ชื่อเรื่อง/Title การจัดการมรดกตามหลักกฎหมายอิสลามของมุสลิมในจังหวัดสตูล / The Heritage Management in Accordance in the Islamic Law of Muslims in Satun Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการด้วยกันคือ 1) เพื่อศึกษาหลักการ เงื่อนไขขั้นตอน และวิธีการจัดการมรดกตามหลักกฎหมายอิสลาม 2) เพื่อศึกษาระดับการศึกษา ระดับความรู้ความเข้าใจในหลักการ เงื่อนไข ขั้นตอน และวิธีการจัดการมรดกตามหลักกฎหมายอิสลามของมุสลิมในจังหวัดสตูล 3) เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติ ปัญหา อุปสรรค ผลกระทบ และแนวทางแก้ไขในการจัดการมรดกของมุสลิมในจังหวัดสตูล สำหรับวิธีการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเอกสารและการวิจัยภาคสนาม การวิจัยเอกสารผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากอัลกุรอาน หะดีษของท่านเราะสูลหนังสือตำรา ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ ส่วนการวิจัยภาคสนามผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยสำรวจกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้สถิติแบบร้อยละ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (อิหม่ามจำนวน 75 คน คอเต็บจำนวน 41 คน และบิลาลจำนวน 28 คน) ทุกอำเภอในจังหวัดสตูล รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 144 คน และทำการสัมภาษณ์คณะกรรมอิสลามประจำจังหวัดสตูล (ประธานฯ 1 คน และรองประธานฯ จำนวน 4 คน) ดะโต๊ะยุติธรรมประจำศาลจังหวัดสตูลจำนวน 1 คน และผู้ที่มาติดต่อที่ศาลจังหวัดสตูลเพื่อขอให้ศาลมีค าสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดก หรือผู้ที่มาติดต่อที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสตูลเพื่อขอให้คณะกรรมการฯไกล่เกลี่ยเรื่องมรดกของผู้ตาย หรือผู้ที่มีประสบการณ์ในการจัดการมรดกจำนวน 15 คน เพื่อประกอบและยืนยันข้อมูลแบบสอบถามที่ได้จากคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ผลการวิจัยพบว่า1. เมื่อมุสลิมถึงแก่ความตายทรัพย์สินทั้งหมดและสิทธิบางประเภทของผู้ตายกลายเป็นมรดกจะต้องจัดการไปตามขั้นตอนของการจัดการมรดกที่กฎหมายอิสลามกำหนดไว้ เพื่อกระจายกองมรดกให้แก่ผู้มีสิทธิรับทุกประเภท โดยเริ่มจากการชำระหนี้สิน ทั้งหนี้สินของพระองค์อัลลอฮฺ เช่นจ่ายทานบังคับ หากครบเงื่อนไข หนี้สินระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ชำระค่าสินไหมทดแทน หากเจ้ามรดกประทุษร้ายต่อชีวิตหรือร่างกายบุคคลอื่น ไถ่ถอนจำนอง หรือจำนำที่เจ้ามรดกได้เอาประกันไว้ ใช้จ่ายในการจัดการศพทั้งของผู้ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของเจ้ามรดกและของเจ้ามรดกเอง ชำระหนี้สินอื่นๆ ปฏิบัติตามพินัยกรรมที่เจ้ามรดกได้ทำไว้ และแบ่งปันกันในระหว่างทายาท 2. มุสลิมในจังหวัดสตูลมีวุฒิการศึกษาด้านศาสนาต่ำกว่าระดับซานาวีย์ และมีความรู้ความเข้าใจในหลักวิชาฟารออิฏ ระดับปานกลาง เนื่องจากวิชานี้ไม่มีในหลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและของเอกชนอย่างชัดเจน ยกเว้นบางสถาบันเท่านั้นที่น ามาสอนเสริมให้แก่นักเรียนนักศึกษา และการจัดการมรดกของผู้ตายในจังหวัดสตูลต้องอาศัยผู้น าศาสนาที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ช่วยแนะน าและจัดการแบ่งปันมรดกให้ 3. การจัดการมรดกของมุสลิมในจังหวัดสตูลประสบปัญหาอุปสรรคหลายอย่าง เช่น ทายาทของผู้ตายละเลยไม่ยอมจัดการแบ่งมรดกของผู้ตายภายในเวลาที่เหมาะสม โดยปล่อยให้กองมรดกตกอยู่ในความครอบครองของทายาทเพียงบางคน และนำผลประโยชน์จากกองมรดก หรือบางส่วนจากกองมรดกมาบริโภคเป็นการส่วนตัว ซึ่งส่งผลกระทบไปยังทายาท และผู้ที่มีสิทธิในกองมรดกคนอื่นๆ 4. แนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการมรดกของมุสลิมในจังหวัดสตูลมีหลายวิธี เช่น ให้บรรจุวิชาอัลฟารออิฏ วิชาว่าด้วยการจัดการมรดกเข้าในหลักสูตรการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอุดมศึกษาในสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน และให้มีการอบรมผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนทุกระดับ เพื่อเพิ่มทักษะในหลักวิชานี้ ให้องค์กรทางศาสนา หรือองค์กรทางภาครัฐมีอำนาจบังคับให้ทายาทของผู้ตายดำเนินการจัดการมรดกในเวลาที่เหมาะสม เพื่อตัดวงจรของปัญหาทุกประเภทให้อยู่ในวงจำกัด และให้จดบันทึกข้อตกลงต่างๆที่เกิดขึ้นในกระบวนการแบ่งมรดก ส่งเสริมให้มีการทำวะกัฟหรือการมอบถาวรวัตถุให้เป็นศาสนกุศล เพื่อลดจำนวนทรัพย์ที่จะตกเป็นมรดก และเพื่อลดความต้องการและการขัดแย้งของกลุ่มทายาท และให้ถือว่าการยกทรัพย์สินให้แก่ทายาทตกเป็นโมฆะหากไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้อง

