ชื่อเรื่อง/Title การศึกษาเตาเผาโบราณชุมชนปะโอด้วยวิธีธรณีฟิสิกส์ / A Study of Pah-O Ancient Kilns with Geophysical Methods
     บทคัดย่อ/Abstract เตาเผาโบราณชุมชนปะโอ เป็นแหล่งโบราณคดีในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้ เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตภาชนะดินเผาเนื้อดินที่ปรากฎแพร่หลายในชุมชนร่วมสมัยทั้งในและต่างประเทศ เตาเผาโบราณชุมชนปะโอมีลักษณะเป็นเตาเผาฐานกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กล่าง 1.30-2.00 เมตร ฐานเตาประกอบขึ้นจากดินเหนียวผสมเผาไฟจนแกร่ง ส่วนผนังเตาก่อขึ้นเป็นรูปโดมหรือลอยฟางแต่ได้พังทลายลง คงเหลือไว้เฉพาะส่วนฐานเตาซึ่งถูกปิดทับถมไว้โดยดินชั้น
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้วิธีการวัดทางธรณีฟิสิกส์ เพื่อกำหนดตำแหน่งของฐานเตานั้น
ผลการศึกษา พบว่า การวัดค่าสภาพรับไว้ได้ทางแม่เหล็กบริเวณผิวดิน มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับกำหนดตำแหน่งฐานเตาเผาโบราณชุมชนปะโอ เนื่อจากฐานเตาเผามีค่าสภาพรับไว้ได้ทางแม่เหล็กสูงกว่าดินในบริเวณข้างเคียง ส่วนการวัดเรดาร์หยั่งความลึกศึกษาชั้นดิน ถึงแม้ไม่สามารถกำหนดรูปทรงของฐานเตาเผาได้เด่นชัด แต่ก็สามารถกำหนดตำแหน่งของฐานเตาเผาได้ จากลักษณะของชั้นดินที่ถูกรบกวนเนื่องจากการขุดค้นครั้งก่อน ขณะที่การวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าไม่สามารถกำหนดตำแหน่งฐานของเตาเผาได้เนื่อจากค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าของฐานเตาเผาและดินในบริเวณข้างเคียงไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

Pah-O, or Pa-O, is an important pre-historically archaeological site in the south of Thailand. It is an earthenware-producing district that was contemporary well known nationally and regionally. An ancient Pah-O kiln has a round base of about 1.30 to 2.00 meters in diameter. The kiln was made of compound clay that was burned with fire till becoming hard. The kiln wall was collapsed but thought to have a dome-like shape. Only base of kiln, found by previous archeological investigation, are buried under topsoil. The objective of this research is to conduct a feasibility study in delineating buried bases of ancient kiln with geophysical measurement.
The result of this research shows that magnetic susceptibility measurement was the most suitable method in locating positional of buried bases of the Pah-O kiln. This is because the kiln bases have higher magnetic susceptibility than surrounding soil. Even though ground penetrating radar method could not determine the shape of the base directly, the method could be employed to delineate the soil around kiln bases, which was disturbed from the previous archaeological investigation. Resistivity measurement is the least suitable method in locating the buried kiln bases, because there is no significantly resistivity contrast between buried kiln bases and surrounding soil.
     ผู้ทำ/Author
Nameอาคม หะยีอูมา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
บทที่ 3 ผลการทดลอง
บทที่ 4 วิเคราะห์และวิจารณ์ผลการทดลอง
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก ก
ภาคผนวก ข
ภาคผนวก ค
ภาคผนวก ง
ภาคผนวก จ
     กลุ่มหัวเรื่อง: ศิลปะและวัฒนธรรม
--โบราณสถานและโบราณวัตถุ
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Address:สงขลา (Songkhla)
     Year: 2546
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 3048
     Counter Mobile: 34