ชื่อเรื่อง/Title Working Practices of Dental Nurses in the Three Southernmost Provinces of Thailand / การปฏิบัติงานของทันตาภิบาลในสามจังหวัดชายแดนใต้
     บทคัดย่อ/Abstract This study aims to investigate levels of working practices of dental nurses and to study factors that affect working practices of dental nurses. The questionnaire was use to collect data from 168 dental nurses in Pattani, Yala and Narathiwas province. The determinants comprised gender, age, marital status, education background, place of graduation, year of graduation, the capability to use Malayu language for communication, working experience, work position, work place, dentist, number of dental nurse and dental assistant. The outcomes comprised three groups: clinical, preventive and project activities. Statistical method included factor analysis, t-test, ANOVA and multiple linear regression analysis. The results showed that the dental nurses in the three southernmost provinces of Thailand were doing more in clinical activities than preventive activities and project activities. Year of graduation and work place were the predictors of the clinical activities, Dental nurses who graduated before year 2009 were doing more practice in clinical activities than dental nurses who graduated in year 2009 or later. Work place and dentist were the predictors of the preventive activities. Dental nurses who work with dentist were doing more practice in preventive activities than dental nurses who worked without dentists. Marital status and working experience were the predictors of the project activities. Dental nurseswho had working experience more than 7 years were doing more active in project activities than dental nurses who had working experience equal or less than 7 years.

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของทันตาภิบาลในสามจังหวัดชายแดนใต้ และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของทันตาภิบาล เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากทันตาภิบาล จำนวน 168 คน ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส ตัวแปรต้นคือ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา สถานที่จบการศึกษา ปีที่จบ ความสามารถในการใช้ภาษามลายู ประสบการณ์การทำงาน ตำแหน่ง สถานที่ปฏิบัติงาน ทันตแพทย์ จำนวนทันตาภิบาลและผู้ช่วยทันตแพทย์ ตัวแปรตามคือ การทำงานด้านการรักษาในคลินิก การทำงานด้านการส่งเสริมป้องกันและการทำงานด้านการท าโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพ นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ปัจจัย การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามทีละคู่ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามกับตัวแปรต้นทั้งหมด ผลของการศึกษา พบว่า ทันตาภิบาลใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ท างานด้านการรักษาทางคลินิกมากกว่างานด้านการส่งเสริมป้องกันและงานด้านการทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพ ตัวแปรที่มีผลต่อการทำงานด้านการรักษาในคลินิกคือ ปีที่จบการศึกษาและสถานที่ปฏิบัติงานของทันตาภิบาล โดยพบว่าทันตาภิบาลที่จบการศึกษาหลังปี พ.ศ. 2551 จะท างานด้านการรักษาในคลินิกมากกว่า ทันตาภิบาลที่จบการศึกษาก่อนปี พ.ศ. 2552 ตัวแปรที่มีผลต่อการทำงานด้านการส่งเสริมป้องกันคือ สถานที่ปฏิบัติงานและการมีทันตแพทย์ ทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานในสถานที่ที่มีทันตแพทย์ จะมีโอกาสทำงานด้านการส่งเสริมป้องกันมากกว่าทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานในสถานที่ที่ไม่มีทันตแพทย์ ตัวแปรที่มีผลต่อการทำงานด้านการท าโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพคือ สถานภาพสมรสและประสบการณ์ในการทำงาน โดยพบว่า ทันตาภิบาลที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 7 ปี จะท างานด้านการทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพมากกว่าทันตาภิบาลที่มีประสบการณ์การทำงานเท่ากับหรือน้อยกว่า 7 ปี
     ผู้ทำ/Author
NameAdhhiyah Mudor
Organization Prince of Songkla University, Pattani Campus. Faculty of Science and Technology
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านสุขภาพอนามัย
--หน่วยงานบริการสาธารณสุข
--สุขอนามัยชุมชน
     Contributor:
Name: Nittaya McNeil
Roles: Advisor
     Publisher:
Name:Prince of Songkla University, Pattani Campus
Address:Pattani
     Year: 2557
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1152
     Counter Mobile: 38