|
บทคัดย่อ/Abstract |
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการส่งเสริมการสอนวิชาอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกระบี่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการโรงเรียน และวิทยากร/ครุสอนวิชาอิสลามศึกษา จำนวน 189 คน จากโรงเรียนที่เปิดสอนวิชาอิสลามศึกษาทั้งหมด 63 โรงเรียน แบบสอบถามผู้วิจัยสร้างขึ้น และเก็บข้อมูลด้วยตนเอง เป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์ 171 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.48 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /><br />
ผลการวิจัยปรากฏว่า สภาพการส่งเสริมการสอนวิชาอิสลามศึกษาในด้านต่างๆ ได้เเก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคคลากร ด้านอาคารสถานที่ และด้านสัมพันธ์ชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง เว้นเเต่กิจกรรมอยู่ในระดับมาก ถ้าพิจารณาอันดับสูงสุดแต่ละด้านมีดังนี้ คือ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของหลักสูตร จัดทำเเผนงาน/โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ให้ความช่วยเหลือเมื่อวิทยากร/ครูผู้สอนพบปัญหาปุปสรรคในการทำงาน จัดห้องละหมาดหรือจัดสถานที่ให้นักเรียนได้ละหมาด นำนักเรียนเข้าร่วมกับชุมชนประกอบพิธีทางศาสนาในวันสำคัญ และจัดอาหารที่ไม่ขัดกับคำสอนของอิสลาม ส่วนปัญหาการส่งเสริมการสอนวิชาอิสลามศึกษาด้านต่างๆ ได้เเก่ ด้านวิชาการ ด้านกิจกรรม ด้านบุคคลากร และด้านสัมพันธ์ชุมชนอยู่ในระดับน้อย เว้นเเต่ด้านงบประมาณและอาคารสถานที่อยู่ในระดับปานกลาง ถ้าพิจารณาอันดับสูงสุดของเเต่ละด้านมีดังนี้ คือ ปัญหาการส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักในศรัทธา ซาบซึ้ง และมีจิตสำนึกในความสำคัญและคุณค่าของอิสลาม ปัญหาการติดตามปลการปฏิบัติจากพฤติกรรมการเเสดงออกของนักเรียน ปัญหาการจัดหาผู้สอนที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ปัญหาช่วงเวลาที่ผู้เรียนจะเข้าประกอบพิธีทางศาสนา ปัญหาการจัดของบประมาณ และปัญหาการจัดให้มีห้องเรียนเฉพาะวิชาอิสลามศึกษา
The purposes of the research were to study state and problems of Islamic education in primary schools under the Krabi Provincial Primary Education Office. The population were principals, acdemic teachers, Islamic teachers for a total of 189 from 63 school teaching Islamic education. The research instrument was a specially designed questionnaire. Usable returns of 171, or 90.48 per cent were analyzed in terms of percentage, mean score and standard deviation.<br />
The results indicated that promotion of Islamic education on five aspects as follows: academic, budgeting, personel, building, and community relations were at the moderate level, but was at the high level on the activities aspect. Considering the highest items of individual aspects, they were as follows: organizing instructional activities in accordance with the puposes of the curriculum; writing plans and projects for budget supporting; helping with resources and teachers whenever they faced problems, providing rooms for lamad or arranging places for student' to lamad; taking students to participate in important religion holidays; and providing food unprohibited by Islamic teaching. respectively. Problems in promotion of Islamic education instruction in the areas of budgrting, and building, which were as follows: promoting students to realize in fatih appreciation and consciousness in the importance and values of Islam; following student behaviors; providing qualified teachers as required by the Ministry of Education; allocation time for participation in religious activities; providing budget, and finding rooms for Islam studies, respectively. |