ชื่อเรื่อง/Title การศึกษาโบราณวัตถุก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ที่พบในปัตตานี / The study Archaeological Evidence before 13th Century was Founded in The Three Sourthernmost of Thailand : Pattani, Yala and Naradhivat Province
     บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาโบราณวัตถุก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในปัตตานี (หมายรวมถึง ยะลาและนราธิวาสด้วย) ผลการศึกษาสามารถแบ่งโบราณวัตถุได้เป็น 4 ประเภท คือ 1) โบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาพุทธ 2) โบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาพุทธมหายาน 3)โบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์ และ4) โบราณวัตถุที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
จากการศึกษา สามารถแสดงภาพรวมของสังคมในบริเวณ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้ คือ
1) ประเด็นเรื่องวัฒนธรรมการนับถือศาสนา พบว่า ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 8-12 พุทธศาสนานิกายมหาสังฆิกะได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในบริเวณภาคใต้ตอนล่างแล้ว โดยเฉพาะบริเวณเมืองยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตต่นี ที่พบว่า เป็นชุมชนที่ยอมรับศาสนาพุทธนิกายเจติยวาท ซึ่งเป็นนิกายที่แตกแยกออกมาจากนิกายมหาสังฆิกะ เข้ามาถือปฎิบัติ ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-16 ศาสนาพุทธนิกายมหายานตันตระแสดงความรุ่งเรืองบนคาบสมุทธมลายู โดยได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐศรีวิชัย ที่มีอำนาจอยู่ในช่วงเวลานั้น ต่อมาในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-19 โบราณวัตถุที่ปรากฎแสดงให้เห็นว่า มีชุมชนกลุ่มหนึ่งในบริเวณอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ที่นับถือศาสนาพุทธเถรวาท นิกายลังกาวงศ์ ที่มีข้อปฎิบัติตนแตกต่างจากศาสนาพุทธนิกายมหายานอย่างชัดเจน ส่วนศาสนาพราหมณ์ พบว่า ลัทธิไศวนิกายและการนับถือเทพสุริยะ เคยปรากฎขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างด้วย แต่เป็นศาสนาที่ได้รับความนิยมน้อยกว่าศาสนาพุทธ หรืออาจเป็นศาสนาที่ผู้ปกครองนำหลักการประกอบพิธีกรรมมาใช้ประโยชน์เท่านั้น
2) ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์กับต่างประเทศ พบว่า บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีการติดต่อกับต่างประเทศในฐานะคู่ค้าทางธุรกิจมาแล้วอย่างน้อยตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11
3) ประเด็นเรื่องรูปแบบศิลปกรรมที่ปรากฎในพื้นที่ ศิลปกรรมพื้นเมืองปรากฎขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อเข้าสู่สมัยก่อนประวัติศาสตร์การสร้างสรรค์งานศิลปะส่วนใหญ่อยู่บนพื้นฐานการรับใช้ศาสนาเป็นหลัก โดยมีอิทธิพลรูปแบบศิลปกรรมจากภายนอกเข้ามามีส่วนช่วยในการสร้างงานศิลปะด้วย คือ อิทธิพลจากอินเดีย รูปแบบศิลปะแบบอมราวดี คุปตะ ปาละ และรูปแบบศิลปะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในแคว้นเบงกอลของอินเดีย นอกจากนี้ยังปรากฎอิทธิพลศิลปะแบบลังกาอีกด้วย

The study in this research seperated the majority of the remain into 4 category, namely 1) The archaeological evidence in Buddhism, 2) The archaeological evidence in Mahayana Buddhism, 3) The archaeological evidence in Brahminism and 4) The archaeological evidence in relationship with the foreign country
Above all category result in the social perspective in the three southernmost of Thailand in the past, namely 1) The religious tradition: During the 2nd ? 6nd Centuries, Mahasanghika in Buddism appeared the influence in this area especially Yarang ancient city which indicated archacological evidence in Caityika school. In the next time during 7th-10th Centuries, there were evidence in Mahayana Tantra Buddism bloom in the three province southern border like the other in the same time. It is strongly suggests in that time Mahayana Tantra under the patronage of Srivijaya had influence in Southern peninsula, During 10th -13th Centuries, there was some community in the area of Naradhivat province accepted Theravada Buddism from Sri Langka for respect. For Brahminism in this area rarely for respect or it is merely for respect or it is merely religious for a ruler in some ceremony 2) The relationship with the foreign country at least since 5th Century. 3) Art work in this area, the local art work appeared since pre-history time in the art cave type. When the time into history period, The most of making art created for the religious. The outside art school had influence in this area before 13th Century as follows; Amaravati, Gupta, Pala and the art from North eastern in Bengal. Moreover there was Sri Langka art influence appeared also.
     ผู้ทำ/Author
Nameวันวิสาข์ ธรรมานนท์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
คำนำ
บทคัดย่อ
สารบัญ
อภิธานศัพท์
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ข้อมูลพื้นฐานของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้...
บทที่ 3 ภาพรวมประวัติศาสตร์ภาคใต้
บทที่ 4 โบราณวัตถุที่ปรากฎในบริเวณภาคใต้ตอนล่าง
บทที่ 5 การตีความและการเปรียบเทียบ (หน้า 49-78)
บทที่ 5 การตีความและการเปรียบเทียบ (หน้า 79-87)
บทที่ 6 การวิเคราะห์โบราณวัตถุในประเด็นต่างๆ
บทที่ 7 สรุปผลการวิจัย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก (หน้า 121-150)
ภาคผนวก (หน้า 151-164)
     กลุ่มหัวเรื่อง: ศิลปะและวัฒนธรรม
--โบราณสถานและโบราณวัตถุ
     Contributor:
Name: สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2546
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 5056
     Counter Mobile: 105