ชื่อเรื่อง/Title สถานะของภาษาตากใบในภาษาไทถิ่น (โครงการระยะที่2) / The Position of Tak Bai in Tai Dialects
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>ภาษาตากใบเป็นภาษาไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ แต่สถานะของภาษาตากใบในสาขาย่อยของภาษาตระกูลไทยังไม่ชัดเจน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์จะศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางภาษาของภาษาตากใบกับภาษาไทยถิ่นและภาษาไทกลุ่มอื่นๆ เพื่อพิสูจน์ว่าภาษาตากใบมีความสัมพันธ์ทางเชื่อสายใกล้ชิดกับภาษาไทถิ่นใด โดยใช้วิธีการศึกษาแนวภาษาศาสตร์วรรณนา และภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ <br /> <dd>ผลการศึกษาเปรียบเทียบภาษาตากใบกับภาษาไทถิ่นต่างๆ พบว่า<br /> ก) ภาษาตากใบมีลักษณะการกลายเสียงพยัญชนะต้นดั้งเดิมกักก้องเป็นเสียงกักไม่ก้องมีกลุ่มลม (กลุ่ม PH) เหมือนกับภาษาไทยกลาง อีสาน ใต้ ไทพวน และผู้ไท<br /> ข) ภาษาตากใบมีลักษณะการแยกเสียงวรรณยุกต์แบบสองทางและมีการรวมเสียงวรรณยุกต์ที่เปลี่ยนแปลงมาจากวรรณยุกต์ดั้งเดิม B กับ DL เหมือนกับภาษาผู้ไทและไทดำ<br /> ค) ภาษาตากใบมีลักษณะการยืดเสียงของเสียงสระสูงดั้งเดิมเป็นเสียงยาวในคำพยางค์ปิดคล้ายคลึงกับภาษาผู้ไท<br /> ง) ภาษาตากใบมีการใช้คำศัพท์เฉพาะจำนวนหนึ่งที่ไม่ปรากฎในภาษาไทยกลางและใต้ แต่กลับปรากฎในภาษาไทยเหนือ อีสาน ไทดำ ไทพวน และผู้ไท ทั้งนี้ภาษาตากใบใช้คำศัพท์เฉพาะร่วมกับภาษาผู้ไทมากกว่าภาษาไทอื่นๆ <br /> <dd>จากผลการวิจัยทั้ง 4 ประการผู้วิจัยจึงสรุปว่าภาษาตากใบมีความสัมพันธ์ทางเชื้อสายกับภาษาผู้ไทมากที่สุด

The position of Tak Bai among the Southwestern Tai dialects has yet been approriately verified. This reseach aims at comparing some linguistic characteristics of Tak Bai and other Thai dialects so as to prove their genetic relationship. The methodlogy used is that of descriptive and comparative linguistics. Fieldworks on Tak Bai, Black Tai, Phuan and Phu Tal have been conducted. Their vocabularies and phonological systems are then analyzed and described. In addition, inguistic data of 4 Thai dialects, i.e Northern, Central Northeastern and Southern Thai, are drawn from several sources. The comparative study of these dialects shows that : a) with respect to the phonological changes of proto voiced stops, Tak Bai falls in the same PH-group as Central, Northeastern and Southern Thai dialects, Phuan and Phu Tai ; b) with respect to tonal splits and mergers, Tak Bai exibits a 'two-way split' and a 'B=DL merger', similar to Phu Tai and Black Tai ; c) with respect to the lenghtening of proto Tai high vowels in close syllables, Tak Bai behaves in the same way as Phu Tai ; d) certain lexical items in Tak Bai which are not found in Central and Southern Thai are present in Northern and Northeastern Thai dialects, Black tai, Phuan, and Phu Tai. In this respect, Phu Tai shares a larger number of lexical items with Tak Bai than other dialects under study. These 4 evidences lead to the conclusion that genetically Tak Bai and Phu Tai are closely related.
     ผู้ทำ/Author
Nameพุทธชาติ โปธิบาล
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Nameธนานันท์ ตรงดี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 การแบ่งกลุ่มย่อยภาษาตระกูลไท...
บทที่ 3 ความสัมพันธ์ของภาษาตากใบกับภาษาไทยถิ่น
บทที่ 4 ภาษาและภูมิหลัง...
บทที่ 5 ความสัมพันธ์ของภาษาตากใบ...
บทที่ 6 สถานะของภาษาตากใบ...
บรรณานุกรม
ภาคผนวก (หน้า 116-153)
ภาคผนวก (หน้า 154-191)
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ศิลปะและวัฒนธรรม
--ภาษาและการสื่อสาร
     Contributor:
Name: สำนักวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2541
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 4185
     Counter Mobile: 46