ชื่อเรื่อง/Title การประเมินหลักสูตรอิสลามศึกษาภาคฟัรฎูอัยนฺ ประจำมัสยิด ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา) จังหวัดสตูล / An evaluation of Islamic study curriculum fardre-een in Musjid center of Islamic study in Musjid (TADIKA) Satun Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นประเมินการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาภาคฟัรฎูอัยนุ ประจำมัสยิดในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) จังหวัดสตูล ในองค์ประกอบด้านบริบท ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิตของการใช้หลักสูตร รูปแบบการประเมินการวิจัยครั้งนี้ใช้กรอบสิ่งที่มุ่งประเมินตามแบบจำลองซิปป์ ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม รวมกับการประเมินแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วย ผู้บริหารจำนวน 122 คน ครูผู้สอน จำนวน 279 คน นักเรียน จำนวน 366 คน ผู้เเทนชุมชน จำนวน 122 คน คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด จำนวน 122 คน คณะกรรมการนิเทศเเละติดตามผลการดำเนงาน จำนวน 10 คน คณะกรรมการจัดทำหลักสูตร จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาภาคฟัรฎูอัยนุ ประจำมัสยิด แบบสอบถามการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาภาคฟัรฎูอัยนุ ประจำมัสยิด แบบสัมภาษณ์การใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาภาคฟัรฎูอัยนุ ประจำมัสยิด แบบรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามจุดหมายของหลักสูตร โดยใช้เกณฑ์ที่ผู้เชี่ยวชาญกำหนดเป็นเกณฑ์ในการประเมินเฉลี่ย เท่ากับ 3.10 คะเเนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 เเละจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของนักเรียนทั้งหมด ผลการประเมินพบว่า องค์ประกอบด้านบริบท จุดหมายของหลักสูตรผ่านเกณฑ์จุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับความต้องการของชาวไทยมุสลิม ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้นักเรียนได้มีความรู้และเข้าใจหลักการของศาสนาอิสลาม เป็นการศึกษาเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ และนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน แต่โครงสร้างของหลักสูตร เนื้อหาสาระและกระบวนการจัดการเรียนการสอน ไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากบุคลากรยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักสูตรเท่าที่ควร ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง องค์ประกอบด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ความพร้อมและความเหมาะสมของครู ผ่านเกณฑ์ ครูมีความพร้อม มีวุฒิความรู้ความสามารถ ความถนัดเเละเหมาะสมในเเต่ละสาระการเรียนรู้ ครูมีเจตคติที่ดีในการทำงานและประพฤติปฏิบัติตนเป็นเเบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน แต่ความพร้อมและความเหมาะสมของนักเรียน ปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนการสอนเเละการบริหารหลักสูตรไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากนักเรียนบางส่วนยังไม่มีความกระตือรือร้นและความตั้งใจในการเรียน ปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนการสอนเเละการบริหารหลักสูตรจะเห็นว่าขาดความพร้อมในทุกด้าน ทั้งทางด้านงบประมาณ ความพร้อมของเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน เเหล่งเรียนรู้ อาคารประกอบห้องเรียน สถานที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง องค์ประกอบด้านกระบวนการ พบว่า การวัดเเละประเมินผลการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์ มีการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจและสติปัญาได้เหมาะสมกับวัย ผู้เรียนสามารถนำไปพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง กระบวนการในการจัดการเรียนการสอนของครุ ไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากครูขาดการอบรมและพัฒนาทำให้ไม่สามารถที่จะพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ การบริหารหลักสูตรพบว่า ไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากการมีส่วนร่วมในหลักสูตรของผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องยังมีน้อย ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง องค์ประกอบด้านผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์ มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของศาสนาอิสลาม และสามารถปฏิบัติตามหลักการของศาสนาโดยนำไปใช้มนชีวิตประจำวัน มีการปลูกฝังและแก้ไขข้อบกพร่องด้านคุณธรรมจริยธรรมในกระบวนการจัดการเรียนการสอน ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คะเเนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 77.60

     ผู้ทำ/Author
Nameซูใบด๊ะ นิยมเดชา
Organization มหาวิทยาลัยทักษิณ
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: เรวดี กระโหมวงศ์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยทักษิณ
Address:
     Year: 2551
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1995
     Counter Mobile: 32