ชื่อเรื่อง/Title การใช้ประโยชน์ของมุสลิมในประเทศไทยจากงบสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ตามทัศนะนักกฎหมายอิสลาม / Islamic Lawyers? Views on Thai Muslims? Use of Budgets Supported by the Thai Health Promotion Foundation
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยเรื่องการใช้ประโยชน์ของมุสลิมในประเทศไทยจากงบสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ตามทัศนะนักกฎหมายอิสลาม เป็นงานวิจัยเอกสาร เชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินหะรอมตามบทบัญญัติอิสลาม เพื่อวิเคราะห์ทัศนะนักกฎหมายอิสลามเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินหะรอม และศึกษาวิเคราะห์ทัศนะนักกฎหมายอิสลามเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากงบสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิม (สสม.)ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ทรัพย์สินหะรอม คือ ทรัพย์สินที่หะรอมโดยตัวของมันเอง หรือโดยวิธีการได้มาไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติอิสลาม การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินหะรอม ที่ก่อเกิดจากการทำธุรกรรมระหว่างมุสลิมด้วยกัน นักกฎหมายอิสลามได้จำแนกออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน 1)การใช้ประโยชน์เพื่อส่วนบุคคล นักกฎหมายอิสลามเห็นพ้องกันว่าไม่เป็นที่อนุมัติใช้ประโยชน์ยกเว้นกรณีจำเป็นเท่านั้น 2)การใช้ประโยชน์ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา นักฎหมายอิสลามมีความเห็นต่างกันในแต่ละกรณี 3)การใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนานักกฎหมายอิสลามเห็นพ้องกันว่า เป็นที่อนุมัติใช้ประโยชน์ได้การใช้ประโยชน์จากงบสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิม (สสม.) นั้น นักกฎหมายอิสลามส่วนใหญ่เห็นว่ามุสลิมในประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์ได้ด้วยเหตุผลที่ประเทศไทยมิใช่รัฐอิสลามและการใช้งบนี้ถือว่าเป็นความชอบธรรมในบ้านเมือง ซึ่งกฎหมายอิสลามให้การรับรองธรรมเนียมปฏิบัติและกฎหมายต่างๆที่เป็นที่ชอบธรรมของประเทศนั้นๆ อีกทั้งภาษีสุราที่เป็ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) น้ันได้เปลี่ยนสภาพมาเป็นทรัพย์สินโดยชอบธรรมของรัฐซึ่งกฎหมายอิสลามให้การรับรอง นอกจากนี้ ภาษีสรรพสามิตจากสุราที่รัฐบาลไทยจัดเก็บจากพลเมืองของประเทศที่มิใช่มุสลิมก็ไม่เป็นภาษีบาป เพราะกฎหมายอิสลามให้การรับรองการทำธุรกรรมระหว่าง ผู้ที่มิใช่มุสลิมในสิ่งที่พวกเขาถือเป็นสิ่งชอบธรรมหรือถูกต้องตามกฎหมายบ้านเมืองของพวกเขา

This descriptive documentary research was aimed at studying the use of haraam (forbidden) property based on Islamic principles, analyzing Islamic lawyers? views on the use of haraam (forbidden) property, and finally investigating their views on the use of budgets supported by the Thai Health Promotion Foundation and the Thai Muslims? Health Promotion Program (TMHPP). The findings indicate that haraam (forbidden) property is itself forbidden or due to being earned through haraam means. Islamic lawyers categorize the use of haraam property earned from transactions between Muslims into three groups: (1) the use of it for personal purposes is impermissible, except necessity; (2) the use of it for religious activities is viewed differently in any case; (3) the use of it for any non-religious activity is unanimously considered permissible. According to most Islamic lawyers, they are permissible for Thai Muslim to make use of budgets supported by the Thai Health Promotion Foundation (THPF) and the Thai Muslims? Health Promotion Program (TMHPP). The reason is that Thailand is not an Islamic state and making use of such budgets is lawful. Lawful practices and laws of any country is approved by Islam. Additionally, liquor tax earned from non-Muslim Thais, a source of the Thai Health Promotion Foundation (THPF) budgets, is transformed into a state?s lawful property. As the tax is lawful, it is permissible to make use of it by Thai Muslims.
     ผู้ทำ/Author
Nameอุสมาน แม
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Symbol
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านศาสนา
--ศาสนากับสังคม
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: มะรอนิง สาแลมิง
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2557
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1564
     Counter Mobile: 38