ชื่อเรื่อง/Title ความคิดเห็นของครูสอนอิสลามศึกษาต่อการใช้หลักสูตร และปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพอิสลามศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณี : โรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส / The opinion study of Islamic teachers towards problems and implementation of Islamic curriculum : case study in primary school in Yingo District, Narathiwat Province
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาเรื่อง ความคิดเห็นของครูสอนอิสลามศึกษาต่อการใช้หลักสูตร และปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนวิชาอิสลามศึกษา ศึกษาเฉพาะกรณี : โรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูสอนอิสลามศึกษาต่อการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2537) ในโรงเรียน เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูสอนอิสลามศึกษา ต่อปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียน เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูสอนอิสลามศึกษา ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา และการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาในโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มครูสอนอิสลามศึกษาจำนวน 12 คน มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เชิงคุณภาพสรุปบรรยายเป็นความเรียง พบว่า ผู้สัมภาษณ์เป็นเพศชายเเละเพศหญิง ยกเว้นในกลุ่มวิทยากรอิสลามศึกษาจะเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่า 35-40 ปี ปฏิบัติงานในอาชีพ ตำเเหน่ง ระดับ ส่วนใหญ่ รับจ้าง ตำเเหน่งวิทยากรอิสลามศึกษา วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ประสบการณ์การทำงานเป็นระยะเวลา 22 ปี ผลการศึกษาความคิดเห็นของครูสอนอิสลามศึกษาต่อการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2537) 1. ความรู้ความเข้าใจต่อหลักสูตรและการนำไปใช้ พบว่า กลุ่มครูสอนอิสลามมีความรู้ ความเข้าใจ ต่อหลักสูตรอิสลามศึกษาและการนำไปใช้ในด้านจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์เนื้อหาในหลักสูตรอิสลามศึกษาสามารถให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน และสามารถปฏิบัติศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม 2. ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า กลุ่มครูสอนอิสลามศึกษามีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่อหลักสูตรอิสลามศึกษาที่เหมาะสมกับวัยวุฒิภาวะระดับประถมศึกษาโดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลาวิธีเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน 3. ด้านเนื้อหาของหลักสูตร พบว่า กลุ่มครูสอนอิสลามศึกษาด้านเนื้อหาของหลักสูตร มีความสอดคล้องเหมาะสมกับเเนวคิดอิสลามศึกษาและตามสภาพท้องถิ่น 4. การเรียนรู้ของเด็กต่อหลักสูตร พบว่า การเรียนรู้ของเด็กต่อหลักสูตรตามรายวิชามีความเหมาะสมดี เพราะผู้เรียนได้เรียนรู้ เกิดทักษะในกระบวนการ 5. ความสอดคล้องเหมาะของหลักสูตรกับสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า หลักสูตรอิสลามศึกษาเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน คือ มุ่งให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติด้วยตนเองและฝึกปฏิบัติจริง เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 6. คุณค่าประโยชน์ที่เด็กเเละชุมชนได้รับ พบว่า เด็กจะได้รับคุณค่าจากหลักสูตรอิสลามศึกษาสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมเป็นเยาวชนที่ดีของสังคมและประเทศชาติ 7. การบริหารจัดการหลักสูตรในโรงเรียน พบว่า การบริหารหลักสูตรในโรงเรียนมีประสิทธิเท่าที่ควรเนื่องจากขาดการประเมินผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้นิเทศ 8. การพัมนาคุณภาพของครูผู้สอน พบว่า หลักสูตรอิสลามศึกษามีเเนวทางในการพัฒนาของครูผู้สอนอิสลามศึกษา โดยได้รับการอบรม ประชุม สัมมนา และศึกษาดูงาน ผลการศึกษาความคิดเห็นของครูสอนอิสลามศึกษาต่อปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียน 1. อุปสรรคด้านคุณภาพการเรียนการสอน พบว่า หลักสูตรอิสลามศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่6 ควรปรับปรุงหลักสูตรอิสลามศึกษาให้เหมาะสมกับวัยวุฒิภาวะของผู้เรียน 2. อุปสรรคด้านคุณภาพการเรียนการสอน พบว่า ด้านการเตรียมการสอนน้อยไม่มีเวลาเตรียมการเรียนการสอน ขาดความรู้ในการเตรียมการสอน ด้านเอกสารที่ใช้ในการประกอบการศึกษา ขาดการนิเทศติดตามผลการสอนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องจากผู้เชี่ยวชาญ 3. ด้านสถานที่ พบว่า ด้านสถานที่ประกอบศาสนกิจในโรงเรียนและห้องเรียนไม่เพียงกับจำนวนเด็กนักเรียน 4. ด้านทรัพยากรที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ สื่ออุปกรณ์ พบว่า ด้านการใช้สื่อวุสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา 5. ด้านบุคลากร พบว่า บุคลากรทางการศึกษาปัจจุบันควรมีการอบรมศึกษาดูงานและต้องการในการพัฒนาสวัสดิการ เช่น ค่ารักษาพยาบาล 6. การจัดการเรียนการสอนในตัวเด็กนักเรียนและการมีส่วนร่วมของครอบครัว พบว่า ครูสอนอิสลามศึกษาต้องให้ความสนใจต่อเด็กนักเรียน และต้องมีส่วนร่วมกับผู้ปกครองนักเรียน 7. ด้านสังคมและชุมชน พบว่า สังคมและชุมชน ควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ เช่น งานอาซูรอ งานเมาลิด งานเข้าสุนัต

     ผู้ทำ/Author
Nameซารีนา เจ๊ะหะ
Organization มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: สมบุญ จารุวรรณ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Address:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
     Year: 2546
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1499
     Counter Mobile: 35