ชื่อเรื่อง/Title การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้ง : ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส / Public participation in elections: a specific study of the case of Paluru Subdistrict Municipality, Su-ngai Padi District, Narathiwat Province.
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์เชิงปฐมภูมิกับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาช ตัวแปรอิสระได้แก่ อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ ความรู้ในด้านการเมืองการปกครองท้องถิ่น การเป็นสมาชิกกลุ่ม การเป็นเครือญาติ การเคยอยู่ร่วมในสถาบันหรือสำนักเดียวกัน ตัวแปรตามคือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้ง <br /><br /> ????กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 375 คน โดยการตอบแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าไคสแควร์<br /><br /> ????ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลปะลุรู มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการไปและไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละ 49.30 และ 50.70 ตามลำดับ<br /><br /> ????ผลการพิสูจน์สมมุติฐาน พบว่า ตัวแปรด้านการศึกษา รายได้ อาชีพ ความรู้ในด้านการเมืองการปกครองท้องถิ่น การเป็นเครือญาติและเคยอยู่ในสถาบันหรือสำนักเดียวกันไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนตัวแปรด้านอายุและการเป็นสมาชิกกลุ่มเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ <br /><br /> ????สาเหตุของการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นเพราะติดภารกิจการงาน มีจำนวนร้อยละ 32.95 รองลงมาคือ นักการเมืองไม่ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน และประชาชนเบื่อหน่ายการเลือกตั้ง คิดเป็นร้อยละ 12.90 และ 11.18 ตามลำดับ ส่วนสาเหตุที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นเพราะไปเลือกผู้สมัครที่มีความรู้ความสามารถ มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38.92 รองลงมาคือไปเลือกกลุ่มของตนเข้าเป็นผู้บริหาร คิดเป็นร้อยละ 31.65 ไปเลือกผู้สมัครที่เป็นเครือญาติและเคยอยู่ในสถาบันหรือสำนักเดียวกัน มีเพียงจำนวนน้อย คิดเป็นร้อยละ 14.55 และ 6.33 ตามลำดับ<br /><br /> ????ข้อเสนอแนะสำหรับการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งมากขึ้น คือจะต้องร่วมมือกันทั้งภาครัฐ ประชาชน ผู้สมัครและกลุ่มการเมืองโดยปรับปรุงระบบ วิธีการเลือกตั้ง ข้อมูลด้านทะเบียนราษฎร ทำความเข้าใจ กระตุ้นเตือนประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ และเห็นความสำคัญโดยใช้สื่อทุกประเภท นอกจากนี้ควรมีหน่วยงานกลางมาทำหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยตรง รวมทั้งประชาชนเองต้องให้ความสนใจ เป็นหูเป็นตา ตรวจสอบในรูปแบบประชาคมท้องถิ่น อีกทั้งผู้สมัครับเลือกตั้งต้องมีความสุจริต ไม่ซื้อเสียงเพื่อเป็นแบบอย่างแก่เยาวชน ให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้สึกรัก หวงแหน ตระหนักถึงความเป็นเจ้าของเทศบาล และมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น

The intention ot this study was to investigate the facts of the causal relationship between socio-economic conditions and primary relations on the one hand and people's voting behavior on the other. The population sampling was of two kinds : 1) the independent sample consisting of age, education, income, occupation, knowladge of local government, in-groupness, kinship and people of the same background based on the former institutes, and 2) the dependent sample consisting of people's participation in the election.<br /><br /> The population sampling was purposively taken from the residents of the Municipality of Tombon Paluru, Amphoe Su-ngaipadi, Changwat Narathiwat on February 26, 2000 by mean of multi-stage sampling. There were 375 cases, all of whom have a franchise. The tool used for data colection was the questionnaire, supported by interviews as well as group discussions of the eight key informants. The statistics applied for the data analysis were based on frequency, percentage, mean, and Chi-Square, respectively.<br /><br /> The findings of the study were based on the facts that the persentage of the residents of the Municipality of Paluru, Amphoe Su-ngaipadi, Changwat Narathiwat, who did participate in the municipality election was 49.30 and that of those who did not was 50.70 respectively.<br /><br /> The finding rejected the hypotheses with regard to the participant's education, income, occupation, knowladge of local government, kinship and in-groupness based on the former institutes, but confirmed the hypotheses in favor of age and group membership.<br /><br /> The reasons for their non-participation in the election were in the decreasing order, namely, 32.95 percent were fully occupied by their daily working hours at the time of the election; 12.90 percent blamed the politicians who did not keep their word; and 11.18 percent wre very much frustrated with elections of all kinds. On the contrary, those who did participate in the election were in the decreasings order of percentage, namely, 38.92 percent intentionally elected the best of candidates, 31.65 percent made the choice of their onw candidates, 14.55 percent made the choice of the candidates who were their relatives and 6.33 percent formerly attended the same institutes.<br /><br /> These are suggestions on the basis of the aforementioned findings as to how to draw out more political participation by concerned people as follows.<br /><br /> This is the time for all the concerned parties, the is, the public and private sectors, and the candidates and political groups, to extend their good cooperation in this regard. The election system and the voting method, including the list of the eligible residents, should be reorganized. The concerned people should be kept well informed and well advised with special reference to the election of this kind by all available means of communication. Added to these are the election mechanisms, sush as the independent election centers or units, that take full responsibility in the election process. Also the residents of respective municipatities should take the role of watchdog in this regard. Above all, the candidates should be honorable and trustworthy, standing against vote-bying, as well as encouraging the residents to have a positive attitude toward their own municipality, and to take a more active role in local politics, especially elections of all kinds.
     ผู้ทำ/Author
Nameสุรพล กระแสรัตน์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการเมืองการปกครอง
--การมีส่วนร่วมทางการเมือง
     Contributor:
Name: เพ็ญพักตร์ ทองแท้
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2544
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 33408
     Counter Mobile: 64