ชื่อเรื่อง/Title การศึกษาสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งนำมาสู่การประยุกต์สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมของเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ / Study of the Unrest Situation in 3 Border Southern Provinces of Thailand and Applying the Incidents to Creative Art Works by the Secondary School Students in 3 Border Southern Provinces
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายเเดนภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งนำมาสู่การประยุกต์สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมของเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาใน 3 จังหวัดชายเเดนภาคใต้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้เเก่ ผลงานจิตรกรรมสีโปสเตอร์หัวข้อ ทำอย่างไรให้ "ใต้ร่มเย็น" ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดปัตตานียะลาและนราธิวาส จำนวน 60 ภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ผลงานจิตรกรรมสีโปสเตอร์หัวข้อ ทำอย่างไรให้ "ใต้ร่มเย็น"และการวิเคราะห์ผลงานศิลปกรรมด้วยวิธีการวิจารณ์ผลงานศิลปกรรมของจีน เอ มิทเลอรื ตั้งเเต่วันที่ 4 มกราคม 2547 จากการปล้นปืนกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส อันมีปืนไรเฟิล 400 กระบอก ปืนพก 20 กระบอก ปืนกล 2 กระบอก ได้เกิความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายเเดนภาคใต้มาตลอด เป็นเหตุการณ์รุนเเรงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ ได้เเก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยมีเหตุการณ์ลอบทำร้าย ลอบวางเพลิง วางระเบิด ก่อการร้ายเเละจลาจล เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการเเพร่ภาพเป็นข่าวไปทั่วดลก จนถึงปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิเคราะห์เนื่องจากประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาใน 3 จังหวัดภาคใต้ที่ทุกคนได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบในภาคใต้ จึงได้เเสดงความคิดเห็นผ่านงานศิลปะในเเง่มุมเเตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความคิดเห็นของตนเอง ภาพส่วนใหญ่มีการจัดภาพแบบสมดุลแบบสองข้างไม่เหมือนกัน (Assymmetrical Balance) จุดเด่นเป็นธงชาติไทย ภาพส่วนใหญ่สีกลมกลืนในวรรณะเย็น (Cool Tone) ภาพส่วนใหญ่มีเอกภาพเพราะมีความกลมกลืนกันของสีและรูปทรง ผลงานของนักเรียนมัธยมศึกษาใน 3 จังหวัดชายเเดนภาคใต้เชื่อว่าเหตุความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้จะสงบลงได้เพราะ มีความสามัคคี (51ชิ้น) ศรัทธาในศาสนาที่ตนนับถือ (46ชิ้น) จิตใจใฝ่หาความสันติสุข (36ชิ้น) พระบารมีของในหลวง (24ชิ้น) รักวิถีชีวิตชาวใต้ (13ชิ้น) รักชาติ (11ชิ้น)

The purpose of this research is to study the unrest situation in 3 border southern provinces of Thailand and applying the incidents to creative art work by the secondary school students in 3 border southern provinces. Researcher studied and analysised the works of art according to criticism theory of Jean A. Mitler. The populations of this research are 60 poster paintings in the title how to make "peace in the south" by the secondary school students in Pattani, Yala and Narathivas.From 4 January 2004, at Khongpon Pattani Camp 4, Krom Luang Narathiwasratchanakarin Camp, Ampor Johhirong, Narathiwas, 40 rifles 20 pistols and 2 machine guns were robbed. The violence unrest situation in three border southern provinces of Thailand, Pattani Yala and Narathiwas, such as ambush, atealthilying commits arson, atealthilying bombs, rebellion, and riot, happened everyday, until now.The research finding revealed that all of the secondary school students in 3 border southern provinces have different effected from of the unrest situation in 3 border southern provinces of Thailand, expressed different issues in their works of art, according to their experiences and their own opinions. The art composition of the most paintings are asymmetrical balance. The dominance of most paintings are national Thai flags. Most of paintings are hamonious in cool tone and are of a good unity because hamonious of colors and forms.The research finding also revealed that art works by the secondary school students in 3 border southern provinces believed that the rest situation in 3 border southern provinces of Thailand will not occur in the near future if we have unity (51), respected in their own religions (46), looking for peace. (36), prestige of the King (24) and love ways of life in the south of Thailand (13). And patriotic (11).
     ผู้ทำ/Author
Nameวุฒิ วัฒนสิน
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
งานวิจัยฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--ปัญหาทางสังคม
ศิลปะและวัฒนธรรม
--จิตรกรรม
--สตรีเด็กและเยาวชน
     Contributor:
Name: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Roles: ผู้สนับสนุนทุนวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2555
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 1401
     Counter Mobile: 30