ชื่อเรื่อง/Title การมีส่วนร่วมทางการเมืองของคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) ในจังหวัดปัตตานี / The Political Participation of Village Woman Development Committee In Changwat Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) ในจังหวัดปัตตานีทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของพรรคการเมือง การเป็นผู้มีบทบาทในชุมชน การติดต่อกับทางราชการ และการเป็นผู้สื่อสารทางการเมือง 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.)ตามตัวแปรอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส การนับถือศาสนา การรับรู้ข่าวสารทางการเมือง และ 3) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.)ในจังหวัดปัตตานี<br /> <dd>กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.)ในจังหวัดปัตตานีจำนวน 374 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบเอฟ <br /> <dd>ผลการวิจัยพบว่า<br /> <dd>1. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.)ในจังหวัดปัตตานีโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนรายด้านคือ ด้านการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอยู่ในระดับสูง ด้านการเป็นผู้มีบทบาทในชุมชน ด้านการเป็นผู้สื่อสารทางการเมือง ด้านการติดต่อกับทางราชการอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของพรรคการเมืองอยู่ในระดับต่ำ<br /> <dd>2. คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) ในจังหวัดปัตตานี ที่มีอายุต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวมไม่แตกต่างกัน และด้านการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของพรรคการเมือง ด้านการเป็นผู้สื่อสารทางการเมืองไม่แตกต่างกันเช่นเดียวกัน แต่ด้านการติดต่อกับทางราชการ ด้านการเป็นผู้มีบทบาทในชุมชน ด้านการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ<br /> <dd>3. คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.)ในจังหวัดปัตตานี ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวมไม่แตกต่างกัน และด้านการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของพรรคการเมือง ด้านการเป็นผู้มีบทบาทในชุมชน ด้านการติดต่อกับทางราชการ ด้านการเป็นผู้สื่อสารทางการเมืองไม่แตกต่างกันเช่นเดียวกัน แต่ด้านการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัยทางสถิติ<br /> <dd>4. คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.)ในจังหวัดปัตตานี ที่มีอาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวม และรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน<br /> <dd>5. คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.)ในจังหวัดปัตตานี ที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวม และรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน<br /> <dd>6. คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) ในจังหวัดปัตตานี ที่มีสถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และด้านการเป็นผู้มีบทบาทในชุมชน ด้านการติดต่อทางราชการ ด้านการเป็นผู้สื่อสารทางการเมืองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน แต่ด้านการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ด้านการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของพรรคการเมืองไม่แตกต่างกัน<br /> <dd>7. คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) ในจังหวัดปัตตานี ที่นับถือศาสนาต่างกันมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวมไม่แตกต่างกัน และด้านการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ด้านการติดต่อกับทางราชการไม่แตกต่างกันเช่นเดียวกัน แต่ด้านการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของพรรคการเมือง ด้านการเป็นผู้มีบทบาทในชุมชน ด้านการเป็นผู้สื่อสารทางการเมือง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ<br /> <dd>8. คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.)ในจังหวัดปัตตานี ที่รับรู้ข่าวสารทางการเมืองต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และดานการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ด้านการเป็นผู้มีบทบาทในชุมชน ด้านการเป็นผู้สื่อสารทางการเมือง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัยทางสถิติเช่นเดียวกัน แต่ด้านการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของพรรคการเมือง ด้านการติดต่อกับทางราชการไม่แตกต่างกัน

The research had 3 objactives. The first was to study the level of the political participation of the Village Woman Development Committee in Changwat Pattani in 5 aspects : vote casting, participating political parties' activities, playing roles in the communities, having contacts with governmental organizations, and being political communicators. The second was to compare the committee's political paticipation based on such variables as age, level of education, occupation, income, marital status, religion, and exposure to political information. The third was to study the committee's problems and suggestions concerning their political participation.<br /> The subjects of this research were 374 members of the Village Woman Development Committee in Changwat Pattani, chosen from the population of 667 people throught Multi-stage Random Sampling. The instruments were 5-scale rating questionnaires to measure the level of their political participation and open-ended questions about problems in their political participation. Percentage, arithmetic means, standard deviation, t-test, F-test, and Scheff's method were used for data analysis.<br /> The findings were as follows:<br /> 1. The overall political participation of the Village Woman Development Committee in Changwat Pattani was at a moderate level. Their vote casting was at a high level. Their role playing in the communities, being political communicators and having contacts with governmental organizations were at a moderate level. Their participating in political parties' activities was at a low level.<br /> 2. The Village Woman Development Committee of different age droups did not show a difference in their overall political participation. Neither did they in participating in political parties' activities, and in being political communicators. Nevertheless, in having contacts with governmental organizations, playing roles in the communities, and vote casting, they showed a difference at a statistically significant level.<br /> 3. The Village Woman Development Committee with different levels of edocation did not show a difference in their overall political participation. Neither did they in participating in political parties' and being political communicators. Nevertheless, in vote casting they showed a difference at a statistically significant level.<br /> 4. The Village Woman Development Committee of different occupations showed no difference in their overall political participation and in all aspects.<br /> 5. The Village Woman Development Committee with different monthly salaries showed no difference in their overall political participation and in all aspects.<br /> 6. The Village Woman Development Committee of different marital status showed a difference in their overvall statistically at a significant level. So did they in playing role communicators. Nevertheless, in vote casting and participating parties' activities they showed no difference.<br /> 7. The Village Woman Development Committee of different religious faiths did not show a difference in their overall political particition. Neither did they in vote casting and having contacts with governmental organization. Nevertheless, in participating in political parties' activities, playing roles in communities, and being political communicators, they showed a difference at a statistically significant level.<br /> 8. The Village Woman Development Committee with different exposure to political information showed a difference at a statistically significant level in overall political participation. So did they in vote casting, playing roles in communities, and being political communicators. Nevertheless, they showed no difference in participating in political parties' activites and having contacts with governmental organizations.
     ผู้ทำ/Author
Nameปิยะฉัตร พึ่งเกียรติรัศมี
Organization บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วิธีการวิจัย
บทที่ 3 ผลการวิจัย
บทที่ 4 การอภิปรายผลการวิจัย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการเมืองการปกครอง
--การมีส่วนร่วมทางการเมือง
     Contributor:
Name: ปราณี ทองคำ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2547
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 6352
     Counter Mobile: 39