There are three Objectives in this research: 1) To study the principles, steps and methodology of Islamic heritage, 2) To study the understanding of Muslims in Satun towards the heritage subject. 3) To study the practical methodology of heritage management and problems and obstacles and effects in heritage management and to study the solution of problems in heritage management of Muslims in Satun. This research used both document and field research. About document research, the researcher has been studied and collected information from Quranic verses and Sunnah of the Prophet Mohd (SAW) and the books, relating to heritage management. to analyse the content analysis In the part of field research, the researcher used the survey method to the sample by asking questionnaire and collected Information and analyse as a quantity. These information used percentage statistic. The sample of this research are composed of the Mosque Islamic Committees, [75 of Mosque leaders (Imam) 41 of narrators (Khatib) and 28 of callers (Muazzin). And researcher continue depth interviews These consist of all districts in Satun province. At the same time, consist of Islamic Committees of Satun province. Such as 1 president with 4 vice presidents. One president of justice of Satun provincial Court and those who come to contact in term of government service at Satun Provincial Court. This is for assigning as the heritage manager, or visitorsof Satun Provincial Islamic Committee. Those who have an experience of heritage management around 15 persons. To engage and of firm the respondents of the sample above.The result is findings: 1. When one Muslim died, all his or her properties and some his right must be managed according to Islamic regulation and spread it to those who have the right. Starting by paying off the debt as Allah?s debt such as paying Force donation(Zakat) if the condition is completed. The debt between man to man, to pay the Fine Instead of heritage if there is some harmfulness to the others, to redeem a mortgage or a pawn. Using in the corpse management. Pay to whom it may concern or under the responsibility of heritage himself. Paying all other debts by following the instruction of the testament and separate among his descendants. 2. The problem of Muslims in Satun is they have low understanding of Islamic education. From this case it causes of lack of understanding of heritage knowledge. This is because this subject is not consist in educational curriculum both in private and government school. Except some institution such as in college or University. So the management of death heritage depends on Islamic leaders who understand about this case. 3. The heritage management of Muslim?s in Satun has various problems And obstacles. For example the descendant ignored to divide the heritage in a suitable time, he governed by oneself and use as private benefit. This case is effected to other descendant and those who have right in this properties. 4. The solution of these problems are the government or private school contain and recommend the heritage subject in secondary level or University level as compulsory. At the same time there will be a conference or Islamic leaders training concerning to heritage subject. The Islamic organization or the government should support and forces the descendant to divide the properties in a suitable time in order to solve the problem in a limited circle. Every agreement or contract must be written down during the separation of heritage. The promotion of religious donation of permanent objects are fully supported. In this case to decrease the properties of in heritage and to decrease the desire and the confliction among descendant group. Lastly, the properties in case of unregistered of unregistered of transferring to the officer to deal with.
     ผู้ทำ/Author
Nameหมัดอูเส็น หมัดหมัน
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Symbol
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
Chapter6
Chapter7
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: วิถีชีวิตและประเพณี
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: มะรอนิง สาแลมิง
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2557
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2434
     Counter Mobile: 41