ชื่อเรื่อง/Title รูปแบบการให้อาหารเสริมและภาวะโภชนาการของทารก อายุ 6-12 เดือน ในจังหวัดปัตตานี / Complementary feeding pattern and nutritional status of children aged 6-12 months in Pattani province
     บทคัดย่อ/Abstract การขาดสารอาหารในวัยทารกส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กในระยะยาว โดยสาเหตุสำคัญของปัญหาการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในช่วงขวบปีแรก คือการให้อาหารที่ไม่เหมาะสมตามวัย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการให้อาหารเสริม คุณค่าทางโภชนาการของอาหารเสริม และภาวะโภชนาการของทารกในช่วงอายุ 6-12 เดือน เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 172 คน สุ่มตัวอย่างแบบมีลำดับขั้นและมีชั้นภูมิครอบคลุมทารกในช่วงอายุ 6-8 เดือน และ 9-12 เดือน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูลรูปแบบการให้อาหาร และข้อมูลทั่วไป เก็บข้อมูลภาวะโภชนาการโดยการชั่งน้ำหนัก วัดความยาวทารก สัมภาษณ์ข้อมูลการบริโภคอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมง จำนวน 3 วันที่ไม่ติดต่อกัน ผลการศึกษาพบว่า อายุที่เริ่มให้อาหารอื่นนอกเหนือจากนม เป็น 4.6?1.9 เดือน ทารกร้อยละ 57.7 เริ่มได้รับอาหารเสริมเมื่ออายุน้อยกว่า 6 เดือน อายุของทารกที่เริ่มให้ข้าว เนื้อสัตว์ ไข่ ผัก และผลไม้ เป็น 6.6?2, 7.9?2, 7.3?2, 7.2?1.9 และ 6.9?2.5 เดือน ตามลำดับ ร้อยละ 47 และ 40 ของทารกอายุ 6-8 และ 9-12 เดือน ยังมีการดื่มนมมารดาอยู่ ส่วนทารกที่ดื่มนมผสม พบว่ามีร้อยละ 30.6 ที่ได้รับนมที่ชงในสัดส่วนเจือจาง อย่างไรก็ตามในกลุ่มประชากรที่ศึกษา ไม่พบการให้ทารกดื่มนมข้นหวานดังที่พบในอดีต ทารกได้รับอาหารประเภทข้าวในปริมาณที่เหมาะสม ส่วนอาหารประเภทอื่น ทารกได้รับในปริมาณน้อยกว่าปริมาณที่แนะน า ร้อยละ 78 ของทารกอายุ 9-12 เดือน ยังได้รับอาหารเสริมที่มีลักษณะเนื้อสัมผัสกึ่งแข็งกึ่งเหลว ร้อยละ 80.1 ของทารก 9-12 เดือนมีการบริโภคอาหารเพียงแค่ 1-3 หมู่ต่อวัน และทารกร้อยละ 80.8 รับประทานอาหารเสริมเพียงวันละ 2-3 มื้อต่อวัน ร้อยละ 72 ของผู้เลี้ยงดู มีการปรุงอาหารสำหรับทารกแยกจากอาหารของสมาชิกอื่นในครอบครัว ร้อยละ83 ของผู้ที่มีการเตรียมอาหารเผื่อมื้ออื่นๆ มีการเก็บอาหารที่อุณหภูมิไม่เหมาะสม ผู้เลี้ยงดูร้อยละ 41.1 มีพฤติกรรมการป้อนอาหารที่ตอบสนองความต้องการของทารก จากการให้คะแนนพฤติกรรมการให้อาหารทารกในองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ อายุที่เริ่มให้อาหารเสริม ความหลากหลายของอาหารที่ได้รับใน 1 วัน จำนวนมื้ออาหารเสริม พฤติกรรมการป้อนอาหารที่ตอบสนองความต้องการของทารก และสุขลักษณะในการเตรียม การป้อนและการเก็บรักษาอาหารเสริม พบว่าผู้เลี้ยงดู มีคะแนนเฉลี่ยรูปแบบการให้อาหารทารก เป็น 10.1+ 1.6 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน โดยผู้เลี้ยงดูร้อยละ 55.4 ที่มีคะแนนน้อยกว่า 10 ร้อยละ 30-60 และ ร้อยละ 34-53 ของทารกในช่วงอายุ 6-8 เดือนและ 9-12 เดือน ตามลำดับ มีความเสี่ยงต่อการได้รับพลังงานและสารอาหารหลัก จากอาหารที่บริโภคอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ในขณะที่ร้อยละ 68-82 ของทารก มีความเสี่ยงต่อการได้รับวิตามินเอ วิตามินซี และธาตุเหล็ก ไม่เพียงพอ อาหารที่ทารกบริโภคมีความหนาแน่นของคาร์โบไฮเดรตและไขมันในเกณฑ์ดี (INQ = 1.32-1.74)แต่มีความหนาแน่นของสารอาหารที่ร่างกายต้องการปริมาณน้อยค่อนข้างต่ำ (INQ = 0.4-0.5) จากการประเมินภาวะโภชนาการของทารก พบว่า มีเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ สั้นและผอม คิดเป็นร้อยละ 10.5, 2.3 และ 3.5 ตามลำดับ จากผลการศึกษา สรุปได้ว่ารูปแบบการให้อาหารเสริมสำหรับทารก 6-12 เดือนในจังหวัดปัตตานี ยังไม่เป็นไปตามข้อแนะนำ ในหลายประเด็น ได้แก่ อายุที่เริ่มให้อาหารเสริม จำนวนมื้ออาหารที่เหมาะสมตามวัย ความหลากหลายของชนิดอาหารที่ประกอบเป็นอาหารเสริม และที่สำคัญคือคุณภาพทางโภชนาการของอาหารเสริมทารกยังด้อย โดยเฉพาะสารอาหารที่ร่างกายต้องการปริมาณน้อยที่มีในอาหารเสริมยังไม่เพียงพอ

