ชื่อเรื่อง/Title วิวัฒนาการการเรียนการสอนอิสลามศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย / Development of learning and teaching in islamic studies in the private islamic schools in the three southern border provinces of Thailand
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประวัติปอเนาะและวิวัฒนาการการเรียนการสอนอิสลามศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 ถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นการวิจัยเอกสาร โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิจากหนังสือและเอกวารต่างๆ <br /><br /> ผลการวิจัยพบว่า<br /><br /> 1. ปอเนาะเป็นสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นสถาบันที่มีบทบาททั้งทางศาสนาและทางการศึกษา การจัดการเรียนการสอนในปอเนาะระยะแรกนั้นได้ดำเนินการอย่างอิสระ ขาดการควบคุมจากรัฐ วัตถุประสงค์สำคัญของการดรียนการสอนเพื่อสืบทอดคำสอนของศาสนาเป็นกลัก อบรมสั่งสอนและขัดเกลาจิตใจบุตรหลานของมุสลิมให้เป็นคนดี มีความรู้คู่คุณธรรม สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้ถูกต้อง<br /><br /> 2. การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของปอเนาะที่นำไปสู่การเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในปัจุบัน เริ่มในปี พ.ศ.2504 โดยรัฐบาลให้ปอเนาะจดทะเบียนต่อทางราชการ และ ช่วงปี พ.ศ.2508-2511 ถูกแปรสภาพให้เป็นโรงรียนราษฎร์สอนศาสานาอิสลามต่อมาในปี พ.ศ.2526 ถูกรัฐบาลเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2526 ถูกรัฐบาลเปลี่ยนชื่อ่ป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญํติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 และออกระเบียบการให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่สอนวิชาสามัญควบคู่วิชาศาสนาอิสลาม<br /><br /> 3. ด้านการเรียนการสอนวิชาการอิสลาม ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรการเรีบนการสอนอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรวิชาการอิสลามที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ดังนี้ <br /><br /> 3.1 หลักสูตรกิตาบ ใช้ในการเรียนการสอนเป็นหลัก ซึ่งเป็นการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม<br /><br /> 3.2 หลักสูตรปอเนาะ พ.ศ. 2504 ได้กำหนดหลักสูตรวิชาการศาสนาอิสลามออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนต้นเวลาเรียน 4 ปี ตอนกลางเวลาเรียน 3 ปี และตอนปลายเวลาเรียน 2 ปี<br /><br /> 3.3 หลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ.2523 เมื่อปอเนาะได้รับการปรับปรุงเป็นโรงเรียนราษฏร์สอนศาสนาอิสลาม มีการประกาศใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ.2523 ซึ่งมี 3 ระดับ คือ ระดับต้น (มุตะวัสสิเฏาะฮ) เวลาเรียน 3 ปี และระดับสูง (ษานะวียะฮ) เวลาเรียน 3 ปี<br /><br /> 3.4 หลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ.2535 หรือเรียกตามหลักวิชาการว่า หลักสูตรบูรณาการ ซึ่งได้รวมหลักสูตรวิชาสามัญและหลักสูตรอิสลามศึกษาเข้าไว้ในหลักสูตรเล่มเดียวกันไม้ได้แยกเป็นหลักสูตรสามัญและหลักสูตรอิสลามศึกษาต่อไป แต่มีเพียงแค่ 2 ระดับเท่านั้น คือ ระดับอิสลามศึกษาตอนต้น ( อิบติดาอียะฮ) และระดับอสลามศึกษาตอนกลาง (มุตะวัสสิเฏาะฮ) <br /><br /> 3.5 หลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ.2540 เป็นการจัดทำหลักสูตรอิสลามศึกษาขึ้นมาใหม่ใน 2 ระดับ คือตอนต้น ( อิบติดาอียะฮ) และตอนกลาง (มุตะวัสสิเฏาะฮ) ส่วนตอนปลาย (ษานะวียะฮ) ได้นำมาใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ.2523<br /><br /> 3.6 หลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ.2546 ทำให้นักเรียนได้เรียนหลักสูตรอิสลามศึกษาพร้อมๆ กันด้วยทั้ง 2 หลักสูตร<br /><br /> 3.7 หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่ปรับให้มีคงามเหมาะสมและชัดเจนมากขึ้น ทั้งเป้าหมายของหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ<br /><br /> การพัฒนาการใช้หลักสูตรของโรงเรียนของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาตัวเองของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามให้ทันกับการเปลี่ยนแปลทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยรัฐจะเป็นฝ่ายสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงส่วนนี้

