|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
กฎหมายอาหารฮาลาล / Halal food law |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
ปัจจุบันตลาดอาหารฮาลาลเป็นตลาดที่ใหญ่เนื่องจากมีผู้บริโภคมากมายทั้งผู้บริโภคที่นับถือศาสนาอิสลามและผู้บริโภคที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม แต่อย่างไรก็ดีก็มีการกระทำที่ผิกคือการขายอาหารที่ผิดหลักศาสนาอิสลามโดยการปนเปื้อนสิ่งที่ต้อมห้ามลงไปในอาหาร การใข้กฏหมายไทยบังคับกับเรื่่องการค้าอาหารที่ผิดหลักศาสนาอิสลาม ไม่ได้ทำให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคอาหารฮาลาลอย่างแท้จริง เนื่องจากกฏไทยไม่ได้บัญญัติมาเพื่อรองรับการกระทำความผิดพิเศษจากการขายอาหารฮาลาลที่ผิดหลักศาสนา โดยเฉพาะเมื่ออาหารนั้นไม่ได้ก่ออันตรายแก่สุขภาพอนามัยของผู้บริโภคโดยตรง แต่เป็นการทำลายความสุขของผู้บริโภคอันเกิดจากการประกอบศาสนกิจ (Spiritual Will Being)เมื่อผู้บริโภคไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองได้รับความคุ้มครอง จุดดังกล่าวนี้เอง ย่อมจะส่งผลกระทบต่อการค้าและการขยายตลาดอาหารฮาลาลในไทยที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต สิ่งที่กฎหมายไทยยังขาดอยู่และควรจะต้องเร่งให้มีกฏหมายมารองรับ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นต่อการบริโภคอาหารทั่วไป ในระยะสั้น กฏหมายไทยควรกำหนดให้อาหารฮาลาลเป็นอาหารมีกำหนดมาตรฐาน โดยอาศัยการออกประกาศตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 6(3) และถ้ามีการฝ่าฝืนมาตรฐานจะมีความผิดและต้องรับโทษอาญาตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่ในระยะยาว ควรออกกฏหมายเฉพาะเป็นพระราชบัญญัติอาหารฮาลาล โดยมีหลักการสำคัญ 4 ประการ คือ หนักการที่หนึ่ง นำมาตรฐานอาหารฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยประกาศเป็นมาตรฐานอาหารฮาลาลของประเทศ หลักการที่สอง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคุ้มครองผู้บริโภค - ประการแรก กำหนดให้การฝ่าฝืนมาตรบานตามกฎหมายฉบับนี้ เป็นความผิดและมีโทษอาญา -ประการสอง กำหนดให้บผู้บริโภคอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานอาหารฮาลาล ได้รับชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินสองเท่าของราคาสินค้า ทั้งนี้โดยกำหนดให้การพิสูจน์ว่า อาหารยังอยู่ในมาตรฐาน เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตผู้ค้าอาหารฮาลาล หลักการที่สาม กำหนดองค์กรขึ้่นทำหน้าที่ควบคุมดูแแลอาหารฮาลาลให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่งประกอบด้วย 1.เจ้าหน้าที่รัฐ 2.นักวิชาการหรือผู้เชียวชาญด้านอาหารฮาลาล 3.ตัวแทนจากผู้บริโภค หลักการที่สื่ กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการในการควบคุมดูแลอาหารฮาลาลให้เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น ให้มีอำนาจควบคุมตรวจสอบการผลิตการค้าอาหารฮาลาล มีอำนาจดำเนินคดีเอาผิดกับผู้ผลิตผู้ค้าอาหารฮาลาลให้เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น ให้มีอำนาจควบคุมตรวจสอบการผลิตการค้าอาหารฮาลาล มีอำนาจดำเนินคดีเอาผิดกับผู้ผลิตผู้ค้าอาหารฮาลาลที่ไม่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น โดยหากมีกฎหมายเฉพาะดังกล่าวออกมา ย่อมจะสร้างความเชื่อมั่นความศรัทธาให้กับผู้บริโภคอาหารฮาลาลและชาวมุสลิมทั้งหลาย อันจะเป็นผลดีกับการค้าการส่งออกอาหารฮาลาลและเศรษบกิจโดยรวมของประเทศ
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | สมเกียรติ ตรีรยาภิวัฒน์ | Organization | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
อาหารฮาลาล
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | Address | : | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร |
|
|
Year: |
2549 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
7128 |
|
Counter Mobile: |
58 |
|