ชื่อเรื่อง/Title สถานะของภาษาตากใบในภาษาไทถิ่น / The Position of Tak Bai in Tai Dialects
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>สถานะของภาษาถิ่นตากใบในภาษาตระกูลไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ยังคลุมเครือ เนื่องจากนักภาษาศาสตร์ต่างก็จัดให้ภาษาถิ่นตากใบอยู่ในสาขาต่างกัน โครงการวิจัยเรื่อง สถานะของภาษาตากใบในภาษาไทยถิ่น เป็นการศึกษาเพื่อจัดให้ภาษาถิ่นตากใบอยู่ในกลุ่มที่เหมาะสม โครงการวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลคำศัพท์เพื่อจัดทำฐานข้อมูล และพรรณาระบบเสียงของภาษาตากใบ ส่วนระยะที่สองเป็นการเปรียบเทียบลักษณะของภาษาตากใบกับภาษาไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้อื่นๆ และจัดให้ภาษาถิ่นตากใบอยู่ในสาขาย่อยสาขาใดสาขาหนึ่ง<br /> <dd>รายงานการวิจัยนี้ เป็นผลการศึกษาในระยะแรกซึ่งได้ดำเนินการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลภาคสนาม และใช้รายการคำจำนวน 2051 คำ สัมภาษณ์ผู้บอกภาษาในหมู่บ้านที่ใช้ภาษาตากใบจำนวน 10 หมู่บ้าน และอีก 5 หมู่บ้านในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทั้งนี้ข้อมูลคำศัพท์ได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษา 4 คน และข้อมูลเสียงได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษา 10 คน <br /> <dd>ระบบเสียงภาษาตากใบประกอบด้วย หน่วยเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยวจำนวน 18 หน่วยเสียง หน่วยเสียงสระประสมจำนวน 3 หน่วยเสียง และหน่วยเสียงวรรณยุกต์จำนวน 6 หน่วยเสียง<br /> <dd>ในบทสุดท้าย ผู้วิจัยได้กล่าวถึงลักษณะทางภาษาที่สำคัญบางประการ เช่น ระบบวรรณยุกต์ คำศัพท์บางคำ และลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางเสียงของคำในภาษาตากใบ ซึ่งผู้วิจัยจะได้ดำเนินการศึกษาต่อไปในโครงการวิจัยระยะที่ 2

Linguists vary as to exact position of tak Bai dialect within the South-western subgroup. The research project 'The Position of Tak Bai in Tai Dialects' is an attempt to verify the accurate position of Tak Bai dialect. THis study is divided into two phases; the first one in devoted to the collection of lexical data for the Tak bai data base as well as the description of the Tak Bai's phonological system, and the second one to the comparison of the Tak Bai with other South-western Thai dialects so as to pinpoint its position within a particular branch of the South-western Tai subgroup.<br /> This research report contians the study done in the first phase. Ten villages of Tak Bai sub-dialects are selected : five from Pattani and Narathiwat, Thailand, and five from Kelantan, Malasia. A wordlist of 2,051 entries are elicited from 4 informants and the phonetic realization of tonemes is obtained from 10 informants.<br /> It is found that Tak Bai's phonological inventory consists of 22 consonants, 15 consonant clusters,9 final consonants, 18 monopthongs, 3 dipthongs and 6 tones. Some significant linguistic characteristics sush as the tonal syatem, certain lexical items and sound changes have also been noted but these of the project.
     ผู้ทำ/Author
Nameพุทธชาติ โปธิบาล
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Nameธนานันท์ ตรงดี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
คำนำ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ภูมิหลังของคนไทยกลุ่มตากใบ
บทที่ 4 ระบบเสียงพยัญชนะ
บทที่ 5 ระบบเสียงสระ
บทที่ 6 ระบบเสียงวรรณยุกต์
บทที่ 7 สถานะของภาษาตากใบในภาษาไทยถิ่น
บรรณานุกรม
ภาคผนวก (หน้า 149-179)
ภาคผนวก (หน้า 180-208)
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ศิลปะและวัฒนธรรม
--ภาษาและการสื่อสาร
     Contributor:
Name: สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2540
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 4505
     Counter Mobile: 34