This research aims to study history and development of learning and teaching of Islamic studies in the private Islamic schools in the three southern border provinces of Thailand. The study covers the period from BE 2504 to the present days. The research is documentary analyzing primary and secondary sources in form of books as well as other materials. The research resulted in finding that: <br /><br /> 1) Pondok is the oldest educational institute in Southeast Asian region. It plays an important role in religion and education. At the beginning, the education of Pondok was carried out and on independently, without any state official supervision. The prime objective of the education in Pondok was mainly to preach religious teachings, ethically train Muslim youth, and teach them religious practices.<br /><br /> 2) The change of status of Pondok into being the currently private Islamic school began in BE 2504 when the Thai government allowed Pondok to be officially registered. In the period of BE 2508-2511 Its status was changed into community Islamic school, and later in BE 2526, its name changed into private Islamic school in conformity with the BE 2525 Royal Degree on Private Schools. The government also issued an order to financially support the private Islamic schools that teach general subjects in their curricula.<br /><br /> 3) The development and improvement of Islamic sciences curriculum has been maintained continuously. The Islamic sciences curricula adopted in private Islamic schools are as follows;<br /><br /> 3.1 The Kitab curriculum 5 which is mainly taught as core subject. The curriculum is taught traditionally.<br /><br /> 3.2 The Pondok curriculum of BE 2504 has divided its religious sciences into 3 levels, namely 1) elementary level, taking 4 years, 2) intermediate level, taking 3 years, and 3) advanced level, taking 2 years.<br /><br /> 3.3 The Islamic studies curriculum of BE 2523 was adopted when Pondok was transformed to community Islamic school. The curriculum was imposed by the law in BE 2523, and had 3 levels, namely 1) primary level (Ibtidaiy), taking 4 years, 2) lower secondary level (Mutawassitah), taking 3 years, and 3) upper secondary level (Thanawiy), taking 3 years. <br /><br /> 3.4 The Islamic curriculum of BE 2535 or the so called 6the integrated curriculum7 combined the Islamic sciences and general sciences curricula in one unified curriculum. But it had only 2 levels, namely 1) primary level (Ibtidaiy), and 2) lower secondary<br /><br /> level (Mutawassitah).<br /><br /> 3.5 The Islamic studies curriculum of BE 2540 which was the newly reformed version of the previous curriculum of BE 2535. It consists 3 educational levels with the first two simulating the previous curriculum, and the third level taken (imitated) from the Islamic studies curriculum of BE 2523.<br /><br /> 3.6 The Islamic studies curriculum of BE 2546 which adopted both the Islamic studies curriculum along with the basic educational curriculum of BE 2544. Under this curriculum the students could complete their study of both simultaneously.<br /><br /> 3.7 The Islamic studies curriculum in conformity with the basic educational core curriculum of BE 2551 was the newly and appropriately revised curriculum in terms of its Objectives, contents, and implementation.<br /><br /> The development of learning and teaching of the curriculum adopted in the private Islamic schools could be considered as being a self-reform attempt by the schools so as to keep pace with the continuously changing phenomena of the political, economic and social settings of the society while the government could partially help catalyze this change.
     ผู้ทำ/Author
Nameซิดดิก อาลี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
เนื้อหาฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--โรงเรียนกับชุมชน
ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: ดลมนรรจน์ บากา
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2554
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3956
     Counter Mobile: 61