|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
การวิเคราะห์ความสามารถในแข่งขันอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของประเทศไทย : กรณีศึกษาอาหารทะเลแปรรูป |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาศักยภาพการผลิตและการส่งออกอาหารฮาลาลของไทย (2) ศึกษาความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกอาหารฮาลาลของไทยและประเทศคู่แข่ง (3) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกอาหารฮาลาลของไทย และ (4) ประเมินศักยภาพการแข่งขันอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของไทย วิธีการศึกษา (1) การเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งชันการส่งออกอาหารฮาลาลของไทยและประเทศคู่แข่งได้ใช้ดัชนีความได้เปรียบเทียบที่ปรากฏและส่วนแบ่งตลาด โดยใช้ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศในช่วงปี พ.ศ. 2541-2548 (2) การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าดารส่งออกอาหารฮาลาลของไทยใช้แบบจำลองส่วนแบ่งตลาดคงที่ในการเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยในช่วงปี พ.ศ. 2541-2544 กับช่วงปี พ.ศ. 2545-2548 และ (3) การประเมินศักยภาพการแข่งขันอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของไทยใช้แบบจำลองไดมอนด์ในการพิจารณาปัจจัยที่กำหนดความสามารถในการแข่งขัน กรณีศึกษาที่ใช้ในการวิจัย คือ อาหารทะเลแปรรูป ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ปลาซาร์ดีนแปรรูป ปลาทูน่าแปรรูป ปูแปรรูป กุ้งแปรรูป และปลาหมึกและหอยแปรรูป ตลาดที่พิจรณาคือ ตลาดโลก ตลาดส่งออกสำคัญ และตลาดกลุ่มประเทศมุสลิม ผลการศึกษาพบว่า (1) ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตและส่งออกอาหารทะเลแปรรูปรายสำคัญของโลกและอาหารทะเลแปรรูปเป็นสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร (2)ประเทศไทยมีความได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบในการส่งออกอาหารทะเลแปรรูปทุกผลิตภัณฑ์ในตลาด โลกและตลาดส่่งออกสำคัญ สำหรับตลาดกลุ่มประเทศมุสลิม ไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบเฉพาะผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าแปรรูปและปลาซาร์ดีนแปรรูป (3) ในตลาดโลกและตลาดส่งออกสำคัญพบว่า มูลค่าการส่งออกอาหารทะเลแปรรูปที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการขยายตัวการส่งออกของโลกโดยเฉลี่ยเท่านั้น สำหรับตลาดกลุ่มประเทศมุสลิม มูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการขยายตัวการส่งออกของโลก โดยเฉลี่ยและผลจากการกระจายตลาด ตามลำดับ (4) อุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปของไทย มีศักยภาพการแข่งขันในด้านของโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรที่มีความชำนาญในการผลิต นอกจากนี้คุณภาพสินค้าและมาตรฐานการผลิตของไทยยังเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคต่างประเทศ สำหรับปัญหาที่ทำให้ศักยภาพการแข่งขันอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปของไทยลดลงมากที่สุดคือ การขาดแคลนและการลดลงของคุณภาพวัตถุดิบ ทำให้มีการนำเข้าวัตถุดิบบางส่วนจากต่างประเทศและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น รวมทั้งการไม่มีบทบาทในเวทีการค้าโลกทำให้ประเทศไทยไม่มีบทาบาทในเวทีการค้าโลกทำให้ประเทศไทยไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานสินค้าอาหารต่างๆ
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | วนิดา ศักดี | Organization | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
อาหารฮาลาล
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | Address | : | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธร |
|
|
Year: |
2550 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
4107 |
|
Counter Mobile: |
54 |
|