activity management, the teachers followed the specified steps in learning management plan, 3) there were no various kinds of technique and method ov teaching in some schools, and 4) in some subjects, Lecturing still in sued. But, the common thing of 3 schools was the application of integrated teaching model as one part of learning process management both in Religion Learning Strand Group and among other Learning Strand Groups and focusing on inculcation of love and fatih to gods. For the instructional media behavior, Islamic Teachers used adequate media with content and objective from instant media constructed by teachers and students from integrade teaching though students' work pieces. For behavior of classroom climate management, the teachers used democratic control. Inside classroom, there was not adequate encouragement for decorated classroom by Bulletin or students' performance. For behavior of measurement and evaluation, the teachers studied documents as well as trained for additional knowledge in "measurement and Evaluation" from outside lecturers. The teachers also performed an authentic assessment covering 3 aspects: Cognitive Domain, and Affective Domain. |