|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการบริหารจัดการ ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษา ประชากร คือ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา จำนวน 21 โรงเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูล และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าสถิติ คือ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้<br />
1. สถานศึกษาขั้นพื้นฐานส่วนใหญ่ มีการปฏิบัติการบริหารจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษาทั้ง 7 ภารกิจ คือ การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา การจัดทำหลักสูตรอิสลามศึกษา การวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา การดำเนินการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษา การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลหลักสูตรอิสลามศึกษา การสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตร อิสลามศึกษา และปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษามีเพียงบางภารกิจที่ส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติ คือ ภารกิจที่ 3 การวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา ในเรื่องส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูทำการวิจัยและนำผลมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน<br />
2. สถานศึกษาขั้นพื้นฐานส่วนใหญ่ ไม่มีปัญหาในการบริหารจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษา มีเพียงบางภารกิจที่ส่วนใหญ่มีปัญหา คือ ภารกิจที่ 5 การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลหลักสูตรอิสลามศึกษา และภารกิจที่ 7 ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษา<br />
3. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษา โดยจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับเรื่องหลักสูตร การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ โดยการส่งบุคลากรเข้ารับการอบรม ศึกษาดูงาน ประชุมชี้แจง และจัดหาเอกสารให้ศึกษา จัดให้มีการประชาสัมพันธ์เรื่องหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ จัดระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จัดทำแผนนิเทศภายในและมีการปฏิบัติตามแผน และระดมทรัพยากรโดยการของบประมาณจากทางราชการ และขอบริจาคจากชุมชน
The research aims to study the management and administration, problem and guidelines in solving problems of the management and administration of the Islamic Study Curriculum. The population used in the study were 21 schools where used the Islamic Study Curriculum. The instruments for data collection were a set of recorded information and structured interviews. Data were analyzed by statistical frequency and percentage. The finding indicated that:<br />
1. Most schools performed the Islamic Study Curriculum management and administration comprising 7 missions: readiness preparation, designing Islamic Study Curriculum, planning for curriculum usage, management and administration in performance, curriculum supervision, monitoring, following up and evaluating the curriculum implementation, and curriculum improvement and development. Some missions which most schools did not<br />
perform was the third mission: planning for curriculum usage in supporting and promoting teachers for researching and bringing the finding to the teaching and learning development.<br />
2. Most schools did not have problems in the Islamic Study Curriculum management and administration. Only some schools had problems in some missions, especially the fifth mission: curriculum supervision, monitoring, following up and evaluating the curriculum, and the seventh mission: curriculum improvement and development.<br />
3. The schools had guidelines in solving problems by developing their personnel in curriculum, information and communication system by training, observing, arranging meeting, providing documents. The curriculum had been done with public relation. The internal quality assurance system planning and implementing of supervision were set. Resources were gathered by request from government budget and community donation. |