ชื่อเรื่อง/Title การบูรณาการสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ / The integration of contents and learning standards for the level 3 of islamic private schools in southern border provinces of Thailand
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยเรื่องการบูรณาการสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 สําหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการใช้หลักสูตรแยกกันระหว่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และหลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 โดยใช้ทฤษฎี การพัฒนาหลักสูตรของฮิลดา ทาบา(Hilda Taba) ในการศึกษาวิเคราะห์สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรทั้งสอง เพื่อนํามาสังเคราะห์ เป็นสาระแลมาตรฐานการเรียนรู ้แบบบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนสําหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาสภาพปัญหาการใช้หลักสูตรแยกกัน คือ ผู้ จัดการ ผู้รับใบอนุญาต ครู ใหญ่ ผู ้ช่วยผู้จัดการ/ผู้ช่วยครูใหญ่ครู ผู้สอนสามัญ ครู ผู้สอนศาสนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จํานวน 400 คน ทําการสุ่มอย่างง่าย และใช้กระบวนการเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 17 ท่าน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องในการสังเคราะห์สาระและมาตรฐานการเรียนรู้แบบบูรณาการผลการวิจัย พบว่า การจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสู ตรแยกกันนั้นจะประสบปัญหาคือ 1) การจัดเวลาเรียนมากเกินไป 2) งบประมาณไม่เพียงพอในการจ้างบุคลากร 3) นักเรียนไม่มีเวลาในการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ อื่น 4)โรงเรียนไม่สามารถจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรได้ครบตามที่หลักสูตรกําหนด 5) นักเรียนเรียนหนักและไม่มี ความสุขในการเรียนรู้อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาวิเคราะห์สาระและมาตรฐานการเรียนรู้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 และหลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 พบว่า สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ทุกรายวิชามีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้หลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 ซึ่งส่งผลให้ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อการบูรณาการสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 ซึ่งเป็นผลการวิจัยในครั้งนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเกณฑ์เห็นด้วยมากที่สุด

The study entitled The Integration of Contents and Learning Standards for Level 3 of Islamic Private Schools in the Southern Border Provinces of Thailand are to study the state of problems in the implementation of a segregated curriculum between the Basic Education Curriculum, B.E 2544 and the Islamic Education Curriculum, B.E 2546 by employing curriculum development theory of Hilda Taba to analyze contents and learning standards of both curricula in order to synthesize them into integrated contents and learning standards for teaching and learning in the Islamic private schools in the southern border provinces<br /> of Thailand. The 400 samples to study the state of problems in the implementation of a segregated curriculum obtained from random sampling are used in the study. These samples include school managers, school licensees, school principals, assistant managers or assistant principals, teachers of academic subjects and teachers of religious subjects of the Islamic private schools in the southern border provinces of Thailand. The study uses Delphi Technique by which a panel of 17 experts is purposely selected in examining the congruency of analyze the integrated contents and learning standards. The finding of the study shows that the teaching and learning provision by using segregated curriculum encounters several problems. 1) Time allocation for teaching and learning is too long. 2) There is insufficient budget of employment cost for school staff. 3) Students have no time to learn from other learning resources. 4) The schools fail to organize supporting activities to fulfill all specification as stated in the curriculum. 5) Students are overburden with subjects and are in the state of being miserable to learn. However, as a result of the analytical study of contents and learning standards of the Basic Education Curriculum, B.E 2544 and of the Islamic Education Curriculum, B.E 2546 revealed that the contents and learning standards of all subjects of the Basic Education Curriculum, B.E 2544 are correlated with the Islamic Education Curriculum, B.E 2546. And this resulted in opinion of a majority of the experts to agree with the integration of contents and learning standards for level 3 and according to this study, their agreement on this is very high.
     ผู้ทำ/Author
Nameมูหามัดรูยานี บากา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
เนื้อหาฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: อิบราเฮ็ม ณรงค์รักษาเขต
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2554
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2361
     Counter Mobile: 31