|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
การพัฒนาเครื่องมือประเมินตามสภาพจริง วิชาอิสลามศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / The development of instruments for authentic assessment of the course Islamic studies in the learning substance of social studies, religion, and culture for primary Grade 6 |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการพัฒนาเครื่องมือประเมินตามสภาพจริง วิชาอิสลามศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยหาคุณภาพของเครื่องมือ และสร้างคู่มือการใช้ เครื่องมือที่พัฒนาประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความสามารถจริง3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 ความเข้าใจในความคิดรวบยอดทางอิสลามศึกษา ฉบับที่ 2 ความสามารถในทักษะการปฏิบัติ และฉบับที่ 3 ความสามารถในการให้เหตุผล แบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกในการเรียนรู้ ด้านความสนใจใฝ่รู้ ความรับผิดชอบ ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มและแฟ้มสะสมงาน ใช้กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จากนักเรียนระดับชั้น<br />
ประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2548 ของโรงเรียนเทศบาล 5 บ้านตลาดเก่า สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 200 คน<br />
ผลการศึกษาพบว่า ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบทดสอบวัดความสามารถจริง ทั้ง 3 ฉบับ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับคุณลักษณะ รวมทั้งเกณฑ์การให้คะแนน มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ถึง 1.00 ความยากง่ายรายข้อตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.71 อำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.64 ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาทั้ง 3 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.65 0.75 และ 0.96 ตามลำดับ ความเชื่อมั่นของเกณฑ์การให้คะแนน โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ทั้ง 3 ฉบับ โดยผู้ตรวจให้คะแนน 2 คน มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 0.96 และ 0.98 ตามลำดับ แบบสังเกต มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความสอดคล้อง มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 ทั้งหมดความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัคทั้ง 3 ด้าน มีค่าความเชื่อมั่น 0.72 0.72 และ 0.72 ตามลำดับ ความเชื่อมั่นของเกณฑ์การให้คะแนน โดยผู้สังเกต 2 คน ใช้สูตรสหสัมพันธ์ของเพียร์สันทั้ง 3 ด้าน มีค่า 0.70 0.89 และ 0.86 ตามลำดับ ความเที่ยงตรงตามสภาพของแฟ้มสะสมงาน โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสอบของแบบทดสอบวัดความสามารถจริง กับ คะแนนแฟ้มสะสมงานของนักเรียน ได้ค่าเท่ากับ 0.95ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ความเชื่อมั่นของเกณฑ์การให้คะแนนโดยใช้สูตรสหสัมพันธ์เพียร์สัน ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.97 ความเชื่อมั่นของเกณฑ์การให้คะแนนของนักเรียนตามทฤษฎีการสรุปอ้างอิงทางการทดสอบ เท่ากับ 0.95
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | สมาน บิลละเต๊ะ | Organization | มหาวิทยาลัยทักษิณ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
อิสลามศึกษา
|
|
Contributor: |
Name: |
เรวดี กระโหมวงศ์ |
Roles: |
ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ |
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยทักษิณ | Address | : | |
|
|
Year: |
2549 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
1260 |
|
Counter Mobile: |
40 |
|