ชื่อเรื่อง/Title การสื่อข่าวของผู้สื่อข่าวท้องถิ่นภายใต้บริบทความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) / News Reporting of Stringers in Insurgency in Southernmost Provinces of Thailand (Pattani, Yala and Narathiwat)
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1)เพื่อศึกษาการเปลี่ยนเเปลงในการปฏิบัติงานการสื่อข่าวของผู้สื่อข่าวท้องถิ่น โดยเปรียบเทียบในช่วงก่อนและหลังเหตุการณ์ปล้นปืนที่กองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2547 (2)เพื่อศึกษาเเนวปฏิบัติการสื่อข่าวท้องถิ่นภายใต้บริบทความไม่สงบในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) (3)เพื่อศึกษาอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ด้านการสื่อข่าวและข้อเสนอเเนะเพื่อการพัฒนาวิชาชีพของผู้สื่อข่าวท้องถิ่น (4)เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้สื่อข่าวท้องถิ่นต่อเเนวคิดการสื่อข่าวเพื่อสันติภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้เเก่ ผู้สื่อข่าวท้องถิ่นในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จังหวัดละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 12 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือการเก็บข้อมูล<br /> ผลการวิจัยพบว่า (1)ผู้สื่อข่าวท้องถิ่นมีการพัฒนาตนเองในการสื่อข่าวมากขึ้น มีการทำงานเป็นทีม แนวโน้มของประเด็นข่าวเป็นเหตุการณ์ความไม่สงบมากขึ้น มีความเสี่ยงในการปฏิบัติงานสูงขึ้น (2)การสื่อข่าวภายใต้บริบทความไม่สงบในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้มีความเเตกต่างจากเเนวคิดการสื่อข่าวแบบดั้งเดิม โดยมีกระบวนการเพิ่มเติม แบ่งออกเป็น 10 ขั้นตอน ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อม การค้นพบและสร้างสรรค์ประเด็นข่าว การประเมินสถานการณ์ การวางแผนการสื่อข่าว การเดินทางไปยังสถานที่เกิดเหตุ การเเสวงหาข้อมูลข่าวสาร การประเมินคุณค่าข่าว การตรวจสอบความถูกถ้วน การเขียนเเละรายงานข่าว และการประเมินผลข่าว<br /> (3) อุปสรรคและข้อเสนอเเนะของผู้สื่อข่าวท้องถิ่น ประกอบด้วย กฎหมายที่บังคับใช้เฉพาะพื้นที่ ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้สื่อข่าว ความร่วมมือของชาวบ้านกับผู้สื่อข่าวสถานที่และภาวะกดดันด้านเวลาอันตราย ทักษะการสื่อข่าว เวลาที่เกิดเหตุความไม่สงบ และขวัญกำลังใจของผู้สื่อข่าวท้องถิ่น ส่วนข้อเสนอเเนะประกอบด้วย องค์กรต้นสังกัดควรจัดสวัสดิการที่เหมาะสม กองบรรณาธิการควรรีไรท์ข่างคำนึงถึงผลกระทบเชิงลบในพื้นที่ เจ้าหน้าที่รัฐควรกำหนดแนวทางการทำข่าวร่วมกันที่ชัดเจน ชาวบ้านควรให้ข้อมูลแก่ผู้สื่อข่าว สมาคมวิชาชีพ ควรพัฒนาทักษะวิชาชีพและดูเเลขวัญและกำลังใจของผู้สื่อข่าวท้องถิ่นให้มากขึ้น ควรมีเวทีการประชุมร่วมกันของผู้สื่อข่าว สถาบันการศึกษาควรเป็นตัวกลางในการพัฒนาวิชาชีพและเชื่อมประสานหน่วยงานรัฐ (4) ความคิดเห็นของผู้สื่อข่าวท้องถิ่นต่อแนวคิดการสื่อข่าวเพื่อสันติภาพ พบว่า เกือบทั้งหมดไม่เชื่อมั่นว่าแนวคิดการสื่อข่าวเพื่อสันติภาพจะนำมาประยุกต์ใช้ในจังหวัดชายเเดนภาคใต้ได้จริง

     ผู้ทำ/Author
Nameภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะวิทยาการสื่อสาร
     เนื้อหา/Content
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล PSU Knowledge Bank
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--การสื่อสารมวลชน
     Contributor:
Name: คณะวิทยาการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Roles: ผู้สนับสนุนทุน
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2552
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 1503
     Counter Mobile: 56