ชื่อเรื่อง/Title การตัดสินใจส่งออกของผู้ผลิตอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารฮาลาลในประเทศไทย / The determinants of export decision making of halal food industry in Thailand
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลที่มีต่อการตัดสินใจส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับการรับรองเครื่องหมายคุณภาพฮาลาลของผู้ประกอบการไทยอันประกอบด้วย ปัจจัยสภาพเเวดล้อมภายในองค์กร สภาพเเวดล้อมภายในและภายนอกประเทศ ส่วนประสมทางการตลาด การเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ การสร้างความได้เปรียบในการเเข่งขัน 2)เพื่อศึกษาเส้นทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวเเปรปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ประกอบการไทย เเละ 3)เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลอิทธิพลของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจส่งออกอาหารฮาลาลที่พัฒนาขึ้นตามสมมุติฐานเชิงประจักษ์ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพควบคู่กับการวิจัยเชิงปริมาณ การวิเคราะห์เป็นระดับองค์กร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจด้านการส่งออกอาหารเเปรรูปฮาลาลในประเทศไทย จำนวน 1,350 องค์กร โดยได้มาจากการสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็นด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้เเก่ การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยันและโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า 1)ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ผลิตอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารฮาลาล ประกอบด้วย ปัจจัยสภาพเเวดล้อมภายในองค์กร ปัจจัยสภาพเเวดล้อมภายในและภายนอกประเทศ ปัจจัยกลยุทธ์การส่งออกขององค์กร ปัจจัยความพร้อมทางทรัพยากร ปัจจัยความเชื่อที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์ฮาลาล ปัจจัยการเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ และปัจจัยการสร้างความได้เปรียบในการเเข่งขัน 2) เมื่อนำทุกปัจจัยมาทดสอบด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยันพบว่าทุกปัจจัยที่นำมาใช้มีความเหมาะสมและเเม้ว่าจะมีการปรับลดจำนวนตัวแปรลงความตรงและความเที่ยงเชิงโครงสร้างยังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้และสามารถนำประยุกต์ใช้กับสภาพเเวดล้อมใหม่ตามบริบทของสังคมไทยได้อย่างเหมาะสม เเละ 3)การวิเคราะหืรูปแบบที่อธิบายเส้นทางความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยตามสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น พบว่าสมมติฐานเกี่ยวกับอิทธิพลทางตรง(4 ข้อ 9 เส้นทางความสัมพันธ์) และสมมติฐานเกี่ยวกับอิทธิพลทางอ้อม (4 ข้อ 9 เส้นทางความสัมพันธ์) สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 17 เส้น ส่วน2 เส้นทางที่เหลือไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ผลการวิจัยสรุปว่าในการตัดสินใจส่งออกอาหารฮาลาลของผู้ประกอบการในประเทศไทยมีความเชื่อมั่นว่าเครื่องหมายฮาลาลที่ได้รับการรับรองคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอิสลามเเห่งประเทศไทยมีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับสูงทำให้ผู้ประกอบการมีความมั่นใจในสินค้าที่ส่งออกไปขายยังประเทศต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศมุสลิมมีผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในเครื่องหมายฮาลาลจากประเทศไทยมากถึงร้อยละ 90 เเสดงให้เห็นว่าหากประเทศไทยสามารถสร้างความเข้มเเข็งให้กับเครื่องหมายอาหารฮาลาลของไทยได้มากน้อยเพียงใดย่อมส่งผลต่ออัตราการส่งออกของประเทศสูงตามไปด้วย

     ผู้ทำ/Author
Nameมาเรียม นะมิ
Organization มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. คณะบริหารธุรกิจ
     เนื้อหา/Content
งานวิจัยฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: อาหารฮาลาล
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
Address:
     Year: 2552
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 1347
     Counter Mobile: 50