ชื่อเรื่อง/Title รายงานการวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออกของประเทศไทย / Marketing potential development of Halal food for exporting of Thailand
     บทคัดย่อ/Abstract อาหารฮาลาล เป็นอาหารตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม "ฮาลาล" เเปลว่า อนุญาต อนมัติ เป็นคำมาจากภาษาอารบิก หมายความว่า การผลิต การให้บริการ หรือจำหน่ายใดๆที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัตินั่นเอง เป็นการประกันว่า ชาวมุสลิมทั่วไปสามารถบริโภคอาหาร หรืออุปโภคสินค้าหรือบริการต่างๆได้โดยสนิทใจ เราสามารถสังเกตผลิตภัณฑ์ว่าเป็นฮาลาลหรือไม่นั้น ได้จากการประทับตรา "ฮาลาล"ที่ข้างบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นสำคัญ และ "ฮารอม" แปลว่า ห้าม ตอยยิบ แปลว่า ดี มีคุณค่า ปราศจากอันตราย มัสบุฮ แปลว่า เคลือบเเคลงสงสัยว่า ฮาลาล หรือ ฮารอม ตลาดอาหารฮาลาลจึงครอบคลุมถึงผู้บริโภคที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม ดังนั้นอาหารอาลาลจึงเป็นอาหารที่ดีด้วยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ<br /> ประเทศไทยเป็นประเทศสังคมเปิดกว้างและไม่ใช่ประเทสมุสลิม ปัญหาของประเทศไทในด้านการจัดการอาหารฮาลาลก็คือ ภาพพจน์ของไทยด้านฮาลาลไม่น่าเชื่อถือต่อผู้บริโภคมุสลิม โดยเแพาะอย่างยิ่งด้านการผลิตและการตลาด การจัดการอาหารฮาลาลระหว่างประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย มีความเเตกต่างกันในหลายๆประเด็น ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือ หน่วยงานด้านการจัดการที่เกี่ยวข้องกับอาหารฮาลาลของทั้งสามประเทศ มีความเเตกต่างค่อนข้างมาก ประเทศมาเลเซีย รัฐบาลให้การสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนเเละธุรกิจขนาดกลางเเละขนาดย่อมจากหลายหน่วยงานของภาครัฐมากกว่าประเทศไทย และเป็นตลาดที่มีอำนาจซื้อสูงพอสมควร สำหรับประเทศอินโดนีเซีย ภาครัฐให้การสนับสนุนค่อนข้างน้อย แต่เป็นตลาดน่าสนใจในด้านจำนวนประชากรมุสลิมที่มีมากกว่า 200 ล้านคนแต่มีอำนาจซื้อส่วนใหญ่ค่อนข้างจำกัด ปัญหารการตลาดอาหารฮาลาลภายในประเทศไทย ยังมีปัญหาด้านมาตรฐานอาหารบ้างในระดะดับธุรกิจขนาดกลางเเละขนาดเล็กและมีมากในระดับวิสาหกิจชุมชน ที่ถูกตรวจสอบว่า อาหารมีหมุผสมหรือเป็นอันตรายต่อร่างกาย และได้ถูกส่งกลับคืนจากต่างประเทส อย่างไรก็ตามผู้ผลิตในประเทสไทยมีการจัดการอาหารฮาลาลผิดพลาดน้อยกว่าประเทศอื่นๆในเอเชีย เช่น จีน อินเดีย เเละเวียดนาม เนื่องจากปัจจุบันอาหารฮาลาล เป็นที่ต้องการของตลาดโลกมุสลิม แนวโน้มตลาดอาหารฮาลาลที่น่าสนใจ ได้เเก่ ประเทศตะวันออกกลางและเอเชีย เช่น ดูไบร์ เตอรกี ซีเรีย อินเดีย สหรัฐฯ ยุโรป และจีน เป็นต้น แนวโน้มอาหารโลก เน้น การเป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อมการคุ้มครองผู้บริโภค สถานะของสัตว์ที่ถูกเชือด การค้ายุติะรรม และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์ฮาลาล ไม่ได้มีเเต่อาหารฮาลาล แต่ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆอีกที่น่าสนใจในการนำมาพัฒนาเพื่อการส่งออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้ ได้เเก่น้ำมันหอม การสกัดน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์คอสเมติก สมุนไพร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีบริการทางการเงิน การขนส่ง โดรงเเรมและภัตตาคารและโรงพยาบาล เป็นต้น<br /> ในระยะสั้น เเนวทางเเก้ไขปัญหาการตลาดอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออกในประเทศไทย คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮาลาลของวิสาหกิจชุมชน ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ได้มาตรฐานสากล โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องทำงานร่วมกันมากขึ้น ไม่ใช่ต่างตนต่างทำและการรับรองตราฮาลาลที่ด้มาตรฐาน ตลอดจนการจัดการระบบการกระจายสินค้า หรือช่องทางการจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพตั้งเเต่จากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร ในระยะยาว แนวทางการเเก้ไขปัญหา ก็คือ 1)ต้องทำนาร้างให้เป็นนาข้าว 2)ปรับปรุงสิ่งเเวดล้อมการประมงชายฝั่ง และ 3)การผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล ให้สอดคล้องกับความต้องการขั้นพื้นฐาน วิถีชีวิตของชาวไทยมุสลิมและความต้องการของตลาดโลกมุสลิม

     ผู้ทำ/Author
Nameไพรัช วัชรพันธุ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Nameวีรศักดิ์ ตุลยาพร
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Nameกิตติ เจิดรังษี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
     เนื้อหา/Content
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล PSU Knowledge Bank
     กลุ่มหัวเรื่อง: อาหารฮาลาล
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Address:สงขลา (Songkhla)
     Year: 2551
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 1319
     Counter Mobile: 38