Undernutrition during infancy has long term effects, especially on growth and development of children. One possible cause is inappropriate feeding during the first year of age. Hence, this study aimed to determine the complementary feeding pattern, nutritive values of complementary food and nutritional status among children aged 6-12 months in Pattani province. It was a Cross-sectional study. One hundred and seventy two children aged 6-8 and 9-12 months were randomly selected by multi-stage cluster sampling method. Structured questionnaires were used for collecting data on complementary feeding pattern and socio-demographic data. All children were measured weight and lengths. Twenty four hour dietary recall was performed for 3 non-consecutive days. The results showed that 57.7% of children were fed rice gruel before 6 months of age (average 4.6 ?1.9 months). Rice, meat, egg, vegetables and fruits were introduced at age of 6.6?2, 7.9?2, 7.3?2, 7.2?1.9 and 6.9?2.5 months, respectively. Forty seven and forty percent of children aged 6-8 and 9-12 months, respectively still had breastfed. For those who had milk formula, 30.6% of them received diluted milk. However, there was no evidence of sweetened condensed milk feeding. All foods were given to children with fewer amounts than recommendation except rice. Seventy eight of children aged 9-12 months were still introduced semi-solid foods. The frequency of complementary intake was 2-3 meals per day in 80.8% of 9-12 months children and 80.1% of those consumed less variety of foods (1-3 food groups per day). 72% of caretakers prepared complementary food separately from the family meals. It was found that the left-over food was kept at inappropriate temperature among 83% of them. Only 41.1% of caretakers had responsive feeding practices. In addition, average score of complementary feeding pattern, of which 5 components were taken into account, was 10.1+ 1.6 out of 15 score. The prevalence of infants having risk of inadequate nutrient intakes for energy, carbohydrate, protein and fat were 30-60% and 34-53% of children aged 6-8 and 9-12 months, respectively while that for vitamin A, vitamin C, and iron ranged from 68-82%. The index of nutritional quality (INQ) of carbohydrate and fat were 1.32-1.74 and INQ was 0.4-0.5 for vitamin A, vitamin C, and iron. According to nutritional assessment, it was found that percentage of children having underweight, stunting and wasting were 10.5, 2.3 and 3.5, respectively. These findings indicated that complementary feeding practices among infants in Pattani province were still inappropriate. The micronutrients density in complementary foods was needed to be improved
     ผู้ทำ/Author
Nameนัฏฐพร อนิสงค์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     เนื้อหา/Content
เนื้อหาฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--สตรีเด็กและเยาวชน
ด้านสุขภาพอนามัย
--อาหารและการบริโภค
     Contributor:
Name: เทวี ทองแดง คาร์ริลา
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2554
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2268
     Counter Mobile: 43