ชื่อเรื่อง/Title ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวังของชาวจังหวัดปัตตานี ต่อการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล กรณีศึกษาอำเภอสายบุรี และอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี / Personal factors contributing to the expectations of Pattani citizens on the establishment of Haral (Muslim) food industrial estates : cases of Saiburi and Panarae Districts, Pattani Province
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาเรื่อง "ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวังของชาวปัตตานีต่อการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล กรณีศึกษา อำเภอสายบุรี และอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังและศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของชาวจังหวัดปัตตานี ที่มีอิทธิต่อความคาดหวังในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนอำเภอสายบุรี และอำเภอปะนาเระ ที่มีอายุระหว่าง 18-55 ปี จำนวน 263 คน ใช้เครื่องมือในการศึกษาสอบถามที่ผู้ศึกษาจัดทำขึ้น เก็บข้อมูลด้วยวิธีการให้กลุ่มตัวอย่างตอบเเบบสอบถาม<br /> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังต่อการจัดตังนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลอยู่ในระดับมากในทุกด้าน (6 ด้าน) โดยมีความคาดหวังในระดับมากที่สุด คือ ด้านทรัพยากรและสิ่งเเวดล้อมเป็นอันดับเเรก (x=4.55) และความคาดหวังในด้านประชากรเป็นอันดับสุดท้าย (x=4.08) สำหรับความคาดหวังในด้านอื่นๆจะอยุ่ในระดับใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองการปกครอง (x=4.15) ด้านเศรษฐกิจ (x=4.13) ด้านศาสนาเเละวัฒนธรรม (x=4.13) แและด้านการศึกษา (x=4.13)<br /> กลุ่มตัวอย่างมีข้อคิดเห็นที่สำคัญ ในเรื่องของการมีส่วนร่วมในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล โดยมองว่า การมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่จะทำให้การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลบรรลุตามวัตถุประสงค์ และตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่ อีกทั้งยังสามารถแก้ปัญหาความขัดเเย้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย<br /> การทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้เเก่ เพศ ศาสนา อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และอาชีพ ที่เเตกต่างกัน มีความคาดหวังต่อการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลไม่เเตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ความคาดหวังในด้านเศรษฐกิจ "คนในพื้นที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้น" นั้น เพศหญิง (x=4.28) จะมีความคาดหวังมากกว่าเพศชาย (x=4.08) สำหรับด้านการเมืองการปกครอง "ประชาชนมีความสนใจในการปกครองท้องถิ่นมากขึ้น" เพศหญิง (x=4.17) มีความคาดหวังมากกว่าเพศชาย (x=4.00) และกลุ่มตัวอย่างที่นับถือศาสนาพุทธ (x=4.28) มีความคาดหวังมากว่ากลุ่มตัวอย่างที่นับถือศาสนาอิสลาม (x=4.03) สำหรับด้านรัพยากรและสิ่งเเวดล้อม "เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม หรือ ผู้ประกอบการ จะต้องมีส่วนรับผิดชอบในการเเก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การจัดตั้งกองทุนพัฒนาและเเก้ปัญหาสิ่งเเวดล้อม" กลุ่มตัวอย่างที่นับถือศาสนาพุทธ (x=4.72) มีความคาดหวังมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่นับถือศาสนาอิสลาม (x=4.63)<br /> ข้อเสนอเเนะจากการศึกษาครั้งนี้มี 2 ประเภท คือ ประการเเรกควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม ภายหลังการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล และประการที่สอง ควรมีการศึกษาผลกระทบในด้านต่างๆที่เกิดขึ้นจากการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่

     ผู้ทำ/Author
Nameปาหนัน บัวสาม
Organization มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: อาหารฮาลาล
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Address:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
     Year: 2548
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1256
     Counter Mobile: 32