ชื่อเรื่อง/Title กระบวนการสื่อสารเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล จังหวัดปัตตานี / Communication process for public participation in establishing the halal food industrial estate in Pattani province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กระบวนการสื่อสารของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อให้ประชาชนเกิดการมีส่วนร่วมในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหาฮาลาล จังหวัดปัตตานี ความร่วมมือที่ได้จากประชาชน ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมในด้านต่างๆในบริบทของการสื่อสารระหว่าเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐกับชาวบ้านในชุมชน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ<br /><br /> วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาถึงกระบวนการสื่อสารของนิคมอุตสาหกรรมเเห่งประเทศไทย เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมชองประชาชนในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล จ.ปัตตานี ศึกษาถึงข้อดี ปัญหาเเละผลกระทบอันเกิดจากการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมฯ ศึกษาทัศนะของประชาชนโดยรอบพื้นที่ที่มีต่อการนำเสนอข้อมูลข่าวสารการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและศึกษาถึงกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม<br /><br /> ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารที่การนิคมอุตสาหกรรมเเห่งประเทศไทย เลือกนำมาใช้เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เกิดการยอมรับและเปลี่ยนทัศนคติ รวมทั้งเกิดการมีส่วนร่วมในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมนั้น คือสื่อบุคคล นอกจากนั้น การนิคมอุตสาหกรรมยังกระตุ้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยการทำกิจกรรมในบทบาทต่างๆ เช่น 1.การให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง 2.การพาไปดูงาน 3.การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ประชาชนได้เเสดงความคิดเห็น ดดยกลุ่มเจ้าหน้าที่มีการสื่อสารกับชาวบ้านในเเนวระนาบ เป็นการสื่อสารสองทางและมีการสื่อสารหลายระดับตามวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อ สื่อหรือช่องทางการสื่อสาร คือการเข้าพบกับผู้นำทางศาสนาและผู้นำชุมชน ใรูปแบบการประชุมกลุ่มย่อย เพื่อสร้างความเข้าใจในสารก่อนเเละให้ช่วยถ่ายทอดรวมทั้งสร้างความเข้าใจเเก่ชาวบ้าน ซึ่งขั้นตอนการดำเนินการต่างๆนั้นส่งผลให้ประชาชนโดยรอบพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมให้ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมเป็นอย่างดี 3 ด้าน คือ 1.การให้ความร่วมมือระดมความคิด 2.การเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น 3.การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่มชาวบ้านอื่นๆในชุมชน<br /><br /> ในอนาคตนั้นพบว่าลักษณะการสื่อสารยังคงเน้นการสื่อสารในรูปแบบเดิมที่ผ่านมาเนื่องจากมีประสิทธิภาพพอสมควร แต่ต้องมีการพัฒนาในเรื่องสื่อกิจกรรมพิเศษต่างๆ เช่น การจัดประชุมเวทีและใช้ภาพมายด์แมป (แผนที่ความคิด) เป็นเครื่องมือในการระดมความคิดให้ชาวบ้านสามารถถ่ายทอดความคิดเห็นและข้อเสนอต่างๆ การใช้กิจกรรมกีฬาเป็นสื่อเชื่อมกับคนในชุมชน เพื่อเสริมสร้างความใกล้ชิดระหว่างชาวบ้าน กลุ่มเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และภาคเอกชนในนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล จังหวัดปัตตานี เพื่อให้การดำเนินงานมีความราบรื่นและมีส่วนร่วมตลอดไป

     ผู้ทำ/Author
Nameนุชนาถ การสูงเนิน
Organization มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
     เนื้อหา/Content
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: อาหารฮาลาล
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
Address:มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณ
     Year: 2549
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1460
     Counter Mobile: 34