|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
การบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มของผู้บริหารสถานศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ / Administration of intensive islamic study curriculum of school administrators in the three southern border provinces |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม ของผู้บริหารสถานศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ปัญหาในการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม ของผู้บริหารสถานศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3) แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม ของผู้บริหารสถานศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาที่จัดการศึกษาแบบเข้มในโรงเรียนสองระบบ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2552 จำนวน 156 คน จากโรงเรียน 255โรงเรียนผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาที่จัดการศึกษา หลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มในโรงเรียนสองระบบ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2552 จำนวนทั้งสิ้น 18 คน จาก 9 เขตพื้นที่การศึกษาเครท่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการในสิ่งที่ปฏิบัติเป็นรายข้อในแต่ละด้าน และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าร้องละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย<br /><br />
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกาาแบบเข้ม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม อยู่ในระดับมากทุกด้าน ยกเว้น ด้านการนิเทศและติดตามผล มีการบริหารอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัญหาในการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม ของผู้บริหารสถานศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่พบมากที่สุด คือ งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากต้นสังกัดไม่เพียงพอความไม่ลวตัวในการจัดเวลาเรีนย/ตารางสอน ขาดดำเนินการนิเทศตามแผนที่กำหนดหรือปฏิทินนิเทศ 3) แนวทางการแก้ไขปัญหาในการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม ของผู้บริหารสถานศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จัดหางประมาณจากส่วนอื่นมาทดแทนและเสนอต้นสังกัดให้เพิ่มงบประมาณ ลดจำนวนเวลาเรียนในแต่ละคาบ พูดคุยนอกเวลาและในที่ประชุมแทนการนิเทศตามระบบ
This mixed methodology type of research comprising of quantitative and qualitative approaches was conducted for determining 1) the magnitude of administration of intensive Islamic study curriculum of schools in the three southern border provinces, Thailand 2) problems arose as a result of intensive Islamic study curriculum in those schools, and 3) subsequent resolutions<br /><br />
taken to settle those problems. Quantitative sampling included 156 administrators of academic year 2009. They were<br /><br />
randomly selected from 255 bi-system schools. Qualitative data were however selected from 18 administrators of bi-system schools from 9 educational areas around the three Southern border provinces. The research instruments were the questionnaires to survey the listing actions taken in each particular aspect and a semi-structured interview protocol. Quantitative data were analyzed by using percentage, means, and standard deviation, and analytic induction was applied for qualitative data.<br /><br />
The results of the study were as follows:<br /><br />
1) the overall administration of intensive Islamic study curriculum of schools in the three southern border provinces by administrators was found at a high level. Also each of all aspects tested were highly except for the aspects of counseling and monitoring which was found at a moderate level. 2) the most common problems regarding to the administration of intensive Islamic study curriculum included the insufficiency of available budget, an irrationality of learning/teaching agenda as well as lacking counseling actions as per planned schedules. <br /><br />
3) guidelines for resolving problems included provision of external and alternative budget and proposing the increment of supporting budget, the decrement of teaching period in each class. Mutual discussion in pre-meeting and meeting time were among resolutions for the issue. |
|
ผู้ทำ/Author |
Name | มูฮำมัด มอลอ | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
อิสลามศึกษา
|
|
Contributor: |
Name: |
เอกรินทร์ สังข์ทอง |
Roles: |
ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ |
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2554 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
4632 |
|
Counter Mobile: |
29 |
|