|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
บทบาทและการพัฒนาศักยภาพการบริหารการศึกษา โดยเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดชายแดนภาคใต้ / Roles and Development of Educational Administration of the Educational Service Area Offices in Southern Provinces |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
การบริหารการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพการศึกษาในจังหวัดชายเเดนภาคใต้เป็นปัญหาที่สำคัญเร่งด่วนในการพัฒนาสังคมคุณภาพชีวิตของคนในจังหวัดชายเเดนภาคใต้ปัจจุบัน โดยเฉพาะการหาเเนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสังคมในพื้นที่ชายเเดนภาคใต้ ขณะเดียวกันด้านทรัพยากรทางการศึกษาที่มีอยู่จำกัดมาก แต่กระจัดกระจายอยู่ตามท้องที่ต่างๆตามสังกัดของรัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถาบันทางศาสนาโดยไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ยังคงขาดการบูรณาการและการใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างมีเอกภาพ วัตถุประสงค์การวิจัยจึงได้ทบทวนบทบาทการจัดการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพของเขตพื้นที่การศึกษาในการเเก้ปัญหา ตลอดจนศึกษาการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายเเดนภาคใต้ การสนับสนุนของชุมชน ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการบริหารการศึกษาให้เป็นไปตามการจัดการศึกษาของชาติ ผลการวิจัย พบว่า ในด้านการบริหารโครงสร้างระดับเขตพื้นที่การศึกษา ปัจจุบันการจัดการศึกษาในจังหวัดชายเเดนภาคใต้ภายใต้โครงสร้างของการกระจายอำนาจการบริหารเขตการศึกษามีการจัดการศึกษาตามระเบียบบริหารราชการส่วนการศึกษาอย่างบูรณาการ ประสานเชื่อมโยงกันโดยใช้การบริหารงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นศูนย์กลาง ในจังหวัดชายเเดนภาคใต้สามจังหวัดจะมีเขตพื้นที่การศึกษาการะจาย 3 เขตพื้นที่ให้ครอบคลุมกับการบริหารและการขยายโอกาสทางการศึกษาของเยาวชน ปัญหาสำคัญของการบริหารโครงสร้างระดับเขตพื้นที่การศึกษาคือ ความพร้อมด้านการบริหารเขตพื้นที่การศึกษาในเขตการศึกษาในเขตพื้นที่ที่ห่างไกลโดยเฉพาะในเขตพื้นที่การศึกษา 3 ปัญหาด้านการนิเทศติดตามในโรงเรียนเอกชน เพื่อประเมินนิเทศตามหลักสูตรปัญหาด้านการบูรณาการระหว่างเขตพื้นที่ ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้พยายามปรับปรุงโดยการสร้างศูนย์เขรือข่ายในการสร้างความร่วมมือในการจัดการศึกษานิเทศก์ ติดตามผลในพื้นที่ห่างไกล เเนวทางการปรับปรุงโครงสร้างพิเศษในการประสานงานระหว่างเขตการศึกษาและการกำกับติดตามของกระทรวงส่งเสริมความเข้มเเข็งในการดูเเลโรงเรียนเอกชนซึ่งเป็นโรงเรียนส่วนใหญ่ในพื้นที่ การพัฒนาระบบข้อมูลการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษาจังหวัดชายเเดนภาคใต้ เช่นการสร้างศูนย์ข้อมูลการศึกษาจังหวัดชายเเดนภาคใต้ การติดตามนิเทศและรายงานการจัดการศึกษาอย่างรอบด้าน การส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ในการศึกษาทั้งในเเละต่างประเทศ ตลอดจนการใช้ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานของการพัฒนาความรู้และการมีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะในการจัดการศึกษา
The educational administration for educational potentail development in southern border provinces was important and exigent problem to enhance a beter quality of life of local people, especially to find a suitable education reform for the people in these areas. However,a large number of resources all over the p;ace such as government agencies, private sectors, local administrative organizations and religious institutes were not fully capitalized and also needed integration as well as united mutual use. This research aimed to review the role of education promotion and development of educational service areas to solve the problem and examine factors of educational progress in the southern border provinces as well as support from communities to improve the quality of students and the educational administration following national education guidelines.<br /><br /><br /><br />
The results found that the current educational administration in the southern border provinces under administrative decentralization structure of the educational service areas regarding integrated educational and administrative principles was associated with the management of the educational service areas as a center. There were 3 educational seavice areas in those provinces to cover operation and extend educational opportunity of local youths. A significant problem of the administration in the educationall service areas was readiness of the educational administration in remote areas, especially the educational service area 3. In addition, the problems were follow-up stage and lack of integration between the educational areas. There were several resolutions to solve these problems includings; network center building to create cooperation with supervisors to follow-up in the distant areas, special. |
|
ผู้ทำ/Author |
Name | บรรจง ฟ้ารุ่งสาง | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. โรงเรียนสาธิต |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
|
|
Contributor: |
Name: |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
Roles: |
ผู้สนับสนุนทุนวิจัย |
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2552 |
|
Type: |
งานวิจัย/Research Report |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
1006 |
|
Counter Mobile: |
27 |
|